เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ









ออกกำลังกายคลายเศร้าบรรเทาเครียด







คนที่มีอาการซึมเศร้าเมื่อไปพบแพทย์ นอกเหนือจากการได้รับยาคลายเศร้าแล้ว ยังมักจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย ดอกเตอร์ Kristin Vickers-Douglas
นักจิตวิทยาแห่งเมโยคลินิก สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า มีหลักฐานมากมายที่ยืนยันว่า การออกกำลังกายช่วยในเรื่องอารมณ์และลดอาการซึมเศร้า แม้ว่า การออกกำลังกายจะไม่ใช่ยาวิเศษ แต่การเพิ่มการขยับกายยืดเส้นยืดสายร่างกายนั้นเป็นผลดี และช่วยให้จัดการกับอารมณ์เศร้าได้ดีขึ้น


เราสอนกันมานานแล้วว่า การออกกำลังกายเป็นแนวทางหนึ่งที่จะคงไว้ซึ่งร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ความอ้วน และโรคอื่นๆอีกสารพัด และนับวัน ผลการวิจัยยิ่งชี้ชัดว่า การออกกำลังกายช่วยลดอาการทางจิตได้หลายอาการ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดหรือซึมเศร้า ทั้งยังป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้ด้วย


การออกกำลังกายไม่ได้หมายถึงการออกแรงอย่างหนัก เหงื่อตกมากๆ การออกกำลังกายที่ให้ผลทางสุขภาพจิตนั้นแม้เพียงแค่เดินปกติสัก 10 นาทีก็ได้ผลแล้ว เพราะเราไม่ได้มุ่งหวังจะลดน้ำหนักสัก 1 -2 กิโลกรัมที่ต้องวิ่งเป็นระยะทางไกลๆ วิ่งเร็วๆ ให้เหงื่อแตกพรั่กๆ


ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายทางจิตวิทยานั้น หมายถึงการทำร่างกายให้แอคทีฟขึ้นเพื่อส่งผลให้ลดอารมณ์ทางด้านลบและเพิ่มอารมณ์ด้านบวกให้มากขึ้น และยิ่งมีการวางแผนให้เหมาะสมก็จะยิ่งได้ผลมากยิ่งขึ้นด้วย


แม้ว่า กลไกที่การออกกำลังกายส่งผลลดอาการ เศร้า เครียด กดดัน เหนื่อยล้าจิตใจ หงุดหงิดโมโห หรือแม้แต่ สิ้นหวังนั้นยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่ในทางสรีรวิทยา การออกกำลังกายช่วยเพิ่มระดับของสารเคมีในสมอง หรือ สารสื่อประสาทที่ปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น อย่างเช่น เอนดอร์ฟิน (endorphins) ช่วยคลายกล้ามเนื้อ หลับลึกขึ้น ลดฮอร์โมนความเครียด และมีผลให้จิตใจสงบขึ้น


ประโยชน์ในทางสุขภาพจิต


เพิ่มความสำเร็จและความเชื่อมั่นในตนเอง
การออกกำลังกายเพิ่มความรู้สึกว่า เราทำอะไรได้สำเร็จและเมื่อต่อเนื่องนานๆ เข้าก็จะผันเป็นเพิ่มความเชื่อมันในตนเอง ดอกเตอร์คริสตินบอกว่า ความรู้สึกเชื่อมั่นมั่นใจใน การเปลี่ยนแปลงตัวเองสำเร็จเป็นพลังด้านบวกที่จะโน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านบวกอื่นๆ ให้เกิดขึ้นตามมา เขายังอธิบายต่อไปว่า เวลาที่คนเรา ซึมเศร้า เรามักจะคิดว่า เราไม่มีแรง หรือพลังเพียงพอที่จะดูแลตัวเอง หรือ รับผิดชอบอะไรต่อมิอะไร คนที่ซึมเศร้าจะขาดความเชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกขาดประสิทธิภาพ จึงทำให้ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นการได้ออกกำลังกายจะเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับมาสัมผัสความสำเร็จเล็กๆ ขั้นต้นได้อีกครั้งหนึ่งอันเป็นก้าวแรกของก้าวต่อๆ ไป


หันเหความสนใจไปในทางบวก
เมื่อเวลาที่เราเศร้าหรือเครียด เรามักสนใจหมกมุ่นกับตัวเอง กับอาการ และผลของอาการ วนเวียนอยู่อย่างนั้น สิ่งนี้เป็นผลาญเวลาไปกับสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ นอกจากนั้นมันยังลดประสิทธิภาพในการขบคิดแก้ปัญหา ทำให้วงจรร้ายอันนี้ดำดิ่งยิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกาย ทำให้เราหันเหความสนใจออกไปเรื่องอื่น ละความคิดในแง่ลบลง โฟกัสกับสิ่งหรือคนอื่นๆ บ้าง ยิ่งไปกว่านั้น การไปออกกำลังกายจะได้พบเห็นสิ่งต่างๆ พบผู้คน หรือการเปิดเพลงไปพร้อมๆ การออกกำลังกายก็ช่วยผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี


เพิ่มความมีคุณค่าในตัวเอง
การออกกำลังกายช่วยฟื้นฟูอาการที่คิดว่าตัวเองไร้ค่าไร้ประสิทธิภาพ ออกกำลังกายแม้เพียงนิดก็ช่วยให้เรามองตัวเองดีขึ้น เห็นคุณค่าในตัวเรา และคิดที่จะทำตัวเราให้เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น


จับคู่ในทางบวก
ในระหว่างการออกกำลังกายนั้น ร่างกายเรามีการเปลี่ยนแปลงของการหายใจ เหงื่อออก ชีพจรเร็วขึ้น อาการเหล่านี้คล้ายกับอาการที่เกิดเมื่อเวลาเราเครียด แต่อาการที่เกิดขณะออกกำลังกายเหล่านี้เกิดขึ้นคู่กับความรู้สึกดีๆ ทางจิตใจของการได้ออกกำลังกาย ดังนั้นโดยอัตโนมัติจิตใจของเราก็จะจับคู่อาการใจสั่น เหงื่อออก หายใจเร็วหรือขัด ไปในทางบวก ต่อต้านกับความรู้สึกเดิมๆ ทำให้เรามองหรือเห็นอาการทำนองนี้ไปในด้านบวกมากขึ้น ลดหรือเลิกกลัวกับอาการเหล่านี้ที่เดิมเคยคิดว่ามันเป็นความเครียด เรียนรู้ที่จะอยู่กับมันได้โดยไม่กลัวมัน


สิ่งแวดล้อมพร้อมสนับสนุน
การออกกำลังกายเปิดโอกาสให้เราได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม ผู้คนแวดล้อมในทางบวก เพราะคนซึมเศร้ามักแยกตัวเอง การออกกำลังกายทำให้ได้พบปะผู้คน ยิ่งเป็นผู้คนที่ชอบออกกำลังกาย คนเหล่านี้อารมณ์แจ่มใสอยู่แล้ว รอยยิ้ม คำพูด เสียงหรือสิ่งต่างๆรอบตัวล้วนเสริมอารมณ์ให้แจ่มใสง่ายขึ้น


ทักษะการคิดในทางบวก
การทำอะไรในทางบวกที่จะจัดความเครียดความเศร้าเป็นประสบการณ์ด้านบวก เป็นการเรียนรู้ว่าวิธีจัดการกับอาการเหล่านั้นทำได้ และสำเร็จด้วย เพราะแทนที่จะนั่งรอให้ความเครียดความเศร้ามันหายไปเอง การได้ช่วยตัวเองด้วยการออกกำลังกายจึงทักษะหรือประสบการณ์ในด้านบวกให้เพิ่มมากขึ้น


การฝืนความฝืด


แน่นอนครับ การลุกขึ้นมาออกกำลังกายสำหรับคนที่ไม่เคย ไม่ใช่เรื่องง่าย เป็น ความฝืดที่ยิ่งใหญ่แบบหนึ่ง ข้างล่างนี้เป็นแนวทางบางประการที่จะช่วยลดความฝืดเหล่านั้นลงหาวิธีออกกำลังกายแบบที่เราสนุก ไม่ว่าจะเป็นชนิดของการออกกำลังกาย เวลาที่สะดวก สถานที่รู้สึกดีๆ กับคนที่ชอบ ฯลฯจะช่วยให้การออกกำลังกายสนุกขึ้นได้ ตั้งเป้าแบบที่เป็นไปได้ การตั้งเป้าแบบเริ่มต้นก็จะออกกำลังกายหนึ่งชั่วโมงต่อวันนั้น บางทีเป็นเป้าที่สูงเกินจริง ค่อยๆ เริ่มค่อยๆ ทำครับ อาจแค่วันละ 5 นาทีแล้วเพิ่มก็ได้ จะได้มีกำลังเพราะทำสำเร็จได้ง่าย


ซอยย่อยแผนการออกกำลังกาย สมมติว่า อยากออกกำลังกายให้ได้ 45 นาทีต่อวัน ให้แบ่งเป็น เดิน 10 นาที แกว่งแขน 5 นาที พัก 5 นาที วิ่งอีก 10 นาที ฯลฯ แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้ เมื่อเราประสบความสำเร็จเล็กๆ ความสำเร็จที่ใหญ่กว่าก็อยู่ไม่ไกล ขอให้แค่เริ่มเท่านั้นอย่าคิดว่าการออกกำลังกายเป็นภาระ ให้คิดเสียว่า มันเป็นยาชนิดหนึ่งที่จะช่วยรักษาหลายโรค ทั้งยังลดความเฉื่อย เพิ่มความเชื่อมั่น เพิ่มการมองแง่บวก ฯลฯ


เตรียมพร้อมสำหรับอุปสรรค ใหม่ๆอาจมีเยอะ แต่พอผ่านพ้นไปทีละขั้นทีละน้อยมันจะน้อยไปเอง การแบ่งแผนการออกกำลังเป็นข้อย่อยๆ ช่วยให้เวลาที่เราทำไม่สำเร็จในขั้นใด จะไม่เสียหายไปทั้งหมด ไม่ต้องเริ่มใหม่หมด เราสามารถที่จะเริ่มต้นในจุดต่อไปได้ อย่างน้อยก็ไม่คิดว่ามันพังทั้งหมด


ยึดมั่นกับการแผนออกกำลังกาย


การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่ยาก แต่การรักษาไว้ดูจะยากยิ่งกว่า ดังนั้นเราต้องเตรียมการเอาไว้ครับ เอาไว้แก้ไขสถานการณ์ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ฝนตก มีทางเลือกอื่นๆ ของการออกกำลังกายไหม หารองเท้าไม่เจอ ตื่นสาย ฯลฯ ต้องมีทางออกเอาไว้ การคิดถึงผลดีต่างๆ ในการออกกำลังกาย และสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในทางดีที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เรายึดอยู่กับออกกำลังกายได้นานขึ้น แรงผลักอื่นๆ ก็เช่นกัน ให้หามาเป็นแรงจูงใจให้ออกกำลังกายได้ต่อไป และอย่าลืมว่า ซอยย่อยแผนการออกกำลังกายเป็นขั้นเล็กๆ ช่วยให้เรื่องที่ฝืดลื่นขึ้น เมื่อล้มนิดล้มหน่อยจะลุกและก้าวต่อได้ง่ายขึ้นครับ




ขอขอบคุณที่มา : http://www.bangkokhealth.com
                           ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 


 











 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ