เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






โรคจิตชอบสะสมสมบติบ้า



 

               เคยคิดไหมว่า ในจำนวนจดหมาย และไปรษณียภัณฑ์ที่เราได้รับมาตลอด ชีวิตนั้น ถ้าไม่โยนทิ้งไปเสียบ้าง จะมีจำนวนมากมายแค่ไหน ผู้ที่จะตอบคำถามนี้ได้ เห็นจะเป็น กระทาชายนาย แพทรีซ มัวร์ นักสะสมผู้รักสันโดษชาวนิวยอร์ก วัย 43 ปี


               ทุกๆ วันมัวร์จะรอรับพัสดุไปรษณีย์ที่เจ้าหน้าที่นำมาส่ง อันประกอบด้วย หนังสือพิมพ์ ตำรา นิตยสาร แค็ตตาล็อก และใบปลิวเชิญชวนต่างๆ รับมาแล้วก็นำไปเก็บรวบรวมไว้ โดยนำของที่ได้ใหม่ไปตั้งรวมไว้กับของเก่าตามประสาผู้นิยมการสะสม แต่ก็ไม่ได้จัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เมื่อเวลาผ่านไป วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า พัสดุเหล่านี้ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นๆ จนกระทั่งมันกองสูงท่วมหัวไปจรดเพดาน แล้วขยายพื้นที่ไปเรื่อยๆ จนเต็มห้องเช่าไร้หน้าต่างขนาดเก้าตารางเมตรของเขา ปลายปี 2546 ภูเขาเอกสารนี้ก็เกิดถล่มทลายลงมาทับพ่อเจ้าประคุณมัวร์ในขณะที่เขากำลังยืนอยู่ เขาต้องยืนอยู่สองวันเต็มๆ กว่าเพื่อนบ้านจะได้ยินเสียง ร้องอู้อี้ๆ ให้ช่วย เจ้าของห้องเช่าต้องเอาชะแลงงัดห้องเข้าไปแล้วหลังจากนั้นอีกหนึ่งชั่วโมง บรรดาเพื่อนบ้านและนักผจญเพลิงซึ่งทำหน้าที่บรรเทาสาธารณภัย จึงเข้ามาช่วยกันขุดเอานายมัวร์ขึ้นมาจากกองกระดาษและส่งเขาไปรับการรักษา


               หนังสือพิมพ์ที่ลงข่าวเอกสารถล่มให้ข้อสังเกตไว้ว่า มัวร์ยังโชคดีกว่า โฮเมอร์ และ แลงลีย์ คอลล์เยอร์ สองพี่น้องยอดนักสะสม ทั้งสองใช้เวลากว่า 40 ปี สะสมสิ่งของที่หมดประโยชน์แล้วจนแน่นคฤหาสน์ที่เมืองฮาร์เลม สิ่งของที่ว่า ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ต้นคริสต์มาสเก่าๆ เก้าอี้โยก เปียโนสิบกว่าหลัง และแม้แต่รถยนต์ที่ถอดเป็นชิ้นๆ แล้ว ข่าวเล่าว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2490 มีผู้พบโฮเมอร์เสียชีวิตเนื่องจากไม่ได้ รับประทานอาหาร และอีก 18 วันต่อมา คนงานของเทศบาลนครฮาร์เลมจึงพบศพของแลงลีย์ในสภาพถูกสัมภารกกลบทับเสียมิดชิด


                เป็นเวลานานทีเดียวที่นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่า การเก็บสะสมสมบัติที่หยุดไม่ได้เช่นนี้เป็นเพียงกลุ่มอาการย่อยของโรคจิตชนิดย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) แต่จากการศึกษาใหม่พบว่า มันอาจเป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนโรคใดๆ ที่เกิดในวงจรของสมอง ปัจจุบันเมืองต่างๆ ทั่วสหรัฐอเมริกา ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นมาทำวิจัยเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาของคนนับพันที่มีพฤติกรรมแบบนายมัวร์ และเป็นการช่วยเจ้าของห้องเช่าหรือบรรดาญาติมิตรของผู้ที่ชอบสะสมสมบัติบ้าให้รับมือกับคนที่มีอาการแบบนี้ได้


               ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ตั้งทฤษฎีว่า โรคชอบสะสมสมบัตินี้เป็นสัญชาตญาณตามธรรมชาติซึ่งสามารถปรับ
เปลี่ยนได้ แต่เกิดวิปริตผิดเพี้ยนไป อันที่จริงแล้วในอาณาจักรสัตว์ สัญชาตญาณการสะสมสิ่งของเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และมีวิวัฒนาการมาอย่างชัดเจน ตัวอย่างของยอดนักสะสมตัวยงคือ นกเจย์สีเทาแห่งอาร์กติก ซึ่ง ทอม เวต นักชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยมลรัฐโอไฮโอ เมืองโคลัมบัส เล่าถึงพฤติกรรมของนกชนิดนี้ไว้ว่า เนื่องจากมันต้องการหลักประกันว่าจะมีอาหารเพียงพอสำหรับฤดูหนาว อันมืดมิดและยาวนาน มันจึงต้องบินไปบินมาเป็นจำนวนถึงแสนครั้ง เพื่อคาบเอาลูกเบอร์รี่ แมงมุม และแมลงต่างๆ มาเก็บตุนเอาไว้ นอกจากนี้การเก็บตุนอาหารอาจเป็นกลยุทธ์ของสัตว์เพื่อดึงดูดใจเพศตรงข้ามให้มาผสมพันธุ์ก็เป็นได้ ดังเช่น นกวีตเทียร์สีดำตัวผู้ ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณภูเขาที่แห้งแล้งของทวีปยุโรป เอเชีย และแอฟริกา มันต้องใช้เวลาและแรงงานมากพอสมควรทีเดียวในการขนก้อนหินหนักๆ มากองไว้ก่อนถึงฤดู ผสมพันธุ์ ตัวที่มีหินกองใหญ่ที่สุดจะมีโอกาสได้ผสมพันธุ์มากกว่าตัวอื่นๆ ซึ่ง เวต อธิบายว่า “พฤติกรรมเช่นนี้เรียกว่า ความสามารถในการหาทรัพยากร และเป็นวิถีทางที่จะโฆษณาให้นกตัวเมียรู้ว่า มันเป็นผู้ที่เหมาะสมในการสืบสายพันธุ์อย่างแท้จริง”


               พฤติกรรมการสะสมสำหรับสัตว์ต่างๆ เป็นเรื่องที่มีเหตุมีผล แต่การสะสมสมบัติบ้าของมนุษย์กลับเป็นการ
แสดง ออกถึงความเจ็บป่วย ในกรณีที่ถึงขั้นร้ายแรง นักสะสมอาจเอาสิ่งของอัดเข้าไปในบ้านทั้งหลังจนกระทั่งจะนอนเตียงก็นอนไม่ได้ โต๊ะที่มีก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้เพราะมีของวางเต็มไปหมด กระทั่งห้องทั้งห้องก็ไม่มีที่เหลือไว้ให้เดิน จะ เชิญเพื่อนมาเที่ยวบ้านก็ทำไม่ได้ บิลเก็บเงินต่างๆ ที่ส่งมาก็มากจนจำไม่ได้แล้ว คนเหล่านี้ไร้ระเบียบวินัยจนไม่สามารถ จะทำงานทำการได้เหมือนคนอื่นๆ เมื่อแก่ตัวลงและความจำเริ่มเลอะเลือน เขาอาจจะจำไม่ได้เลยว่าเคยเก็บสะสมอะไรมาบ้าง ดังเช่นชายชราวัย 61 ปีคนหนึ่ง ซึ่งมารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัดกลุ่มคลัตเทอร์เวิร์กช้อป ในเมือง
ฮาร์ตฟอร์ด รัฐคอนเนตทิคัต เขาเป็นคนที่ชอบเก็บสะสมหนังสือ กระดาษ และใบปลิวโฆษณาต่างๆ ของสะสมนั้นมีมากมาย มหาศาลจนแม้แต่ภรรยาของเขาเองก็เหลือที่จะทนได้ การณ์ปรากฏว่าในกองพะเนินเหล่านั้น มีเช็คค่าขายบ้านมูลค่าเป็นเลขถึงหกหลักของพ่อแม่เขาอยู่ด้วย แต่หาไม่พบเสียแล้ว เขาเล่าว่า “คุณคงนึกไม่ออกว่าผมรู้สึกอับอายแค่ไหน ที่ต้องเชิญทนายความมาพบแล้วขอให้เขาออกเช็คให้ใหม่อีกฉบับ”


               คนที่เป็นโรคแบบนี้มีมากแค่ไหน และเหตุใดจึงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในคนบางคน? ตอบยากจริงๆ เพราะในแง่หนึ่ง นักสะสมมักเก็บงำนิสัยนี้ไว้เป็นความลับ อย่างไรก็ดี นักวิจัยค้นพบรูปแบบที่น่าสนใจหลายประการ เช่น พฤติกรรมการชอบสะสมนั้นมักจะเป็นทั้งครอบครัว ดังที่ แรนดี โอ.ฟรอสต์ นักจิตวิทยาที่วิทยาลัยสมิตกล่าวไว้ว่า “คนที่มีปัญหาแบบนี้มักจะมีญาติในลำดับแรก เช่น พ่อหรือแม่ เป็นก่อน ดังนั้นจึงอาจเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรืออาจเป็นผลจากการเจริญรอยตามแบบอย่าง”


               นักสะสมสมบัติบ้ามักจะเป็นคนอารมณ์อ่อนไหว เขาจะเชื่อมโยงคุณค่าทางอารมณ์กับสมบัติส่วนใหญ่ที่เขาเก็บสะสมไว้ อย่างเช่น การเก็บถ้วยกาแฟกระดาษที่ใช้แล้ว หรือปฏิทินที่ข้ามปีไปแล้ว ในเรื่องนี้ นิโคลัส มอลต์บี นักจิตวิทยาผู้บำบัดนักสะสมสมบัติบ้าที่สถาบันลีฟวิ่ง เมืองฮาร์ตฟอร์ด อธิบายว่า “คนไข้เหล่านี้จะถือว่าของสะสมของตนมีคุณค่าแบบเดียวกับที่คุณเห็นว่าเครื่องเพชรของคุณมีค่ายังไงยังงั้นแหละ” นักสะสมสมบัติบ้ามักจะเป็นคนฉลาดเฉลียว มีการศึกษาดี และโดยทั่วไปเป็นคนที่คิดอะไรซับซ้อนพอดู ซึ่ง ฟรอสต์ให้ข้อสังเกตว่า “เขาเหล่านี้จะมีวิธีคิดที่สร้างสรรค์กว่าพวกเราเยอะในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากของสะสม”


               นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ถ้ามอง อย่างพื้นฐานที่สุด คนไข้โรคชอบสะสม ไร้ความสามารถโดยสิ้นเชิงในการตัดสินใจ ฟรอสต์เล่าถึงคนไข้คนหนึ่งที่มีนิสัยชอบสะสมว่า เขาอ่านพบบทความในนิตยสารท่องเที่ยว แล้วก็ตัดสินใจไม่ถูกว่าควรจะทิ้งบทความนั้นเสียหรือ เก็บไว้ดี หากจะเก็บควรเก็บในหัวข้อการท่องเที่ยว หรือหัวข้อของประเทศที่ บทความนั้นกล่าวถึง เมื่อตัดสินใจไม่ได้ก็เลยทำสำเนาเสียหลายๆ ชุดแล้วเก็บไว้กับทุกหัวข้อเสียเลย


                การตัดสินใจไม่ถูกนี้แผ่ขยายไปถึงชีวิตในด้านอื่นๆ ด้วย นักสะสมจะตัดสินใจไม่ได้ว่าควรทำอะไร ดังนั้นในแต่ละวันพวกเขาจะคิดสร้างโครงการต่างๆ กว่าสิบโครงการ ศ. สัญชัย สักเสนา ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ แห่ง
มหาวิทยาลัยมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองลอสแองเจลิส กล่าวว่า “แล้วพวกเขาก็กระโดดข้ามจากโครงการนั้นไปโครงการนี้ให้วุ่นไปหมด” นอกจากนี้ คนไข้จะมีปัญหาตัดสินใจไม่ถูกว่าควรพูดมากพูดน้อยเท่าไรจึงจะเหมาะสมศาสตราจารย์
กล่าวอีกว่า “พวกเขาจะพูดมากจนเกินความจำเป็น เมื่อคุณถามอะไรสักอย่าง เขาจะตอบจนละเอียดยิบ เกินกว่าคำตอบธรรมดาๆ ที่เราตอบกัน”


               การรักษาโรคชอบสะสมจะต้องรักษาอีกแนวทางหนึ่ง ไม่เหมือนโรค ย้ำคิดย้ำทำ เพราะโรคชอบสะสมไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้ยาต้านอาการซึมเศร้า และคนไข้จะมีความสุขกับ สิ่งของที่อยู่รายรอบตัว ในเรื่องนี้ มอลต์บีอธิบายว่า “โรคชอบสะสมจะคล้ายไปทางโรคบ้าการพนันหรือโรค บ้าซื้อของมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่คนไข้ทำแล้วมีความสุข” ยิ่งไปกว่านั้น จาก การสแกนสมองด้วยเครื่องพีอีที (positron-emission tomography : PET) ยังบ่งชี้ว่า โรคชอบสะสมกับโรคย้ำคิดย้ำทำมีลักษณะที่แตกต่างกัน ชัดเจน จากงานวิจัยของ ศ. สักเสนาที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านจิตเวช
ศาสตร์ของ อเมริกา ฉบับเดือนมิถุนายน รายงานว่า บริเวณที่เรียกว่า ซิงกูเลต ไจรัส ในโครงสร้างของสมองส่วนกลาง จากด้านหน้าไปถึงด้านหลัง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการตั้งสมาธิ สมองส่วนนี้ของคนไข้โรคชอบสะสมจะแสดงระดับการทำงานต่ำกว่า คนปกติธรรมดา แต่ในคนไข้โรคย้ำคิดย้ำทำซึ่งไม่ได้เป็นโรคชอบสะสมจะไม่แสดงลักษณะนี้ออกมาเลย ในทางตรงกันข้ามสมองบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความกังวลจะแสดงการทำงานในระดับสูงมาก หากเขาต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับอันตราย ความสกปรกปนเปื้อน และความเป็นระเบียบเรียบร้อย


               มีงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ของมหาวิทยาลัยแห่งไอโอวาสนับสนุนสิ่งที่ ศ. สักเสนาค้นพบ ซึ่งได้ศึกษากลุ่มบุคคลที่ทุกข์ทรมานจากอาการบาดเจ็บในส่วนต่างๆ ของสมอง อันสืบเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับระบบประสาท ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า คนไข้จำนวนสิบสามคนไม่เคยแสดงอาการมาก่อนเลยว่ามีแนวโน้มที่จะชอบเก็บสะสม จนกระทั่งเกิดอาการบาดเจ็บที่สมองส่วนหน้าจนถึงสมองส่วนกลาง บริเวณซึ่งเป็นซิงกูเลต ไจรัสส่วนหน้า หลังจากนั้น คนไข้จึงกลายเป็นเหยื่อของอาการที่นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า “การ คลั่งสะสมสิ่งของที่ไร้ประโยชน์จำนวนมหาศาล”


               ศ. สักเสนากล่าวถึงข้อเสนอแนะของงานวิจัยว่า ในการรักษาด้วยยาแก่คนไข้โรคชอบสะสมสมบัติ แพทย์ควรจะพิจารณาออกนอกขอบเขตของโรคย้ำคิดย้ำทำไปเลย สำหรับตัวเขาเองวางแผนที่จะทำการทดลองด้วยยากระตุ้นที่ปกติจะให้แก่คนไข้ที่เป็น โรคขาดสมาธิ เขากล่าวว่า “เราจะลองใช้ยาริทาลิน และยาซึ่งช่วยเพิ่ม ความรับรู้ในคนไข้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ เป้าหมายของเราคือกระตุ้นความตั้งใจและทำให้คนไข้มีสมาธิดีขึ้น โดยดูผลของยานี้ว่าจะช่วยให้คนไข้มีอาการดีขึ้นหรือไม่”


               ในเวลาเดียวกันฟรอสต์และ เกล สเตเกที แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน กำลังศึกษาวิธีการบำบัดคนไข้เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการรับรู้อย่างแท้จริง ฟรอสต์กล่าวว่า เราจะเน้นพฤติกรรมสามอย่างต่อไปนี้ คือ คนไข้ต้องรู้จักจัดสิ่งของให้เป็นระเบียบ ต้องรู้ว่าควรจะซื้อหาสิ่งของใหม่ๆ เข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน และส่วนสำคัญที่สุด คือ ต้องรู้จักทิ้งสิ่งของต่างๆ ไปบ้างตามระยะเวลาที่ผ่านไป ขณะนี้นักวิจัยกำลังพัฒนารูปแบบการรักษาซึ่งใช้เวลาประมาณหกเดือน อันเป็นระยะเวลาที่คนไข้จะต้องต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยการทิ้งสมบัติหรือสิ่งของบางอย่างออกไป


               มอลต์บีเห็นด้วยว่า การบำบัดโดยผู้มีประสบการณ์สูงจะช่วยให้ คนไข้โรคชอบสะสมวิเคราะห์ความคิดของตัวเองขณะที่พิจารณาเลือกสิ่งของได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เขากล่าวว่า “ปัญหานี้ไม่ได้แก้ง่ายๆ เพียงแค่ทำความสะอาด ไม่ใช่เพียงแค่เข้ามารื้อสมบัติบ้าแล้วขนออกไปทิ้ง เพราะคนไข้ก็จะเก็บสะสมใหม่อีก คุณต้องแก้ปัญหาให้ลึกลงไปถึงจุดที่คนไข้เกิดการตัดสินใจเลยทีเดียว” แปลและเรียบเรียงจาก Conspicuous Compulsion, Discover,











ขอขอบคุณที่มา : โดย..เจมินี
แปลและเรียบเรียงจาก Conspicuous Compulsion,Discover
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ