เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






แพ้อาหาร แพ้ยา





 

ปฏิกิริยาภูมิแพ้
ภูมิแพ้เป็นปฏิกิริยาที่ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอม (ที่เรียกว่าสารเร้าภูมิแพ้) และแสดงออกมาในหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น เป็นผื่น บวม เป็นหืด น้อยรายที่จะพบว่าหมดสติหรือถึงขั้นเสียชีวิต สารเร้าภูมิแพ้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ละอองเกสรดอกไม้ และพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ในส่วนนี้จะกล่าวเฉพาะเรื่องการแพ้อาหารและยาเท่านั้น

การแพ้อาหาร
การแพ้อาหารอาจเป็นอาการภูมิแพ้ที่มีคนเข้าใจผิดมากที่สุด คนอเมริกัน 2 ใน 5 คน คิดว่าตัวเองแพ้อาหารบางอย่าง แต่มีไม่ถึงร้อยละ 1 ที่จะแพ้อาหารจริง ๆ ร้อยละ 90 ของการแพ้อาหารเกิดจากโปรตีนในนมวัว ไข่ขาว ถั่วลิสง ข้าวสาลี หรือถั่วเหลือง ลูกไม้ต่าง ๆ หอย ข้าวโพด ถั่ว สีย้อมอาหารสีเหลืองเบอร์ 5 แต่อาการที่คนเข้าใจผิดมานานคือช็อกโกแลต (โดยเฉพาะเด็ก) ซึ่งแท้จริงแทบไม่มีผลทำให้เป็นภูมิแพ้เลย

สัญญาณเตือนและอาการแพ้อาหารมีดังต่อไปนี้
- ปวดท้อง ถ่ายเหลว คลื่นไส้ หรืออาเจียน
- เป็นลม
- เป็นลมพิษ ผิวหนังบวมหรือผิวหนังอักเสบออกผื่น (เอ๊คซีมา)
- ริมผีปาก ตา ใบหน้า ลิ้น และคอ บวม
- คัดจมูกและเป็นหืด

การดูแลรักษาตนเอง
- การหลีกเลี่ยงคือการป้องกันที่ดีที่สุด
- เลือกกินอาหารชนิดอื่นที่ไม่แพ้ แต่ต้องได้คุณค่าสารอาหารครบถ้วนเท่ากันด้วย
- ถ้าเคยมีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอยาแก้แพ้ไว้ติดตัวยามฉุกเฉิน ติดแผ่นหรือป้ายชื่อบอกไว้ที่
  ข้อมือหรือทำเป็นที่ห้อยคอเพื่อให้คนช่วยเหลือได้ทัน
- เรียนรู้วิธีช่วยชีวิตเบื้องต้น และสอนให้เพื่อนและคนอื่นในครอบครัวได้รู้ด้วย

พบแพทย์
อาการแพ้อาหารสามารถวินิจฉัยตามวิธีทางการแพทย์ได้ดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 1 จดอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นเมื่อไร เมื่อกินอะไร หรือกินไปมากน้อย แค่ไหนจึงเกิดอาการแพ้อาหาร แล้วคนในครอบครัวคนอื่น ๆ มีใครที่แพ้ด้วยบ้าง
ขั้นที่ 2 จดรายการอาหารทุกวันเพื่อดูพฤติกรรมการกิน อาการที่เกิดขึ้น และการใช้ยาต่าง ๆ
ขั้นที่ 3 ตรวจร่างกาย
ขั้นที่ 4 ทดสอบด้วยการสะกิดที่ผิวหนังโดยการใช้สารสกัดจากอาหาร และการตรวจเลือด เพื่อวัดสารภูมิคุ้มกันชนิดอี (IgE: Immunoglobulin E) แต่ไม่มีวิธีไหนที่จะได้ผล
ขั้นที่ 5 การกำจัดอาหารทีละอย่าง เป็นวิธีทดสอบมาตรฐานเพื่อเชื่อมโยงอาการแพ้กับอาหารบางอย่าง แต่ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงมาก

ถ้าเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้อ่อน ๆ แพทย์จะสั่งยาแก้แพ้หรือครีมทาผิวให้ผู้ป่วย

ข้อควรระวัง
ปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรงแบบแอนาฟิแล็กซิส หรือโรคหืดแบบเฉียบพลัน เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่อันตรายมาก เพราะมีผลถึงชีวิต แม้จะพบไม่บ่อยกันก็ตาม เพราะส่วนใหญ่มักจะเป็นแค่ลมพิษและผื่น ทั้งนี้ภาวะทุโภชนาการและการเป็นโรคต่าง ๆ ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงก็มีทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

การดูแลเด็ก
เด็กมีโอกาสแพ้อาหารมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 10 เท่า เด็กที่ระบบย่อยอาหารเจริญเต็มที่จะดูดซึมอาหารที่แพ้ได้น้อยลง เด็ก 6 ขวบขึ้นไปจะเริ่มแพ้นม ข้าวสาลี และไข่น้อยลง แต่ภูมิแพ้แบบรุนแรงที่เกิดจากถั่วและหอยชนิดต่าง ๆ จะเป็นอยู่ตลอดชีวิต

การแพ้ยา
คนแพ้ยาได้เกือบทุกชนิด ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่พบได้บ่อยนัก อาการอาจมีตั้งแต่น่ารำคาญเล็กน้อยจนเป็นผลถึงชีวิต อาการบางอย่าง (เช่น เป็นผื่น) เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้จริง แต่อาการอื่น ๆ มักเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่า เช่น อาการปากแห้งหรืออ่อนเพลีย หรือบางครั้งก็เป็นผลจากพิษยาโดยตรง เช่น อาการตับถูกทำลาย เป็นต้น ทว่าหลายอาการก็บอกไม่ได้ว่าเกิดเพราะสาเหตุอะไร แต่แพทย์จะช่วยพิจารณาให้คุณได้ว่าเป็นปฏิกิริยาจากอะไร และควรทำต้องทำอย่างไรต่อไปบ้าง

เพนิซิลลินและยาชนิดอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน คือสาเหตุของการแพ้ยาที่พบมากที่สุด อาการมีตั้งแต่เป็นผื่นเล็กน้อย เป็นลมพิษ จนถึงเป็นภูมิแพ้อย่างรุนแรงแบบแอนาฟิแล็กซิส แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแค่ผื่นขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น

ยาที่คนแพ้บ่อย ๆ ได้แก่ ยาซัลฟา ยานอนหลับในกลุ่มบาร์บิทูเรต ยาแก้ลมชัก อินซูลิน และยาชาเฉพาะที่ ยาทั้งหมดนี้ปกติมีประโยชน์และใช้ได้ดี มีผลกระทบกับคนกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น ถ้าใช้แล้วไม่เป็นไรก็ไม่ต้องหยุด นอกจากนี้เรายังพบว่าหลายคนแพ้สารประกอบไอโอดีนสีทึบแสงที่ใช้เอกซเรย์ด้วย

อาการแพ้แอสไพรินแม้จะไม่ได้เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้โดยตรง แต่ก็ทำให้เข้าใจผิดได้ไม่ยาก และอาการอาจจะรุนแรง

สัญญาณเตือนและอาการแพ้ยามีดังต่อไป
- หายใจลำบาก หายใจแล้วมีเสียงหวีดตามมา
- เป็นผื่น ลมพิษ และคันตามร่างกาย
- หมดสติ

การดูแลรักษาตนเอง
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่แพ้
- ถ้าเคยมีอาการแพ้ยาบางอย่างรุนแรง ควรต้องรู้จักชื่อยาอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกันด้วย
- สวมป้ายเตือนแบบสร้อยคอหรือแบบสร้อยข้อมือบอกรายละเอียดว่าคุณแพ้ยาอะไรบ้าง
- บอกให้แพทย์ทุกคนทราบว่าคุณแพ้ยาอะไรบ้างก่อนสั่งยาทุกครั้ง
- แจ้งอาการให้แพทย์ทราบ บางครั้งอาจเป็นอาการแพ้หลังจากหยุดยาไปแล้วหลายวัน
- พกยาแก้แพ้ติดตัวไปด้วยเมื่อออกจากบ้าน

พบแพทย์
อาการคนที่แพ้ยาทั่วไปคือ เป็นผื่น คัน และเป็นลมพิษ ซึ่งใช้ยาแก้แพ้หรือยาคอร์ติโซน บำบัดได้ แต่ส่วนใหญ่รักษาให้หายขาดไม่ได้ ยกเว้นกรณีแพ้เพนิซิลลิน บางรายอาการแพ้จะน้อยลงมากจนแทบไม่มีเลย วิธีที่แพทย์ใช้คือ ค่อย ๆ ให้ยาเพิ่มขึ้นทีละน้อยอย่างช้า ๆ จนภูมิต้านทานคุ้นชินกับยา และไม่แสดงปฏิกิริยาอีกต่อ











ขอขอบคุณที่มา : http://www.halalthailand.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ