เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ







เนรมิตฟันของคุณให้ขาวได้





ปกติฟันของเราจะมีสีขาวเป็นมันวาว แต่หลายคนกลับมีฟันเหลืองหรือดำ วิธีที่จะช่วยให้ฟันในปากเราขาวขึ้นมีหลายวิธี ทั้งนี้เราต้องวิเคราะห์กันก่อนว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สีฟันเปลี่ยนไป การรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่อดื่มที่มีสีเป็นประจำ เช่น กาแฟ น้ำชัก ทอฟฟี่ เป็นต้น รวมทั้งการรับประทานของหวานและของเหนียวๆ ติดฟัน การสูบบุหรี่ การแปรงฟันไม่สะอาด จึงทำให้มีคราบอาหาร คราบแบคทีเรียและหนปูนเกาะติดสะสมวันละเล็กวันละน้อย จนในที่สุดก็เหมือนมีสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีดำตามซอกฟัน ฟันผุ พอผุแล้วจะมีสีเหลืองเข้มหรือสีน้ำตาล ฟันตาย หมายถึงฟันที่ไม่มีเลือด และ ประสาทฟันมาหล่อเลี้ยง ทำให้ฟันมีสีทึบไม่โปร่งเหมือนฟันที่มีชีวิตอยู่ สาเหตุของฟันตายคือ

- ฟันที่ผุอย่างหนักหน่วง ผุอยู่นานนม จนลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน
- เป็นฟันที่ได้รับอุบัตืเหตุ หรือถูกกระแทกอย่างแรงจนมีการฉีกขาดของเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงฟัน พอเลี้ยงไว้นานๆ โดยไม่มีการดึงประสาทฟันออก ฟันจะยิ่งมีสีคล้ำมากขึ้นเรื่อยๆ ฟันที่มีสีคล้ำแต่กำเนิด เนื่องมาจากโรคบางอย่าง หรือการได้รับยาบางชนิดมากเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ฟันน้ำนม หรือฟันแท้ก่อร่างสร้างตัว ทำให้ฟันแทบทุกซี่มีสีค่อนข้างเหลืองหรือสีเทาดำ

การเนรมิตฟันให้ขาว มีหลายวิธี ขึ้อนอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ อาทิเช่น

การขัดฟัน  จะไม่ทำให้ฟันบางลงอย่างที่หลายคนคิด แต่จะช่วยจัดการกับฟันผุได้

การฟอกสีฟัน  หลายคนอาจยังไม่รู้จัก การฟอกสีฟัน คือการฟอกสีฟันทั้งปาก ทำได้ 2 วิธีคือ

วิธีที่ 1 จะต้องทำที่คลีนิกหรือโรงพยาบาลโดยทันตแพทย์ วึ่งต้องให้สารฟอหสีฟัน ส่วนใหญ่เป็นสารประเภท Peroxide ที่มีความเข้มข้น 30-35% ระยะเวลาในการทำแต่ละครั้งประมาณ 30-60 นาที

วิธีที่ 2 ให้นำสารฟอกสีฟันกลับไปทำที่บ้าน แต่ต้องให้ทันตแพทย์เตรียมอุปกรณ์ และต้องกลับมาตรวจเป็นระยะตามนัด สารฟอกสีที่ใช้ก็จะเป็นประเภทเดียวกับที่ทำที่คลีนิก แต่จะมีความเข้มข้นน้อยกว่า คือประมาณ 2-10% เพื่อความปลอภัย วิธีฟอกคือ ให้บีบสารฟอกสีลงในถาดฟันยางที่ทันตแพทย์ทำเฉพาะไว้สำหรับแต่ละคน ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง และที่สำคัญจะต้องไปพบหมอฟันตามที่นัด

อย่างไรก็ตาม มีอาการหนึ่งที่ตามมาหลังการฟอกสีฟัน ก็คือ อาการเสียวฟัน แต่ประสาทฟันจะมีการป้องกันตัวเองโดยธรรมชาติ ดังนั้น อาการก็จะค่อยๆดีขึ้นและหมดไปเมื่เราหยุดฟอกสีฟัน และไม่ต้องกลัวไปว่าการฟอกสีฟันทั้งปากจะทำให้ฟันสึกกร่อนรืออ่อนแอลง

การเคลือบฟัน  ทันตแพทย์จะกรอแต่ผิวเคลือบฟันด้านหน้าออกเล็กน้อยและปิดทับด้วยวัสดุสีขาวหรือสีเหมือนฟัน ตบต่งให้ได้รูปสวยงาม วิธีนี้จะทำให้ฟันขาวถาวรกว่าการฟอกสีหัน แต่มีโอกาสเสื่อมอยู่ดี ถ้ายังคงเคี้ยวของแข็งๆ อย่างไม่ระมัดระวัง และจะทำให้เกิดรอยแตกกระเทาะของวัสดี่ทำเคลือบ แต่ซ่อมแซมได้หรือทำให้ใหม่ก็ยังได้ แต่ข้อสำคัญค่าใช้จ่ายสูงกว่าการฟอกสีฟัน

การครอบฟัน  ทันตแพทย์จะกรอแต่งผิวเคลือบฟันทั้งซี่ให้เหลือเป็นแกน แล้ทำฟันปลอมติดครอบทับลงไปแนน่ด้วยซีเมนต์ทันตกรรม ข้อดีคือฟันที่ดำหรือแตกบิ่นจะสามารถทำครอบที่มีสีและรูปร่างให้สวยงามได้เลย นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนสีฟันอย่างถาวร แต่แน่นอนว่า สิ่งที่ตามมาเป็นเงาตามตัวคือ ค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าใครเพื่อน




ขอขอบคุณที่มา : http://www.tttonline.net
                           ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 


 











 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ