เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ความจริง 12 ข้อของความสุข





 

สภาพปัญหาในช่วง 50 ปี ที่ผ่านมา รายได้เฉลี่ยของประชาชนในประเทศโลกตะวันตกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า คนมีอาหาร เสื้อผ้า รถยนต์ บ้าน สุขภาพ การเดินทางท่องเที่ยว มากขึ้น แต่ผลจากการสำรวจและงานวิจัยพบว่าคนไม่ได้มีความสุขมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องทบทวนว่า ความสุขคืออะไร ความสุขเกิดจากอะไร และทำอย่างไรประชาชนจะมีความสุขเพิ่มขึ้น

ในศตวรรษที่ 18 นักปรัชญา Enlightenment ชาวอังกฤษชื่อ Jeremy Bentham ผู้ก่อตั้ง University College of London เสนอ The Greatest Happiness Principle ว่าสังคมที่ดีที่สุดคือสังคมที่ประชาชนมีความสุขที่สุด นโยบายสาธารณที่ดีที่สุดคือนโยบายที่สร้างความสุขมากที่สุด และ ในระดับบุคคลการกระทำที่ถูกต้องตามจริยธรรมเป็นสิ่งที่สร้างความสุขมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในขณะนั้นยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความสุขอย่างแท้จริง ในระยะต่อมาปรัชญา Enlightenment จึงถูกแทนที่ด้วยแนวคิดของปัจเจกบุคคล (Individualism) ซึ่งส่งผลให้คนแข่งขันเพื่อหาความสุขให้กับตนเองมากจนเกินไป และในที่สุดก็พบว่าคนและสังคมโดยรวมไม่ได้มีความสุขเพิ่มขึ้น

วิชาจิตวิทยาสมัยใหม่ ให้ความสำคัญและมักจะเน้นในเรื่อง Positive Psychology มีความเข้าใจในความสุขในมุมมองที่กว้างขึ้น โดยมองว่ามาจากปัจจัยหลายอย่างทั้งจากภายนอกและภายในตัวบุคคลมีผลต่อความสุขของบุคคล ในขณะที่วิชาเศรษฐศาสตร์อธิบายสถานการณ์ที่บุคคลมีความต้องการคงที่ สังคมมีทรัพยากรจำกัด กลไกตลาดมีความสมบูรณ์ ซึ่งในสถานการณ์นั้นความสุขที่วัดด้วยรายได้ประชาชาติ และพฤติกรรมการแสวงหาความสุขของบุคคลสามารถนำไปสู่ความสุขสูงสุดของสังคมได้ด้วยกลไกตลาด (invisible hand) แต่ในความเป็นจริงความสุขของคนนั้นมีปัจจัยมากกว่าเงินและความมีเสรีภาพ


ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อความสุขของบุคคล

นอกเหนือจากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ยังมีปัจจัยอื่นที่สำคัญ ที่ต้องคำนึงถึงได้แก่

(1) ความต้องการของคนไม่คงที่ เนื่องจากคนมักเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น นอกจากนั้นควรต้องการของคนยังเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น การศึกษาและโฆษณา เป็นต้น
(2) คนต้องการความมั่นคง ในงาน ในครอบครัว และในสภาพแวดล้อมของสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้อยู่นอกเหนือความควบคุมของตนเองเพียงคนเดียว
(3) คนต้องการที่จะสามารถไว้ใจผู้อื่น (Trust) ซึ่งในสังคมปัจจุบันมีน้อยลงเนื่องจากการเคลื่อนย้ายถิ่น
ฐานมีมากขึ้น


ความจริง 12 ข้อของความสุข

(1) ความสุขเป็นประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมและสามารถวัดได้ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสอบถาม การวัดกระแสคลื่นไฟฟ้าในสมอง เป็นต้น นอกจากนั้นความสุขคือสิ่งที่ผกผันโดยตรงกับความทุกข์เมื่อความสุขมากขึ้นความทุกข์ลดลง

(2) การแสวงหาความสุขเป็นธรรมชาติของคน โดยคนจะหาวิธีสร้างความสุขโดยเปรียบเทียบต้นทุนและผลที่จะได้รับจากวิธีต่างๆ

(3) สังคมที่ดีที่สุดคือสังคมที่มีความสุขมากที่สุด ดังนั้นนโยบายสาธารณะควรมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสุขและลดความทุกข์ให้มากที่สุด

(4) สังคมจะไม่มีความสุขเพิ่มขึ้นยกเว้นคนในสังคมมีเป้าหมายร่วมกันว่าต้องการให้สังคมมีความสุขเพิ่ม
ขึ้น เนื่องจากความสุขของคนขึ้นกับพฤติกรรมของผู้อื่นๆ ถ้าทุกคนยอมรับเป้าหมายของความสุขในสังคม จึงจะสามารถร่วมกันจัดระบบของสังคม ให้เกิดประโยชน์สาธารณะ (common good) ขึ้นได้

(5) มีเพื่อน มีครอบครัว มีงานทำ เป็นความสุขที่นอกเหนือจากเรื่องเงิน ดังนั้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่ใช่เป็นเพียงกระบวนการสู่เป้าหมายแต่เป็นสิ่งที่สร้างความสุขของให้คนด้วย

(6) ความสุขของสังคมโดยเปรียบเทียบระหว่างสังคมต่างๆ สามารถวัดได้โดยเครื่องชี้ 6 ตัว ได้แก่

         1) สัดส่วนประชากรที่เห็นว่าสามารถไว้ใจคนอื่นในสังคมได้
         2) สัดส่วนประชากรที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม/องค์กรต่างๆที่รวมตัวกัน
         3) อัตราการหย่าร้าง
         4) อัตราการว่างงาน
         5) คุณภาพของรัฐบาล

6) ความเชื่อถือในศาสนา นโยบายที่สามารถส่งเสริมความไว้ใจให้เกิดขึ้นในสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
นโยบายดังกล่าวได้แก่ การให้การศึกษาด้านจริยธรรม การสร้างครอบครัว ชุมชน และที่ทำงานที่อบอุ่นมั่นคง

นอกจากนั้นต้องคำนึงถึงผลดีและผลเสียของการปรับสภาพการทำงานให้มีความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลง (flexibility and change) เทียบกับความคงที่และแน่นอน (inflexibility and predictability) ให้ดี โดยเฉพาะการนำมาใช้กับภาครัฐ เนื่องจากคนจะมีความสุขและความภูมิใจในงานของตนและการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นแรงจูงใจที่สำคัญในการทำงาน (satisfaction of professional norm) การตั้งเป้าหมายและดึงดูดใจให้ทำงานโดย pay for performance อาจทำให้แรงจูงใจเดิมลดลงและอาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดของการ
เพิ่มปฏิรูปภาครัฐ

(7) คนมีความทุกข์กับสิ่งที่สูญเสียไปง่ายกว่าการดีใจกับสิ่งที่ได้มาใหม่ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ต้องคำนึง เพราะคนมีความยึดติดกับสถานภาพปัจจุบัน นอกจากนั้นคนชอบสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย ดังนั้นการเคลื่อนย้ายแรงงานและถิ่นฐานอาจทำให้ประสิทธิภาพของประเทศมากขึ้นแต่คนมีความสุขน้อยลง เพราะข้อเท็จจริงชี้ว่าความปลอดภัยในสังคมและสุขภาพจิตจะด้อยลงในสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง

(8) คนใส่ใจกับสถานะทางสังคมอย่างยิ่ง คนมีธรรมชาติที่ต้องการจะดีกว่าคนอื่น นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้สังคมไม่ได้มีความสุขเพิ่มขึ้นถึงแม้จะมีความก้าวหน้าในการพัฒนาไปมาก เมื่อมีคนรู้สึกดีขึ้น จะมีคนอื่นที่รู้สึกแย่ลงโดยเปรียบเทียบ การที่คนทำงานเพิ่มขึ้นมีรายได้เพิ่มขึ้นก็ทำให้คนอื่นมี ความทุกข์มากขึ้น นโยบายสำคัญที่จะช่วยลดปัญหานี้มี 2 เรื่อง คือ 1) ภาษีจะช่วยบรรเทาการแข่งขันอย่างไม่หยุดหย่อน (rat race) ได้ และอาจเป็นสิ่งที่ดีที่คนจะลดการทำงานลงบ้างถ้าสังคมโดยรวมจะมีความสุขมากขึ้น 2) การศึกษา จำเป็นต้องสอนเยาวชนให้มีค่านิยมที่ถูกต้องในเรื่องของสถานะทางสังคมและปลูกฝังให้มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น

(9) คนมีการปรับตัวกับสิ่งใหม่อยู่เสมอ เมื่อได้สิ่งที่ดีขึ้นแล้วระยะหนึ่งก็จะรู้สึกเคยชิน ดังนั้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจึงไม่ทำให้คนรู้สึกมีความสุขยาวนาน รายได้ในปีต่อไปจะต้องเพิ่มขึ้นมากกว่าที่เคยได้รับคนจึงจะรู้สึกมีความสุข คนจึงเสพติดการหาเงินเช่นเดียวกับเสพติดบุหรี่ ภาษีเป็นเครื่องมือที่สามารถลดพฤติกรรมทำงานหนักจนเกินไปที่เป็นผลเสียระยะยาวต่อความสุขของบุคคลลงได้

(10) คนยิ่งรวยยิ่งมีความสุขกับเงินน้อยลง เงินจำนวนเท่ากันจะสร้างความสุขให้กับคนจนได้มากกว่าคนรวย ดั้งนั้นนโยบายลดช่องว่างของรายได้ระหว่างชนชั้นในสังคม และระหว่างประเทศร่ำรวยกับประเทศยากจน จะช่วยเพิ่มความสุขของสังคมโดยรวม

(11) ความสุขขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของบุคคลมากพอกับปัจจัยภายนอก ระบบการการศึกษาควรมุ่งเพิ่มปัจจัยบวกภายในตัวคน และการฝึกจิต เช่น การนั่งสมาธิ เป็นต้น จะช่วยให้คนสามารถต่อต้านความทุกข์และเพิ่มความสุขได้

(12) นโยบายสาธารณะมีผลต่อการลดความทุกข์ได้ง่ายกว่าการสร้างความสุข เนื่องสาเหตุของความทุกข์และการขจัดทุกข์มันเห็นได้ง่ายกว่า นโยบายสาธารณะจึงควรมุ่งไปที่กลุ่มคนที่มีความทุกข์ในสังคม

การนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นจะมีผลบวกกับความสุขก็ต่อเมื่อเรามีรายได้ที่มากกว่าคนอื่นเท่านั้น คนที่มีรายได้ที่น้อยกว่าคนทั่วไปส่วนใหญ่ ก็จะมีสุทธิความสุข หรือ Net Happiness ที่ได้มาจากการเปรียบเทียบทางสังคมเป็นค่าลงไป เพราะฉะนั้นการเปรียบเทียบทางสังคมก็จะส่งผลให้คนทั่วไปส่วนใหญ่ใช้ชีวิตในที่ทำงานมากขึ้น และมีเวลาให้กับครอบครัวน้อยลง เพื่อที่จะผลักดันให้ตนเองมีรายได้ที่ดีกว่าคนอื่น เพื่อจะได้มีความสุขมากกว่าคนอื่น

แต่ว่าการเปรียบเทียบทางสังคมนั้น กลับไม่ส่งผลประโยชน์ให้กับความสุขโดยรวม หรือ Social Happiness เลย เพราะว่าความสุขที่ได้มาจากการเปรียบเทียบเป็น Zero-sum Game ซึ่งจำนวนของคนที่ได้จะเท่ากับจำนวนของคนที่เสีย ส่วนความสุขโดยรวม อาจจะลดลงไปด้วยซ้ำ ถ้าหากว่าความสุขที่เราได้มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นวัดได้น้อยกว่าความสุขที่เราควรจะได้รับมาจากการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว และคนที่เรารัก

อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ คนเรานั้นสามารถปรับตัวไปกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นเร็วมาก จากผลการวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์ชาวสวิส Alois Stutzer แห่งมหาวิทยาลัย Zurich สรุปให้เห็นว่า ความทะเยอทะยานทางด้านรายได้ (Income Aspiration) ของคนเรา ส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กันกับรายได้ที่เราได้รับมาซึ่งก็จะทำให้ความพึงพอใจกับรายได้ และชีวิตเราลดลงไปด้วย

Andrew Oswald นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัย Warwick กล่าวว่า ความสุขที่เราได้มาจากเงินนั้นมีค่าน้อยมาก เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับความสุขที่เราได้มาจากปัจจัยอื่นๆ ในชีวิต

Oswald ได้ใช้เทคนิคที่ว่าด้วย สมการความสุข หรือ Happiness Equation มาแสดงให้เห็นว่า ถ้ารัฐบาลอังกฤษต้องการที่จะจ่ายค่าชดเชยคนๆ หนึ่ง ที่มีความทุกข์จากการว่างงาน เพื่อที่จะทำให้คนคนนั้นกลับไปมีความสุขเทียบเท่ากับตอนที่เขายังมีงานประจำทำ รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินเขาเป็นจำนวน E 75,000 หรือเป็นเงินไทยก็ประมาณ 5.6 ล้านบาทต่อปี











ขอขอบคุณที่มา : นิตยสารไทม์
                          http://www.thaimental.com/modules.php
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ