เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






แบบวัดความเครียดสวนปรุง
( Suanprung Stress Test-20, SPST - 20 )



 
    บทนำ
 

                แบบวัดความเครียดสวนปรุงเป็นแบบวัดความเครียดที่สร้างขึ้นมาเพื่อวัดความเครียด ที่เหมาะสมสำหรับ คนไทย จากกรอบแนวคิดทางด้านชีวภาพ จิตใจ และสังคมของความเครียด ซึ่งเครื่องมือเท่าที่มีใช้อยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็นแบบวัดบุคลิกภาพ วัดความวิตกกังวล วัดอาการทางกายและจิตที่สัมพันธ์กับความเครียด ดังนั้น เครื่องมือชุดนี้ จึงเหมาะที่จะนำมาใช้เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับความเครียดของผู้ที่จะมารับบริการ ทราบที่มาของ ความเครียด การใช้ชีวิตประจำวันที่มีผลต่อการเกิดความเครียดหรือการปรับตัวรับกับความเครียด และอาการของ ความเครียดที่เกิดขึ้นได้ เหมาะจะใช้ในการให้บริการปรึกษาและแนะนำในเรื่องนี้


    คุณสมบัติของเครื่องมือ
 

                1. ทำการตรวจสอบความตรงทางด้านเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒินำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 149 คน แล้วปรับปรุงแบบวัดความเครียด ได้แบบวัดความเครียดจำนวน 102 ข้อ

                2. การหาคุณภาพของเครื่องมือโดยการหาความตรงตามสภาพ(Concurrent Validity)ในกลุ่มตัวอย่าง 523 คน เครื่องมือมาตรฐานที่ใช้คือค่าความเครียดของกล้ามเนื้อ (Electromyography : EMG) ซึ่งมีความแม่น ตรงตามสภาพมากกว่า 0.27 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่ออิงตามค่า EMG ที่ช่วงความ เชื่อมั่น 95%

                3. การแบ่งระดับความเครียดของแบบวัดความเครียดที่สร้างซึ่งแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ต่ำ ปานกลาง สูง และรุนแรง โดยใช้คะแนนปกติที (Normalized T-Score) ในการแบ่งโดยอิงตามค่า EMG ที่ใช้เป็นมาตรฐาน

                4. การปรับให้เครื่องมือมีขนาดเล็กลงเหลือ 60 ข้อ และ 20 ข้อ พร้อมทั้งหาคุณภาพของแบบวัดที่ได้ โดยใช้สถิติวิคราะห์ปัจจัย เพื่อสกัดตัวปัจจัยให้เหลือข้อคำถามน้อยลง ทั้งนี้ข้อคำถามที่เหลือจะต้องมีค่าความ เชื่อมั่นคอร์นบาค (Cronbach’s alpha reliability coefficient) มากกว่า 0.7 และยังคงสัมพันธ์กับค่า EMG อย่างมีนัยสำคัญ

    วัตถุประสงค์
 
                เพื่อประเมินความเครียดของบุคคลว่าอยู่ในระดับใด มากน้อยแค่ไหน ก่อนจะนำไปสู่การแก้ไข ที่เหมาะสม

    วิธีการนำไปใช้
 

                แบบวัดความเครียดสวนปรุง เป็นแบบวัดที่ผู้ตอบสามารถตอบได้ด้วยตนเอง ตามข้อความที่ตรง กับความรู้สึกหรือประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับผู้ตอบโดยผู้ตอบต้องอ่านหนังสือได้จะเหมาะกับคนในวัยทำงานหรือวัยเรียน  (โดยคำถามที่เกี่ยวกับงาน จะเปลี่ยนเป็นเรื่องเรียนแทน)  แบบวัดความเครียดสวนปรุงจะมี 3 ชุด คือ ชุด 102 ข้อ 60 ข้อ และ 20 ข้อ แต่ละข้อมี 5 คำตอบ


    การให้คะแนน
 
                ให้ผู้ตอบอ่านคำถามแล้วสำรวจดูว่าในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีเหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นกับผู้ตอบบ้าง ถ้าข้อไหนไม่ได้เกิดขึ้นให้ข้ามไปไม่ต้องตอบ แต่ถ้ามีเหตุการณ์ในข้อใดเกิดขึ้นกับผู้ตอบให้ประเมินว่าผู้ตอบ มีความ รู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น แล้วให้เครื่องหมายในช่อง นั้น ๆ
                การให้คะแนนของแบบวัดความเครียดสวนปรุง เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับให้คะแนน 1 – 2 – 3 – 4 – 5 ) ดังนี้


        ตอบไม่รู้สึกเครียด ให้ 1 คะแนน
        ตอบเครียดเล็กน้อย ให้ 2 คะแนน
        ตอบเครียดปานกลาง ให้ 3 คะแนน
        ตอบเครียดมาก ให้ 4 คะแนน
        ตอบเครียดมากที่สุด ให้ 5 คะแนน
        ไม่ตอบ ให้ 0 คะแนน


   ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมามีเหตุการณ์ในข้อใดที่เกิดขึ้นกับตัวคุณบ้าง   Sstr………..
คำถามในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา
ระดับของความเครียด
ไม่รู้สึก เล็กน้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด
  1. กลัวทำงานพลาด  
  2. ไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้  
  3. ครอบครัวมีความขัดแย้งในเรื่อง
      เงินทองหรือเรื่องงานในบ้าน
 
  4. เป็นกังวลเรื่องสารพิษ หรือมลภาวะ
      ในอากาศ น้ำ เสียง และดิน
 
  5. รู้สึกว่าต้องแข่งขันหรือเปรียบเทียบ้  
  6. เงินไม่พอใช้จ่าย  
  7. กล้ามเนื้อปวดตึง  
  8. ปวดหัวจากความตึงเครียด  
  9. ปวดหลัง  
  10. ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง  
  11. ปวดหัวข้างเดียว  
  12. รู้สึกวิตกกังวล  
  13. รู้สึกคับข้องใจ  
  14. รู้สึกโกรธหรือหงุดหงิด  
  15. รู้สึกเศร้า  
  16. ความจำไม่ดี  
  17. รู้สึกสับสน  
  18. ตั้งสมาธิลำบาก  
  19. รู้สึกเหนื่อยง่าย  
  20. เป็นหวัดบ่อย ๆ  



    การแปลผล
 
                แบบวัดความเครียดสวนปรุง ชุด 20 ข้อ มี คะแนนรวมไม่เกิน 100 คะแนน โดยผลรวมที่ได้ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

                             คะแนน 0 – 24 เครียดน้อย
                             คะแนน 25 – 42 เครียดปานกลาง
                             คะแนน 43 – 62 เครียดสูง
                             คะแนน 63 ขึ้นไป เครียดรุนแรง

                โดยมีรายละเอียดดังนี้
 

                1. ความเครียดในระดับต่ำ (Mild Stress) หมายถึงความเครียดขนาดน้อย ๆ และหายไปในระยะ เวลาอันสั้นเป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ความเครียดระดับนี้ไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต บุคคลมี การปรับตัวอย่างอัตโนมัติ เป็นการปรับตัวด้วยความเคยชินและการปรับตัวต้องการพลังงานเพียงเล็กน้อยเป็น ภาวะที่ร่างกายผ่อนคลาย

                2. ความเครียดในระดับปานกลาง (Moderate Stress) หมายถึง ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิต ประจำวันเนื่องจากมีสิ่งคุกคาม หรือพบเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในสังคม บุคคลจะมีปฏิกิริยาตอบสนองออกมาใน ลักษณะความวิตกกังวล ความกลัว ฯลฯ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่ว ๆ ไปไม่รุนแรง จนก่อให้เกิดอันตรายแก่ ร่างกาย เป็นระดับความเครียดที่ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น

                3. ความเครียดในระดับสูง (Height Stress) เป็นระดับที่บุคคลได้รับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดสูง ไม่สามารถปรับตัวให้ลดความเครียดลงได้ในเวลาอันสั้นถือว่าอยู่ในเขตอันตราย หากไม่ได้รับการ บรรเทาจะนำไปสู่ความเครียดเรื้อรัง เกิดโรคต่าง ๆ ในภายหลังได้

                4. ความเครียดในระดับรุนแรง (Severe Stress) เป็นความเครียดระดับสูงที่ดำเนินติดต่อกันมา อย่างต่อเนื่องจนทำให้บุคคลมีความล้มเหลวในการปรับตัวจนเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดแรง ควบคุมตัวเอง ไม่ได้ เกิดอาการทางกายหรือโรคภัยต่าง ๆ ตามมาได้ง่าย


    การนำไปใช้ประโยชน์
 

                แบบวัดความเครียดสวนปรุงสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในงานศึกษาวิจัยเชิงสำรวจหรือวิเคราะห์ และเป็น
ประโยชน์อย่างยิ่งในงานทางคลินิก เช่น ในคลินิกคลายเครียดเป็นต้น

                แบบวัดความเครียดสวนปรุง ฉบับ 102 ข้อ และ 60 ข้อ เป็นแบบวัดที่ทำให้ทราบอาการของ ความเครียด ความเปราะบางหรือความไวต่อความเครียด และสาเหตุที่มาของความเครียด ซึ่งเหมาะจะใช้ วางแผนการให้บริการปรึกษา และแนะนำในเรื่องนั้น ๆ และสามารถนำไปใช้ในงานวิจัยในเรื่องความเครียด ซึ่ง จะได้ข้อมูลละเอียดหลายด้านของความเครียด ข้อคำถามจะช่วยให้เกิดการสำรวจการดำเนินชีวิตและทำให้ทราบว่าถ้าจะปรับปรุงตัวควรจะเริ่มที่ใด หากดำเนินชีวิตในแนวดังกล่าวจะทำให้สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจดีขึ้นมี ปัญหากับความเครียดน้อยลง ในส่วนของสาเหตุที่มาของความเครียด จะช่วยให้สำรวจว่าผู้ตอบเครียดจากอะไร บ้างเกิดความเข้าใจในปัญหาสามารถจัดการกับความเครียดได้ตรงสาเหตุและรู้ว่าจะเริ่มต้นจัดการเรื่องใดบ้าง


    ข้อจำกัด
 

                1. แบบวัดความเครียดฉบับสั้น มี 20 ข้อ ไม่สามารถจะแยกสาเหตุหรืออาการต่าง ๆ ของความเครียดได้ บอกระดับความเครียดได้เพียงค่าคร่าว ๆ แต่จะเหมาะกับงานสำรวจที่ต้องการผล รวดเร็ว การตอบที่ง่ายและ สะดวกต่อการใช้

                2. แบบวัดนี้เหมาะกับผู้ตอบในวัยทำงานหรือวัยเรียน หากจะนำไปใช้กับคนในกลุ่มอื่นที่มีลักษณะแตก ต่างไปจากนี้ เช่น ในเด็กหรือผู้สูงอายุ ควรจะต้องทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบ หาความแม่นตรง และเกณฑ์การ แบ่งระดับความเครียดใหม่

                3. การประเมินระดับความเครียดของแบบทดสอบ ได้จากคะแนนรวมของแต่ละข้อคำถาม หากผู้ตอบมี ความเครียดกับเหตุการณ์เพียงไม่กี่ข้ออย่างรุนแรง คะแนนรวมออกมาอาจจะอยู่ในระดับเดียวกับคนที่เครียด ต่ำต่อหลาย ๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตก็ได้

                4. แบบทดสอบนี้ เป็นแบบวัดที่ให้ผู้ตอบรายงานตนเอง อาจเกิดความลำเอียงโดยธรรมชาติของคนที่ย่อม อยากแสดงตนในด้านดี หรือตอบไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือคนที่ชอบปฏิเสธต่อความเคียด อาจจะรายงานให้ดู น้อยกว่าความเป็นจริง ผลการวัดความเครียดที่ประเมินได้จะไม่ตรงกับความเป็นจริง ผลการวัดความเครียดที่ ประเมินได้จะไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นการวัดความเครียด ถ้าจะให้ผลถูกต้องก็ต้องวัดหลาย ๆ ด้าน





    เอกสารอ้างอิง
            สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมพ์มาศ ตาปัญญา
            รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัด
            เชียงใหม่.พฤษภาคม 2540.

    การเผยแพร่
            สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล วนิดา พุ่มไพศาลชัย และพิมพ์มาศ ตาปัญญา
            รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัด
            เชียงใหม่.พฤษภาคม 2540.

    บุคคลที่สะดวกในการติดต่อประสานงานในแบบคัดกรอง
            นายแพทย์สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล
            ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง
            โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
            โทรศัพท์ 0-5327-6153 280228-47 ต่อ 234 274825
            โทรสาร 0-5327-1084










ขอขอบคุณที่มา : http://www.dmh.go.th
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ