เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ









เทคนิคพิชิตเครียด







ในช่วงชีวิตของการเป็นวัยรุ่น จะต้องมีระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญรออยู่ 1 โค้งนั่นคือ การสอบเข้ามหา
วิทยาลัยในระบบกลาง หรือที่ปัจจุบันเรียกกันว่า แอดมิชชั่น (Admissions) ซึ่งมีผลให้เด็กวัยรุ่นต้องเผชิญกับภาวะวิตกกังวลเกี่ยวกับการสอบ จนกลายเป็นความตึงเครียดทั้งทางจิตใจและร่างกาย แต่ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่านั้นคือ ในการประกาศผลสอบทุกปีจะมีเด็กที่ผิดหวังเป็นจำนวนมาก บางคนเครียดจัดถึงขนาดฆ่าตัวตาย ซึ่งหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องพยายามร่วมมือกันหาวิธีรับมือ และแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป

นายแพทย์ สรวุฒ คุ้มครองธรรม จาก ศูนย์รีไวทัลไลท์ฯ ซอยร่วมฤดี ซึ่งเป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความมีชีวิตชีวาและการชะลอวัย แบบองค์รวมในระดับเซลล์ มีความห่วงใยในปัญหาดังกล่าวเช่นกัน จึงฝากข้อคิดที่น่าสนใจไว้ให้วัยรุ่นที่กำลังเครียดกับการประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งจะมีขึ้นเร็วๆ นี้ รวมถึงผู้ที่อาจพลาดหวังจากการสอบเพื่อไม่ให้คิดทำร้ายตัวเอง

“การสอบเข้ามหาวิทยาลัย แม้จะเป็นเส้นทางสำคัญหนึ่งของชีวิตวัยรุ่น แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเส้นทางที่จะต้องมีทั้งคนสมหวังและผิดหวัง สำหรับคนที่พลาดตรงนี้ อย่าเพิ่งเสียใจ หมดหวัง เพราะการสอบเป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตแต่ไม่ใช่ทั้งหมด โอกาสหน้าเรายังสามารถแก้ตัวใหม่ได้อีก ขอให้เตรียมตัวให้พร้อมและพยายามทำให้ดีที่สุด ส่วนใครที่ไม่อยากเสียเวลา ก็ยังมีสถาบัน การศึกษาอื่นให้เลือกเรียนอีกมาก อย่าคิดสั้นหรือทำร้ายตัวเอง เพราะอนาคตของเราไม่ได้วัดกันที่เรื่องนี้แค่อย่างเดียว” คุณหมอสรวุฒ ให้ข้อคิด

อย่างไรก็ตาม ความเครียด ก็สิ่งใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นกับเราได้ตลอดเวลา เพราะเกิดจากภาวะของจิตใจตนเองที่ตื่นตัวพร้อมจะเผชิญกับความกดดันอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคาดคิดว่าเกินความสามารถของเราที่จะแก้ไขให้หมดสิ้นหรือบรรเทาลงได้ สำหรับวัยรุ่นที่มีความเครียดมาก อาจแสดงออกมาในรูปของการเก็บตัว ไม่พูดคุยกับใคร ไม่อยากให้ใครเข้ามายุ่ง หรือหลบหน้า มีอาการซึมเศร้า กินอาหารไม่ลง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แน่นหน้าอก ท้องอืด ปวดหัว มีผื่นขึ้นตามตัว ซึ่งหากพบใครมีอาการแบบนี้จะต้องรีบให้ความช่วยเหลือ แก้ไขโดยเร็ว

“อย่างที่เห็นตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ว่า ปัจจุบันมีวัยรุ่นฆ่าตัวตายมากขึ้น จากหลายๆสาเหตุ เช่น ผิดหวังจากความรัก น้อยใจพ่อแม่ เรื่องการเรียน โดยเฉพาะเด็กบางคนที่พ่อแม่คาดหวังไว้มาก ก็ยิ่งจะทำให้ลูกรู้สึกกดดันอย่างรุนแรง เมื่อเด็กหาทางออกให้ตัวเองไม่ได้มักจะแก้ปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย การเลี้ยงดูจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าพ่อแม่เลี้ยงลูกให้เรียนรู้ในการเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ และแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล รู้จักยอมรับความเป็นจริง ก็จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงให้กับเขาในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างดี สำหรับครอบครัวไหนที่มีลูกหลานผิดหวังจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ควรให้กำลังใจ เข้าอกเข้าใจเด็ก อย่าซ้ำเติม หลีก เลี่ยงการเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เพื่อให้เด็กไม่เครียด ยิ่งเด็กที่เคยทำร้ายตัวเองมาก่อน คุณพ่อคุณแม่ควรต้องดูแลเป็นพิเศษเพราะเขาอาจทำซ้ำอีกเนื่องจากความผิดหวังก็ได้ จึงพยายามอย่าปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว“ เป็นข้อควรปฏิบัติ ที่คุณหมอฝากไว้

นอกจากนี้ คุณหมอสรวุฒ ยังมีวิธีแก้เครียดมาฝากกันอีก ซึ่งทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ ไม่จำกัดแค่กลุ่มวัยรุ่นที่เกิดความเครียดเท่านั้น โดยคุณหมอแนะว่า ถ้าเกิดความเครียดมากๆ ก็ควรหาทางระบายออกด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่ชื่นชอบ เช่น ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ ฯลฯ และพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-8 ชั่วโมง

“เวลานอนที่ดีที่สุดของคนเราคือ ช่วง 4-5 ทุ่ม เพราะจะมีฮอร์โมนที่หลั่งออกมาช่วยซ่อมแซมร่างกายระหว่างเราหลับ วัยรุ่นที่นอนดึกจึงมักจะโตช้า ห้องนอนก็ควรจะมืดสนิท เพราะมีฮอร์โมนตัวนึงชื่อ เมลาโตนิน จะหลั่งออกมาตอนไฟมืดสนิท เป็นเหมือนนาฬิกาชีวิตเรา ทำให้แก่ช้าลง และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเรา หากมีอาการนอนไม่หลับ เพราะเครียดหรือคิดเรื่องอะไรมากเกินไป การดูทีวีก่อนนอน ก็ทำให้สมองไม่ได้พัก จึงไม่ควรทำอะไรก่อนนอนแล้ว ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือกิน ควรนั่งวิปัสนา ทำจิตใจให้ว่าง จะได้นอนหลับสบาย” คุณหมอสรวุฒ กล่าว

จากกิจกรรมคลายเครียด ลองมาดูถึงเรื่องอาหารการกิน ที่ช่วยลดความเครียดกันบ้าง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง นมวัว เนื้อสัตว์ ไข่ จะมีสารอาหารช่วยลดระดับความเครียดชื่อ ทริปโตฟาน, ในธัญพืชต่าง ๆ ยีสต์ รำข้าว เครื่องใน เนื้อ ถั่ว ผัก มีสารอาหารจำพวกวิตามินบี ๖ , ตับ เครื่องใน เนื้อ เป็ด ไก่ ปลา ถั่ว ยีสต์ จะมีสารอาหารจำพวกวิตามินบี ๓ ฯลฯ ส่วนของหวานสุดโปรดของหลายๆ คนอย่าง ช็อคโกแลต ก็ช่วยแก้เครียดได้ชะงัดเช่นกัน

แต่สำหรับผู้ที่มีอาการเครียดเรื้อรัง หาวิธีแก้ไขอย่างไรก็ยังไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นจะต้องอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยเหลือ ซึ่งศูนย์รีไวทัลไลท์ฯ ซอยร่วมฤดี มีโปรแกรมการแก้ปัญหาอาการเครียดอย่างได้ผล ที่เรียกว่า โปรแกรม Wellness & Stress Management เป็นโปรแกรมที่รวบรวม ศาสตร์แห่งการคลายเครียดในระดับลึก ทั้งศาสตร์ตะวันออกและศาสตร์ตะวันตก เพื่อการผ่อนคลายอย่างแท้จริง ซึ่งประกอบไปด้วย เทคนิค การดลจิต เพื่อการผ่อนคลายในระดับลึก การนวดกดจุด เพื่อการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความเมื่อยล้าทางร่างกาย และปิดท้ายด้วยการเพิ่มพลังและความสดชื่น ให้กับอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย โดยใช้อุปกรณ์ C.I.T.E. (Controlled Ionically Transferred Energy) ซึ่ง เทคโนโลยีของ CITE คือ Ionizer ที่ปล่อยประจุ เข้าสู่ร่างกายและไปตามเส้น Meridian เพิ่ม Qi แก่ร่างกายทุกส่วน ดังนั้นพลัง Qi ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยซ่อมแซมส่วนของร่างกายที่สึกหรอ โดยไม่กระทบต่อเซลล์ปกติ และเพิ่มความมีชีวิตชีวา Vitality แก่อวัยวะในร่างกาย

ชีวิตวัยรุ่นเป็นช่วงที่มีสีสันและเสน่ห์มาก หากรู้จักใช้ความคิดและมีสติ ก็สามารถเลือกเดินบนเส้นทางที่ถูกต้องได้ปลอดภัยตลอดรอดฝั่ง แต่หากปล่อยให้อารมณ์ผิดหวังเพียงวูบเดียวมาทำลายโอกาสดีๆ ที่รออยู่ในอนาคต ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง หากมีปัญหาเรื่องเครียดจนทำให้ความสุขในชีวิตเริ่มขาดหายไป เชิญมาสัมผัสกับนวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยให้สุขภาพกายและใจของคุณดีขึ้นอย่างสมดุล ณ ศูนย์รีไวทัลไลท์ ซอยร่วมฤดี สอบถามรายละเอียดได้ที่ Calll Center 02-651-4751-3 หรือ
http://www.revitalite.co.th/




ขอขอบคุณที่มา : http://women.impaqmsn.com/articles/646/46001452.aspx
                           ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 


 











 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ