เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ความปวดที่แตกต่าง


 

                ขณะที่ ฌอน ลีไวน์ นักประสาทวิทยาคลินิก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟราสซิสโก กำลังทำการทดลองเรื่องฤทธิ์ของยาระงับปวดในคนไข้ที่ได้รับการผ่าฟันคุด เขาก็ได้สังเกตเห็นอะไร
บางอย่างที่คาดไม่ถึง โดยพบว่า เมื่อคนไข้ผู้หญิงมีอาการปวดตื้อๆ ยาระงับปวดอย่างแรงที่เข้ามอร์ฟีนเรียกว่า Kappa-opioids จะได้ผลดีที่สุด แต่ยากลุ่มเดียวกันนี้กลับไม่สามารถช่วยคนไข้ชายให้หายปวดได้ บางรายยังกลับรู้สึกแย่ลงเสียอีก


                ความแตกต่างของการตอบสนองที่แทบจะตรงกันข้ามนี้เป็นเรื่องที่น่าตกใจไม่น้อย ทำไมถึงต้องตกใจด้วยล่ะ นั่นก็เป็นเพราะว่าการระงับความเจ็บปวดด้วยยานี้เป็นวิธีการที่ใช้กันมานานเป็นสิบๆ ปี โดยคิดว่ายาแก้ปวดก็ต้องทำให้ทุกๆ คนหายปวดหมด ถ้าใครยังโอดครวญก็มักจะมองว่าเป็นเรื่องของใจ แบบวิตกกังวลเกินไปหรืออะไรทำนองนั้น ไม่มีใครคิดว่าความแตกต่างทางเพศมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับยาแต่ละตัวด้วย


                ความแตกต่างนี้ไม่ได้เกิดกับยาในกลุ่มที่เข้ามอร์ฟีนเท่านั้น ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ก็มีรายงานว่า ยาไอบูโพรเฟน ซึ่งเป็นยาต้านการอักเสบและแก้ปวดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนั้นใช้ได้ผลกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์พบว่า เมื่อทำการทดลองโดยใช้กระแสไฟฟ้าอ่อนๆ กระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดแล้วใช้ยาไอบูโพรเฟนในการระงับปวด ปรากฏว่าได้ผลเฉพาะในผู้ชายเท่านั้น แม้ยังมีการศึกษาไม่


                 การค้นพบของลีไวน์นี้มีมาตั้ง 5 ปีแล้ว แต่ความรู้ที่เรามีก็ยังไม่มากพอที่จะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ความรู้เรื่องความแตกต่างระหว่างเพศนี้ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย ดังนั้นการสั่งจ่ายยาก็ยังเหมือนเดิม การศึกษาทดสอบเรื่องของความเจ็บปวดในแง่มุมต่างๆ ก็ยังคล้ายๆ เดิม มารีเอตต้า แอนโทนี นักเภสัชวิทยา ซึ่งประจำอยู่ที่ศูนย์วิจัยจอร์จทาวน์เจเนอรอลก็เพิ่งจะเข้าใจว่าทำไมตัวเองจึงใช้ยาไอบูโพรเฟนแล้ว ไม่เห็นหายปวดเลย ความรู้ใหม่นี้ต้องมีผลกระทบอย่างมากต่อการทำงานในคลินิกแน่ๆ


                แต่ไหนแต่ไรมาเรามีภาพของความแตกต่างเรื่องความเจ็บปวดในเพศชายและหญิงอย่างนี้เสมอ คือ ผู้หญิงเป็นอะไรที่บอบบางแต่สามารถทนความเจ็บปวดในการคลอดบุตรได้ ส่วนผู้ชายก็แข็งแรงบึกบึน ยกเว้นยามไปพบทันตแพทย์เท่านั้น (บางคนถึงกับเป็นลมแน่ะ ขอบอก) ทำไมจึงมีข้อยกเว้นอย่างนู้นอย่างนี้ การศึกษาทางชีวเคมีของกลไกความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในเพศชายและหญิงจะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องนี้ รวมไปถึงเรื่องผลที่แตกต่างกันของยาแก้ปวดได้ดีขึ้น


                ทำไมความแตกต่างระหว่างเพศกับความเจ็บปวดจึงเหลือรอดไม่ได้ทำการศึกษามาจนป่านนี้ เหตุก็เพราะว่าความเจ็บปวดนั้นเป็นเรื่องของความรู้สึก มีหลายมิติและมีปัจจัยที่มีอิทธิพลเกี่ยวข้องหลายต่อหลายอย่างทั้งอายุ อาหาร ความเครียด พื้นฐานพันธุกรรม ตำแหน่งที่ทำการทดสอบ
ประสบการณ์ของความเจ็บปวดในอดีตและปัจจุบัน และระยะเวลาในวงรอบประจำเดือนของผู้หญิง เห็นแล้วก็น่าปวดหัว ช่างเป็นงานที่ยุ่งยากเหลือหลายจริงไหมล่ะท่าน


                ยังไม่หมดแค่นั้น ในช่วงสิบปีมานี้ การทดสอบยาต่างๆ มักจะทำการทดสอบในผู้ชายเนื่องจากผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้แปรผลการทดลองยาก บางท่านรับประทานยาคุม (ซึ่งก็เป็นฮอร์โมน) บางท่านก็อาจตั้งครรภ์โดยที่ไม่ทราบ (ห้ามทำการทดสอบยากับหญิงมีครรภ์ เพราะ
อาจมีผลต่อทารก) ดังนั้นการทดสอบในผู้ชายจึงสะดวกกว่าเป็นไหนๆ


                ใน พ.ศ. 2536 สหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้การทดสอบยาต่างๆ ต้องมีผู้เข้ารับการทด-สอบที่เป็นหญิงด้วย ก็ปรากฏว่ามีผู้เข้ารับการทดลองที่เป็นหญิงถึง 52% แต่พอไปพิจารณากันจริงๆ แล้วก็พบว่าการทดลองพวกนี้มักเป็นการทดลองฮอร์โมนหรือยาที่ใช้รักษามะเร็งเต้านม ส่วนการทดลองอื่นๆ ที่ทดสอบโรคที่เป็นกันได้ทั้งชายและหญิงก็ไม่ได้แยกประเมินผลตามเพศ ซึ่งแทบไม่ทำให้มีอะไรแตกต่างไปจากเดิมเลย


                สำหรับมารีเอตต้า แอนโทนี รักษาการณ์ผู้อำนวยการกองสุขภาพสตรี องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) กล่าวว่า ถ้าประสิทธิภาพและผลข้างเคียงต่างๆ ของยามีความแตกต่างกันในระหว่างเพศจริง ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องแสดงไว้ที่ฉลากให้ชัดเจนด้วย


                ชายและหญิงจะมีสาเหตุของความปวดต่างๆ กันไป เช่น ผู้ชายมักจะปวดหลัง หรือปวดจากโรคของตับอ่อน เป็นต้น ในขณะที่ผู้หญิงมักจะมาด้วยอาการปวดศีรษะ ไมเกรน หรือปวดจากโรคของถุงน้ำดี เนื่องจากสรีระและฮอร์โมนของชายและหญิงนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นอาการปวดในบริเวณเดียวกันก็อาจจะมีที่มาต่างกัน บางครั้งเกิดจากตัวปัญหาเดียวกัน แต่การสื่อสัญญาณเคมี การแปรผลในสมองก็แตกต่างกันไปในระหว่างเพศด้วย


                ฮอร์โมนเพศเป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เกิดการตอบสนองที่แตกต่าง เราพบว่า ไม่ว่าจะทำการ
ทดสอบในคลินิกหรือห้องทดลอง ใช้แสงเลเซอร์ทำให้เกิดความร้อน ใช้แรงกดหรือการใช้กระแสไฟฟ้า ผู้หญิงจะร้อง “อุ๊ย” หรืออะไรทำนองนั้นเสมอ และก็ทนความเจ็บปวดได้น้อยกว่า นอกจากนั้นความไวต่อความเจ็บปวดของผู้หญิงคนเดียวกันก็ไม่คงที่ ยิ่งตอนใกล้ๆ จะมีรอบเดือนความอดทนก็จะยิ่งต่ำ


                โรเจอร์ ฟิลลิงยิม มหาวิทยาลัยฟลอริดา เมืองเกนสวิลล์ อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า น่าจะเป็นเพราะเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง เราเชื่อว่าเอสโตรเจนเป็นตัวกระตุ้นและจะช่วยเสริมการส่งสัญญาณความเจ็บปวดระหว่างสมอง ไขสันหลังและปลายประสาทรับความรู้สึกต่างๆ ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น


                ส่วนโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมน เพศชายจะให้ผลตรงกันข้าม โดยจะทำให้เส้นประสาทตอบสนองต่อความเจ็บปวดน้อยลง ปรากฏการณ์นี้จะเห็นชัดในช่วงตั้งครรภ์ เมื่อถึงช่วงสาม
เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนโปรเจส เตอโรน จะพุ่งสูงขึ้นและทำให้รู้สึกเหมือนได้รับยาแก้ปวดอย่างแรงเพื่อสู้กับความเจ็บปวดในขณะคลอด นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมผู้หญิงที่แสนจะเปราะ
บางจึงทนความเจ็บปวดขณะคลอดได้


                ลีไวน์เป็นคนแรกๆ ที่สังเกตเห็นเรื่องผลของฮอร์โมนเพศนี้ คณะศึกษาของเขาพบว่าหลังผ่าฟันคุด ผู้หญิงจะบอกว่ารู้สึกเจ็บ-ปวดมากกว่าผู้ชายเสมอ อาการปวดที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นผลเนื่องมาจากการอักเสบ ดังนั้น ลีไวน์จึงตั้งสมมติฐานว่าการส่งสัญญาณของการอักเสบในชายและหญิงแตกต่างกัน และทำการทดลองโดยใช้เอสโตรเจนในหนูตัวผู้ (rat) แล้วก็พบว่าความทนทานต่อความเจ็บปวด
ของมันตกลงมาอยู่ในระดับเดียวกับหนูตัวเมีย แล้วก็ทำการทดลองให้เทสโทสเทอโรน


               เมื่อทำหมันหนูตัวเมีย ก็ได้ผลว่ากล้ามเนื้อมีความทนทานมากขึ้น เราก็จะเห็นได้ว่าถ้าฮอร์โมนเพศเปลี่ยนแปลงไป ความทนทานต่อความเจ็บปวดก็เปลี่ยนไปด้วย


                เมื่อศึกษาให้ลึกในระดับชีวเคมี จะพบว่าฮอร์โมนเพศมีผลต่อสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้อง
กับการอักเสบและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ยับยั้งการสร้างแบรดี้ไคนิน อันเป็นสารสำคัญในกระ- บวนการอักเสบ ซึ่งลีไวน์เชื่อว่าสามารถใช้เป็นตัวอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีอนุพันธ์ของฝิ่นได้


                อีกสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงเจ็บปวดง่ายกว่าผู้ชายก็คือ ความสามารถในการพูด นอกจากผู้หญิงจะคุยเก่งแล้ว เหล่าเครื่องในของคุณเธอก็ยังสื่อสารกันได้อีกด้วย ดังนั้นความเจ็บปวดจึงสามารถเป็นความรู้สึกร่วมเมื่อมีอวัยวะหนึ่งปวด อีกอวัยวะหนึ่งก็ปวดตามได้ มาเรีย เอ-เดล จีอัมเบอราดีโน แห่งมหาวิทยาลัยเชติ อิตาลี เป็นคนแรกที่ค้นพบความสามารถในการคุยกันของลำไส้ของสาวๆ ที่เป็นนิ่วในไต โดยพบว่าในช่วงที่มีอาการปวดท้องขณะมีรอบเดือน ก็มักจะมีอาการปวดหลังเนื่องจากนิ่วมากขึ้นด้วย

                การค้นพบของจีอัมเบอราดีโนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความเจ็บปวด ในคลินิก เราจะพบว่าผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรัง เช่น ปวดท้องจากความเครียด (irritable bowel syndrome) มักจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อ (fibromyalgia) ปวดศีรษะ และปวดในอุ้งเชิงกราน (chronic pelvic
pain) ร่วมด้วย แต่ความปวดทั้งหลายก็จะรุนแรงในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอีกนั่นแหละ จากสมมติฐานการเชื่อมโยงความเจ็บปวดของอวัยวะต่างๆ ที่มีเส้นประสาทเชื่อมต่อกันก็สามารถนำมาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นก็ยังน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาได้ โดยการลดอาการปวดอันใดอันหนึ่งในวงจรก็น่าจะทำให้อาการปวดอื่นๆ ทุเลาลงด้วย


                 เบเวอร์ลี วิปเพิล นักประสาทสรีรวิทยาและพยาบาลแผนกสูตินรีเวชจากมหาวิทยาลัยรัทเจอร์ส นิวเจอร์ซี พบว่าเราสามารถนำเรื่องของความแตกต่างในระบบสืบพันธุ์มาใช้อธิบายอิทธิพลของอาหารกับความเจ็บปวดได้ด้วย เธอสังเกตเห็นว่าสาวละติน หรือสเปนมักจะเจ็บปวดเวลาคลอดมากกว่าคนเชื้อสายอื่น แรกๆ ก็คิดว่าเป็นไปตามวัฒนธรรม คือเป็นกลุ่มที่มีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างเปิดเผยอยู่แล้วตามปกติ พอเวลาปวดท้องคลอดก็เลยโวยวายมากหน่อย แต่แล้วก็ได้เห็นผลการทดลองในหนูแรกคลอดที่ได้รับการฉีดแคปไซซิน (สารให้รสเผ็ดในพริก) แล้วทำให้กลไกระงับปวดเมื่อกดที่ปากมด- ลูกเสียไป ก็เลยสงสัยว่าอาหารที่อุดมไปด้วยพริกขัดขวางกระบวนการระงับปวดตามธรรมชาติหรือไม่ และเธอก็ได้ทำการศึกษาโดยคัดเลือกหญิงเม็กซิกันที่มีความถี่ในการบริโภคพริกต่างๆ กันตั้งแต่ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ไปจนถึงวันละ 3 มื้อแล้วก็พบว่าอาหารเผ็ดจัดทำให้กลไกระงับปวดถูกขัดขวางจริงๆ


                ความแตกต่างทางกายภาพไม่ได้อยู่ที่ระบบสืบพันธุ์และฮอร์โมนเท่านั้น แต่อยู่ที่สมอง
ด้วย แอนโทนี โจนส์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยความเจ็บปวดของมนุษย์ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ได้ทำการสแกนสมองของผู้ที่ได้รับความเจ็บปวดด้วยเหตุต่างๆ ตามธรรมชาติ และพบว่ามีการตอบสนองของสมองอยู่หลายจุด แต่มีบริเวณหลักอันหนึ่งที่แตกต่างกันในผู้ชายและผู้หญิง เขาพบว่าผู้หญิงจะแปรผลความเจ็บปวดในสมองส่วนที่ควบคุมความสนใจและอารมณ์ นั่นคือยิ่งใส่ใจมากก็จะยิ่งรู้สึกเจ็บมาก ดังนั้นการจัดการกับความเจ็บปวดในผู้หญิงก็ควรจะต้องมีการเบี่ยงเบนความสนใจ การปลอบประโลมและไซโคไปด้วยก็จะได้ผลดีสามารถลดความเจ็บปวดได้


                การเบี่ยงเบนความสนใจก็มีบทบาทในผู้ชายด้วยแต่เป็นไปคนละทางกัน ตามบทบาทที่
สังคมกำหนด เกิดเป็นผู้ชายต้องอดทน ในการทดลองหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เฟร-ดริก ลีไวน์ และ ลอรา ลีเดอ ซิโมน พบว่าระดับความทนทานต่อความเจ็บปวดของผู้ชายจะสูงขึ้นถ้าผู้ทำการทด
สอบเป็นหญิงสาวสวย แต่หนุ่มหุ่นทรมานใจสาวไม่ค่อยมีผลกับผู้หญิงในแง่นี้เท่าใดนัก ผลการทดลองนี้สอดคล้องกับผลของ น็อกซ์ ทอดด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินและรักษาความเจ็บปวดที่
มหาวิทยาลัยอีมอรีในแอตแลนตา เขาพบว่าคนไข้ผู้ชายชอบวางมาดเข้มตอนอยู่ที่โรงพยาบาล ไม่
ค่อยยอมขอยาแก้ปวดหรอก แต่พอกลับไปถึงบ้านไม่มีใครเห็นแล้วมาดเข้มก็ละลาย


                 การมีความทนทานต่อความเจ็บปวดมากๆ นี่ดีหรือไม่ ความจริงก็ไม่ค่อยมีประโยชน์มากนัก ผู้หญิงมักจะรักษาอาการเจ็บป่วยตั้งแต่เป็นน้อยๆ ก่อนที่โรคจะลุกลามใหญ่โตและมีผลทำให้ผู้หญิงมีอายุยืนกว่า เราจึงอยากจะบอกกล่าวแก่คุณผู้ชายทั้งหลายว่า ถ้ามีอาการเล็กๆ น้อยในปาก เช่น เสียวฟันหรือปวดฟันก็จงรีบไปหาหมอฟันซะก่อนที่จะเจ็บปวดใหญ่โตหรือถึงกับบวม คำเตือนสำหรับคุณ
ผู้หญิงก็มีเหมือนกัน สำหรับหญิงมีครรภ์ ทานเผ็ดมากๆ ระวังอร่อยปากลำบากตอนคลอดนะจ๊ะ











ขอขอบคุณที่มา : โดย สมใจ สุขุมพันธนาสาร แปลและเรียบเรียงจาก His pain,
                          her pain, New Scientist 19 January 2002
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ