เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






พ่อแม่รังแกลูก




 

สายโลหิตที่เกิดมาคือ ผลผลิตที่ล้ำค่าของมนุษย์ให้ความสุขสมบูรณ์ เป็นห่วงโซ่ทอง คล้องใจจากความรัก เป็นการสร้างทายาทมาสืบสกุลเข้าทฤษฎีครอบครัวนิยม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวมในสังคม

สังคมไทยเปลี่ยนไป กระบวนการขัดเกลาทางสังคมเกิดปัญหา บิดา มารดา เลี้ยงบุตรธิดาแบบสุกเอาเผากินหรือไม่ มีเวลาแบ่งปันให้ข้อคิด ความรัก ทนุถนอม กล่อมนิสัย สอนเด็กให้รักเมตตา เอื้ออาทร ว่านอนสอนง่าย หรือสอนแบบมีแต่ให้ ไม่ได้อย่างใจทำลายข้าวของ ตอบสนองแบบโรคจิต ตะโกนลั่น ทำร้ายตัวเอง ชักดิ้นชักงอจะเป็นจะตาย สิ่งนี้เกิดจากเบ้าหลอมการเลี้ยงดู

ตัวอย่างเลวๆ มีให้เห็นกับการเลี้ยงดูบุตรธิดามีปัญหาในครอบครัว แต่ออกมาสร้างจิตสำนึกต่ำทรามให้กับสังคม เด็กบางคนถูกเลี้ยงดูโดนตามใจจนอ่อนแอ ถูกขัดใจเที่ยวถามชาวบ้าน "มึงรู้ไหม กูลูกใคร?" หรือกลมสันดานปมด้อยมากๆ จะถาม "มึงรู้ไหม กูเป็นใคร" บางครั้งสังคมเป็นปัญหากระทำจากคนที่มาจากเบ้าหลอมของครอบครัวที่สร้างปัญหา

เด็กเยาวชนไทยนับวันจะใจร้ายอำมหิตมากยิ่งขึ้น ผู้เขียนวอนสถาบันครอบครัวต้องเข้มงวดเข้ามาดูแลให้มากขึ้น ทำหน้าที่เบ้าหลอมบุตรธิดาให้ดูงามสง่า รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม คนในสังคมต้องปรับเปลี่ยนท่าที่อันมีต่อบุตรหลาน ดีหรือไม่ ? ไม่เช่นนั้นเราจะเข้าสู่มุมอับ ได้ผู้ใหญ่ที่อ่อนแอ ขาดความเอื้ออาทร ใจดำ อำมหิต ขาดภาวะผู้นำเห็นแก่ได้ บ้าอำนาจ ไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์

การเลี้ยงดูแบบตามใจทำให้เด็กไทยอ่อนแอ การเลี้ยงดูแบบให้แต่วัตถุขาดการอบรมสั่งสอน ทำให้เด็กแข็งกระด้างขาดวุฒิภาวะ

การเลี้ยงดูแบบลูกข้าใครอย่าแตะ ปกป้องลูกตนเองคือเทวดา จะทำให้เด็กเห็นแก่ตัวขาดความเอื้ออาทร หยาบโลน เป็นผลิตผลอันไม่พึงประสงค์ของทุกสังคม นี้คือตัวอย่างการเลี้ยงดูแบบวิชาการ

แต่ในโลกความจริงพ่อแม่ทุกคนรักลูก แต่ขอให้ลูกแบบอบรมสั่งสอนบ่มเพาะถนอมให้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สังคมแข็งแรง เข้าสู่ทฤษฎีครอบครัวนิยม คือทุกคนต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนครอบครัวและประโยชน์ส่วนรวม

ฝากถึงรัฐบาลต้องตระหนักคิดถึงมาตรฐานการอบรมดูแลบุตรหลานของครอบครัวได้ดังนี้

1.รัฐบาลหาเจ้าภาพ ให้กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกันกำหนด
ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนให้พ่อแม่ ห่วงใยดูแลบุตรหลานโดยเฉพาะอายุระหว่าง 6-14 ขวบ กำลังเปลี่ยนแปลง เบ้าหลอมสำคัญที่สรรค์สร้างทัศนคติที่ดีหรือเลว

2.ประกาศวันครอบครัว (Family Day) ให้จริงจัง ทุกคนต้องอยู่พร้อมหน้า วันเสาร์หรืออาทิตย์ องค์กรทุกแห่งต้องใส่ใจมีวันครอบครัวให้พนักงานตระหนัก อย่าบ้างาน บ้าเงินจนลืมบ่มเพาะบุตรหลานอันเป็นดั่งแก้วตาดวงใจ

3.สถาบันสังคม ไม่ให้การยอมรับบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตแบบบ้างานแต่ครอบครัวบรรลัยวายวอด ส.ส. ส.ว.
รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีต้องถูกตรวจสอบถึงตระกูล ครอบครัว ไม่ใช่ครอบครัวลูกหลานมีปัญหา แต่ทำท่ามาแก้ไขปัญหาชาติบ้านเมือง

4.พระสงฆ์ ผู้นำศาสนาต่างๆ ด้านจิตวิญญาณให้คำสอนที่เน้นให้พ่อแม่รักลูก ลูกหลานรักพ่อแม่ เพื่อสร้างแรงเสียด
ทานกระแสวัตถุนิยมบ้าเลือด รณรงค์ให้เป็นค่านิยม วัฒนธรรมดั้งเดิมที่พ่อแม่ลูกอยู่ร่วมกัน ทานข้ามพร้อมหน้า มีกิจกรรมสอนการบ้าน พาไปศาสนสถาน พักผ่อน

ต้องยืนยันมีเงินหมื่นล้านบุตรหลานเลวร้าย ค่าเงินไม่ต่างอะไรกับเศษกระดาษ

ตัวอย่างพ่อแม่รังแกลูกมีให้เห็น เป็นทั้งคนรวย คนจน คนมีการศึกษา ไม่มีการศึกษา ทั้งคนดีมีชาติตระกูล ถึงคนจนหา
เช้ากินค่ำ

บอกตนเองเสมอ เรารักบุตรหลาน อบรมมาแต่เกิดให้เวลากอด สอนความดีงาม สอนให้ความรักเพื่อนมนุษย์ รู้จักกฎกติกาสังคม เคารพในสิทธิ หรือให้ท้ายลูก ชีวิตนี้ลูกมีแต่ดีเลิศ

พ่อแม่บางคนมาเอาใจใส่ลูกเมื่อสาย ลูกโตเกินแก้ไข ลูกบึ่งรถชนคนตายบอกผีร้ายเข้าสิงขาดสติ สตินะมีตั้งแต่รู้ว่าโกรธแล้ว แต่เป็นมิจฉาสติที่ขาดการอบรมแต่เยาว์วัย และพ่อแม่ไม่พร่ำสอนให้มีสัมมาสติที่ดีงาม รวมทั้งไม่งดงามนี่จะรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี

สังคมมีตัวอย่างพ่อแม่เช่นนี้แยะ พ่อแม่กลับไปดูแลให้ความอบอุ่นดูแลบุตรหลานท่านเช่นใด ระวังจะสายเหมือนตัวอย่างที่ทำให้อายไปทั้งตระกูล สังคมไม่โทษลูกแต่โทษพ่อแม่รังแกลูก

โดย ชลวิทย์ เจียรจิตต์ ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ











ขอขอบคุณที่มา : http://www.matichon.co.th
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ