เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ









อยู่อย่างไรให้เป็นสุขในวัยสูงอายุ







อัญชลี จุมพฎจามีกร ผู้รวบรวมและเรียบเรียง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สเปญ อุ่นอนงค์ ผู้ให้คำปรึกษา


ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในวัยนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย ทางสมอง ทางอารมณ์และทางสังคม จึงเป็นวัยที่คนส่วนมากกลัว ดังนั้นการได้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ดังกล่าวก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ปรับตัวได้ดียิ่งขึ้นรวมทั้งบุตรหลานหรือผู้ใกล้ชิดมีส่วนสำคัญมากในการช่วยให้ท่านปรับตัวได้อย่างมีความสุข

การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของผู้สูงอายุ

1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เริ่มอ่อนแอลงและเชื่องช้า ร่างกายเสื่อมโทรม บางรายมือเท้าสั่นการ
    ทรงตัวไม่ดี ปรับตัวกับสภาพดินฟ้าอากาศได้ยาก ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย

2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสมอง หลงลืมง่าย ความจำไม่ดี แต่เหตุผลและความสุขุมรอบคอบอาจจะ
    ยังคงที่

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ อารมณ์ไม่คงที่ อ่อนไหวง่าย มักเอาแต่ใจตัวเอง โกรธง่าย ชอบ
    บ่น แต่บางรายใจดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจในครอบครัวด้วย

4. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่วนมากก็มักจะฝากจิตใจไว้กับวัดและยึดศาสนาเป็นที่พึ่ง บางราย
    อาจต้องหาเลี้ยงชีพอยู่หรือเลี้ยงดูลูกหลานในบ้าน จึงกลายเป็นที่พึ่งและเพื่อนเล่นของลูกๆหลาน
    ซึ่งก็ช่วยให้มีความสุขเพลิดเพลิน

ปัญหาที่พบได้บ่อยในวัยนี้

1. ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายไม่ค่อยดี

2. ปัญหาด้านจิตใจ วิตกกังวลกลัวลูกหลานจะไม่เลี้ยงดู กลัวถูกทอดทิ้ง

3. การเกษียณอายุต้องออกจากหน้าที่การงาน และไม่มีงานอดิเรกทำ ทำให้รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า หมดศักดิ์ศรี

4. การสูญเสียคูชีวิต ญาติมิตร ลูกหลาน ทำให้เกิดความว้าเหว่

5. การถูกทอดทิ้ง ปัจจุบันครอบครัวมักแยกอยู่อย่างอิสระจากพ่อแม่ ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเดียวดาย จิตใจหดหู่ ไม่ได้รับการดูแล ขาดเพื่อนฝูง ขาดการสังสรรค์

6. ผู้สูงอายุมักคิดถึงแต่เรื่องในอดีตด้วยความเสียดายและคิดถึง ปัจจุบันด้วยความหวาดกลัว และวิตกกังวลต่ออนาคต

การปรับตัวให้มีความสุขให้วัยสูงอายุ

1. เตรียมใจยอมรับความรู้สึกสูญเสีย ซึ่งเป็นธรรมชาติของวัยนี้ เช่น สูญเสีย สมรรถภาพทางกาย ลูกหลานจากไปมีครอบครัว บางครั้งก็ต้องอยู่ตามลำพังคนเดียว

2. ไม่ควรคิดถึงอายุซึ่งลวงเลยไป หรืออดีตด้วยความวิตกกังวล

3. อย่าคิดว่าอายุทำให้คนอื่นเลิกเคารพตัวท่าน

4. เมื่อมีปัญหาควรปรึกษาขอคำแนะนำจากคนอื่นบ้าง

5. ไม่ควรจริงจังกับชีวิตมากนัก ดำเนินชีวิตด้วยทางสายกลาง

6. ดูแลสุขภาพอนามัยให้ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีโปรตีนปานกลาง ไขมันน้อย วิตามินมาก ปริมาณต้องจำกัด การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง

7. ควรมีการพักผ่อนหย่อนใจและทำงานอดิเรกเล็กๆน้อยๆเพื่อความเพลิดเพลินใจ เช่น ปลูกต้นไม้ ไปวัดทำบุญศึกษาและปฏิบัติธรรม

8. ในขณะที่ยังทำงานมีรายได้ ก็ควรออมทรัพย์ไว้เพื่อจุนเจือใช้จ่ายในวัยสูงอายุจะได้ ไม่ลำบาก และไม่เป็นภาวะแก่ผู้อื่น จะได้พึ่งตนเองได้

9. ไม่เก็บตัว แยกตัวอยู่ตามลำพังคนเดียว ควรร่วมวงสนทนากับเพื่อนๆและผู้อื่นที่มีอายุอ่อนกว่าจะช่วยทำให้สังคมของผู้สูงอายุกว้างมากขึ้น และยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆในสังคม ช่วยให้ปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างมีความสุข ไม่คับข้องใจมากนัก

10. การยอมรับว่าตนเองเป็นผู้สูงอายุ ประพฤติปฏิบัติตัวให้ถูกกาลละเทศะและเหมาะสม กับอายุ

11. ไม่ทำตนให้เป็นที่รำคาญแก่ลูกหลานหรือผู้อื่น ไม่จู้จี้ขี้บ่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้อื่นและ ลูกหลานรู้สึกอบอุ่นและอยากเข้ามาใกล้ชิด

12. ทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ รู้จักสร้างอารมณ์ขัน


ลูกหลานญาติพี่น้อง มีส่วนสำคัญยิ่งในการช่วยให้ผู้สูงอายุ ปรับตัวได้อย่างมีความสุข ยิ่งขึ้น โดยให้เกียรติแก่ผู้สูงอายุ และช่วยให้ท่านมีความภาคภูมิใจ เช่น เวลามีปัญหาอาจไปขอคำปรึกษาจากท่าน ไม่ดูถูกเหยียดหยามท่าน ให้การเลี้ยงดูและดูแลท่าน คอยถามไถ่ เวลาท่านไม่สบายพาไปหาหมอ ช่วยดูแลจนหายจากเจ็บไข้ ท่านจะได้รู้สึกว่าตนเองยังมีความสำคัญต่อครอบครัว ยังมีคนห่วงใยคอยดูแลอยู่ทำให้ท่านรู้สึกอบอุ่นใจ และสามารถที่จะต่อสู้กับชีวิตในวัยสูงอายุได้ดีขึ้น


ในปัจจุบันรัฐบาลและสังคมได้ให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุมาก โดยได้จัดให้วันที่ 13 เมษายน เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของท่านที่ได้ทำประโยชน์ ให้แก่สังคมมาช้านาน โดยการจัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราขึ้นตามภาคต่างๆ บริการด้านสาธารณสุข แก่ผู้สูงอายุ คือให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ฟรีโดยไม่คิดมูลค่าและส่งเสริม ให้โรง
พยาบาลต่างๆ จัดตั้งบริการคลินิกผู้สูงอายุขึ้น บริการตรวจสุขภาพฟรี และชุมนุมผู้สูงอายุเพื่อให้ความรู้ให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรม ร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันจะเห็นว่าสังคมไม่เคยทอดทิ้งผู้สูงอายุเลย และเห็นความสำคัญของท่านมาก ฉะนั้นจงมีความภาคภูมิใจในความมีอายุของท่านเถิด ส่วนลูกหลานก็ควรแสดงความกตัญญูต่อผู้สูงอายุโดยการเลี้ยงดูเอาใจใส่ดูแลท่าน ก็จะช่วยให้ท่านปรับตัวต่อปัญหาต่างๆได้อย่างมีความสุข ส่วนผู้สูงอายุก็ควรทำตนให้เป็นที่เคารพรักของลูกหลานให้ความอบอุ่นใจ ความสบายใจแก่ลูกหลานด้วยการไม่สร้างความลำบากใจให้แก่ลูกหลาน ไม่จู้จี้ขี้บ่น ไม่เรียกร้องความสนใจและความเอาใจใส่มากเกินไป พยายามช่วยเหลือตัวเองเท่าที่จะทำได้ก็จะช่วยให้ ผู้สูงอายุและลูกหลานอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ยามใดที่ลูกหลานรู้สึกไม่พอใจผู้สูงอายุก็ลองนึกถึงกลอนบทนี้ดู ซึ่งก็คงพอจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด


พ่อแม่แก่เฒ่า

อ. สุนทรเกตุ



พ่อแม่ก็แก่เฒ่า จำจากเจ้าไม่อยู่นาน

จะพบจะพ้องนาน เพียงเสี้ยววานของคืนวัน

ใจจริงไม่อยากจาก เพราะยังอยากเห็นลูกหลาน

แต่ชีพมิทนทาน ย่อมร้าวรานสลายไป

ขอเถิดถ้าสงสาร อย่ากล่าวขานให้ช้ำใจ

คนแก่ชราวัย ผิดเผลอไผลเป็นแน่นอน

ไม่รักก็ไม่ว่า เพียงเมตตาช่วยอาทร

ให้กินและให้นอน คลายทุกข์ผ่อนพอสุขใจ

เมื่อยามเจ้าโกรธขึ้ง ให้นึกถึงเมื่อเยาว์วัย

ร้องไห้ยามป่วยไข้ ได้ใครเล่าช่วยปลอบปรน

เฝ้าเลี้ยงจนโตใหญ่ แม้เหนื่อยกายก็ยอมทน

หวังเพียงให้ได้ผล เติบโตจนสง่างาม

ขอโทษถ้าทำผิด ขอให้คิดทุกๆยาม

ใจแท้มีแต่ความ หวังติดตามช่วยอวยชัย

ต้นไม้ที่ใกล้ฝั่ง มีหรือหวังอยู่นานได้

วันหนึ่งคงล้มไป ทิ้งฝั่งไว้ให้วังเวง





ขอขอบคุณที่มา : http://www.ramamental.com/m12.html
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 

 











 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ