เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ภาวะหุนหันพลันแล่นหรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้





 

จากข่าวที่เกิดขึ้น ผมว่าเราน่าจะมาเรียนรู้กันในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ อยากจะฝากพ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่าน เอาข่าวนี้มาเรียนรู้ศึกษากันในครอบครัว ว่าวิธีการจัดการกับอารมณ์นั้น ทำยังไงได้บ้าง มีหลักง่ายๆอยู่ 3 ข้อครับ

มีคำถามว่าเกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง ต้องขอตอบว่ามีอยู่ 2 ด้าน คือ

1.เกิดขึ้นในคนปกติก็ได้ สามารถเกิดขึ้นได้ถ้ามีปัญหาเข้ามาแบบบีบคั้นรุนแรงมากๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งคุกคามที่ใกล้ๆตัว
อย่างที่เราได้เห็นข่าวบ่อยๆว่า ลงจากรถที่เชี่ยวชนไปทะเลาะเบาะแว้งตบตีกัน หรือยิงกันจนเสียชีวิต ซึ่งตรงนี้ก็เป็นด้านหนึ่ง หรือมีเหตุไม่มากมายอะไร แต่คนๆนั้นมีความอดกลั้น ควบคุมจิตใจได้น้อย ซึ่งเขาไม่ได้ผิดปกตินะครับ เพียงแต่เขาไม่ได้ถูกฝึกทางด้านการควบคุมอารมณ์มาก่อน ซึ่งก็เจอได้บ่อยในเด็กที่ถูกตามใจ คนที่เอาแต่ใจ อะไรทั้งหลายพวกนี้ครับ ก็อาจจะบันดาลโทสะ จนกลายเป็นปัญหาได้ เพราะเขาไม่เคยเผชิญกับอะไรที่หนักๆ แม้เจอเหตุการณ์เบาๆก็เป็นได้

2.เกิดขึ้นในคนผิดปกติก็ได้ มีได้ตั้งแต่โรคทางด้านร่างกาย เช่น โรคลมชัก อาการโรคทางระบบประสาททั้งหลาย ที่ทำให้สมองไม่สามารถจัดการอะไรต่างๆ ได้เวลาเกิดปัญหาขึ้นมา การควบคุมอารมณ์ก็ไม่ดี

(2.1) พวกที่เกิดจากอาการทางจิตหรือโรคทางจิต ถ้ามีอะไรมากระตุ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็เกิดอารมณ์ขึ้นมาได้ เช่น คนที่เป็นภาวะโรคทางอารมณ์ ไบโพล่า หรือโรคทางจิตต่างๆ ซึ่งมีการสั่งมาจากสมองเกิดบันดาลโทสะ นั่งอยู่เฉยๆคนเดียวก็โกรธขึ้นมาได้เหมือนกัน

(2.2) เกิดจากสารเสพติด เช่น ยาบ้า ซึ่งเราคงเคยเห็นภาพกันอยู่บ่อยๆ อยู่ดีๆก็ระแวงแล้วก็บันดาลโทสะขึ้นมา จนเกิดเหตุฉับพลันทันใดขึ้นมาได้

ถ้ามีประวัติว่าเคยรักษาทางจิต ในปัจจุบันการไปรักษากับโรงพยาบาลทางจิตเวช มีได้ตั้งแต่ปวดหัว นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือเป็นหวัดก็ยังไปรักษากับโรงพยาบาลทางจิตเวชได้นะครับ แต่ที่เจอบ่อยที่สุดก็คือ มีอาการทางจิตนะครับ

เขาจะป่วยเป็นอะไรนั้น อันนี้เป็นสิทธิของผู้ป่วย ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ขบวนการของทางการแพทย์ ถ้ามีคำถามมาจากเจ้าพนักงานสอบสวนหรือศาล ทางโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องก็มีคำตอบให้ครับ แต่คงไม่สามารถเปิดเผยได้กับประชาชน

ผมว่าเราน่าจะมาเรียนรู้กันในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ อยากจะฝากพ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่าน
เอาข่าวนี้มาเรียนรู้ศึกษากันในครอบครัว ว่าวิธีการจัดการกับอารมณ์นั้น ทำยังไงได้บ้าง มีหลักง่ายๆอยู่ 3 ข้อครับ
ผมว่าเราน่าจะมาเรียนรู้กันในเรื่องของการควบคุมอารมณ์ อยากจะฝากพ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่าน
เอาข่าวนี้มาเรียนรู้ศึกษากันในครอบครัว ว่าวิธีการจัดการกับอารมณ์นั้น ทำยังไงได้บ้าง มีหลักง่ายๆอยู่ 3 ข้อครับ

1.รู้จักอารมณ์ตัวเราเองก่อน ซึ่งหลายคนโกรธแล้วค่อยมารู้ตัวทีหลัง ค่อยมารู้สึกว่าผิดทีหลัง เหตุการณ์ร้ายๆเกิดขึ้นแล้ว แก้ไขไม่ได้แล้วเพราะฉะนั้นเราต้องรู้จักอารมณ์ของเราตั้งแต่ตอนก่อตัวขึ้นมา ยังไม่ทำอะไรให้เกิดความเสียหาย แต่มันเริ่มมีกรุ่นๆอยู่ในใจแล้ว น่าจะดีที่สุดนะครับ

2.รู้จักการควบคุมอารมณ์ พอมันเริ่มก่อตัวขึ้นมาก็อย่าให้มันระเบิดทันที ต้องหาทางจัดการลดความแรงของอารมณ์นั้น ถ้าลดไม่ได้ก็เดินออกไปจากเหตุการณ์ตรงนั้น

3.หาทางระบายออก หรือแสดงออกที่เหมาะสม เช่น ถ้าทะเลาะเบาะแว้งกันริมถนน ถ้าเรามีประกัน เขามีประกัน ก็ให้ประกันมาพูดแทนเรา ก็จะช่วยลดกรณีพิพาทได้ แต่ถ้าไม่มีประกันเลย และรู้สึกว่าไม่ดีก็คงจะต้องหาคนกลางมาช่วย เช่น ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาช่วยจัดการแทนเรา ส่วนถ้าโกรธจนระงับอารมณ์ไม่ไหว ก็คงต้องหาคนอื่นมาพูดแทนเรา อาจจะเป็นญาติหรือใครก็แล้วแต่นะครับ ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว เพราะการระบายออกที่เหมาะสม จะช่วยทำให้ไม่ต้องเสียใจทีหลังนะครับ


                                                                                                                    จาก นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน











ขอขอบคุณที่มา : http://www.thaimental.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ