เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






คน...ฟุ้งซ่าน



 
คุณเคยมีอาการฟุ้งซ่านบ้างไหม?

         อาการนี้ส่วนใหญ่มักเป็นตอนกลางคืน นอนไม่หลับ โดยเฉพาะพวกที่นอนคนเดียวประจำเพราะมีสภาพเป็นโสด หย่า หรือบ่าย แต่ก็มีอีกจำวนวนมากที่ฟุ้งซ่านตอนกลางวันด้วย ตอนอยู่กับผู้อื่น หรือตอนทำงาน เรียกว่าฟุ้งซ่านตลอดเวลาก็ได้

         อาการฟุ้งซ่านนี้เกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ และสถานภาพทางสังคม  บางคนยิ่ง เก่งมาก รวยมาก ยิ่งฟุ้งซ่านมากก็พบได้

         ความฟุ้งซ่านนี้มากจากความคิดที่ฟุ้งกระจายมีปริมาณมากเกินปกติ ไร้ทิศทาง สับสน วุ่นวาย ซ้ำไปซ้ำมามักเป็นความคิดในเรื่องไม่ดีมากกว่าเรื่องดีที่เคยเกิดขึ้นในชีวิต และนำมาขยายความอีกหลายๆ เท่า ทำให้เกิดความวิตก กังวล กลัว ระแรง โกรธ ก้าวร้าว ซึมเศร้า ว้าเหว่  ฯลฯ แล้วแต่ความคิดในขณะนั้นจะหนักไปทางด้านใด

         เรื่องที่นำความคิดก็เป็นเรื่องที่แลดูปกติ หรือแก้ไขแล้วระดับหนึ่งแต่ยังนำมาคิดซ้ำๆ เช่น เรื่องความเจ็บป่วย หนี้สิน การงานที่มีอุปสรรค ปัญหาลูก ความเหงา ว้าเหว่ อนาคต ทรัพย์สิน ฯลฯ บางคนถึงกับอยากฆ่าตัวตาย หรือบางคนอยากไปทำร้ายคนอื่น ไปด่าทอหรือหาเรื่อง เอาเรื่องให้ถึงที่สุด

         ความคิดฟุ้งซ่านนี้ ถ้านานๆ เป็นครั้งหนึ่งก็ไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางจิตได้ เช่น เป็นโรคทางประสาท หรือเป็นโรคจิตไปเลย พวกที่ฟุ้งซ่านบ่อยๆมักจะมีบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป อย่างเห็นได้ชัด บางคนนอนไม่หลับ หน้าตาซูบซีด อิดโรย แววตามีความโกรธหรือความทุกข์ คำพูดมักจะบ่น รำพันหรือก้าวร้าวเกินปกติ

         เมื่อมีความคิดฟุ้งซ่านแล้วมักจะอยากระบายความฟุ้งซ่านด้วย จึงพูดให้คนใกล้ชิดฟัง เช่น คนในครอบครัว หรือญาติมิตรที่สนิท เรื่องที่พูดนั้นก็เป็นเรื่องซ้ำๆ ที่เก็บเอาไว้ในใจแต่จะใส่อารมณ์ของความโกรธ กังวล ระแวง ซึมเศร้า และขยายความเข้าไปด้วย

         เคยมีผู้ทุกข์บางคนที่เกิดความฟุ้งซ่านช่วงนอนไม่หลับ ลุกขึ้นโทรศัพท์ตอนตี 2 จะเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่ทำให้ฟุ้งซ่าน เพื่อนไม่เข้าใจ กลับต่อว่าโทร.มาทำไม คนเขาจะหลับจะนอน คิดมากไปได้ จะประสาทหรือ?

         ปรากฏว่า ผู้ทุกข์กินยานอนหลับเกินขนาดในคืนนั้นทันที ! ต้องล้างท้องในวันต่อมาเพราะเขาคิดว่าไม่มีคนรักและเข้าใจ พึ่งใครๆไม่ได้แม้เพื่อนสนิท

         ความคิดฟุ้งซ่านนี้ เป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก (Subconscious Mind) ที่แสดงตัวออกมาหลังจากที่กด เก็บ สะสม เอาไว้นานๆ

         ในแต่ละวันตามปกติ มนุษย์จะแสดงความคิดและการกระทำที่มาจากจิตสำนึก (ConsciousMind) ออกมาเป็นส่วนใหญ่ เป็นส่วนที่รู้ตัวว่าดี คิดแล้วดี จึงแสดงออกมาเพื่อให้คนอื่นๆ เห็นและคิดว่าเขาเป็นคนดี มีความปกติ

         แต่เหตุการณ์และประสบการณ์ชีวิตที่ไม่ดีที่เขาได้รับในแต่ละวัน ทำให้เกิดความกังวลเครียด ผิดหวัง เสียใจ น้อยใจ โกรธนั้น เขาต้องเก็บไว้ในส่วนของจิตใต้สำนึกเพราะถ้าแสดงออกมาให้คนอื่นเห็น คนอื่นๆ จะไม่ชอบ จึงไม่อยากแสดงออกมา

         ในส่วนจิตใต้สำนึกจึงเป็นเสมือนส่วนที่อยู่ใต้พรมปูห้อง ที่เก็บสะสมฝุ่นหรือของไม่ดีที่เจ้าของพรมกวาดเก็บเอาไว้ วันไม่ดี คืนไม่ดี ก็จะแสดงตัวออกมาให้เห็นชัดเป็นลักษณะของอาการฟุ้งซ่านนี่แหละ ส่วนจิตสำนึกก็เหมือนส่วนที่อยู่เหนือพรม ที่ปัดกว่าเสียสวยงามไว้โชว์ให้คนอื่นๆเห็น

         ผู้ทุกข์บางคนเป็นคนเก่ง คนดี ระดับปราชญ์ เคยช่วยเหลือผู้อื่นมาก เป็นผู้นำทางความคิดของสังคม มีจิตสำนึก แต่ทุกๆ วันเขามีเหตุการณ์ไม่ดีเข้ามารบกวนและต้องเก็บไว้ในจิตสำนึก

         ในยามที่เขาฟุ้งซ่านหรือจิตใต้สำนึกแสดงตัวออกมา เขาจะมีอาการนอนไม่หลับและคิดฟุ้งซ่านมาก จะเล่าให้ใครๆ ฟังก็รู้สึกอาย จะไปปรึกษาจิตแพทย์ก็อายหนักเข้าไปอีก จึงปล่อยอาการฟุ้งซ่านเป็นบุคลิกส่วนตัวที่ต้องเก็บเอาไว้ มีที่รู้ได้ก็เฉพาะคนใกล้ตัว แต่คนภายนอกจะบอกว่าเขาเป็นคนมีจิตสำนึกดีและเป็นคนเก่ง

         เมื่อเก็บความฟุ้งซ่านเอาไว้มากๆ ไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง วันหนึ่งเขาจะระเบิดอารมณ์และความคิดมา กลายเป็นคนก้าวร้าวรุนแรง อยากฆ่าตัวตาย ไม่ฟังใคร โทษทุกคนรอบตัว โทษสังคม ญาติต้องนำตัวส่งโรงพยาบาลทางจิตเวชก็เคยพบมาแล้ว

         เรื่องการดูแลจิตใต้สำนึกให้ดีขึ้นนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากของทุกคน ต้องรู้จักปัดกวาดหรือทำความสะอาดจิตใต้สำนึกทุกวัน และทำความสะอาดใต้พรมด้วย อย่าทำความสะอาดเฉพาะบนพรม ต้องรู้จักการเปลี่ยนแปลงใต้สำนึกที่ไม่ดี (-) ให้กลายเป็นจิตใต้สำนึกที่ดี (+) เสมอๆ ไม่เช่นนั้นอาจจะกลายเป็นคนฟุ้งซ่านทั้งตอนนอนไม่หลับ หรือตลอดเวลาก็ได้ อย่างที่พบมากขึ้งทุกวัน











ขอขอบคุณที่มา : นิตยาสาร ใกล้หมอ Health & Well-Being
                          ปีที่ 31 ฉบับที่ 5 เดือน มิถุนายน 2550
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ