เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






แพทย์เตือนภัย ภาวะกระดูกพรุน




 

ภาวะ โรคกระดูกพรุน กำลังเป็นปัญหาหนัก คุกคามประชากรทุกเพศ ทุกวัย สถิติองค์การอนามัยโลกทุก 30 วินาที จะมีผู้ป่วยที่กระดูกหักจาก ภาวะโรคกระดูกพรุน ทั่วโลก 1 คน" น.พ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา ผู้อำนวยการแพทย์โรงพยาบาลวิภาวดี ผู้เชี่ยว ชาญด้านกระดูกและข้อ เตือนให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของกระดูกก่อนที่อวัยวะชิ้นนี้จะสึกกร่อนเป็นภัยในร่างกาย

ปัจจุบันมีคนไข้ โรคกระดูกพรุน มารักษาที่โรงพยาบาลเกือบทุกวัน ทั้งกระดูกสะโพกหัก ปวดหลัง หลังโกง เดินไม่ได้ ทั้งหมดเกิดจากสาเหตุภาวะ โรคกระดูกพรุน ทั้งสิ้น ปัญหานี้ไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นแต่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก มีการศึกษาค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ที่หักในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป เป็นเงินถึง 27,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน 1 ปี องค์การอนามัยโลกจึงให้ความสำคัญเรื่องภาวะกระดูกพรุน พยายามส่งเสริมการให้ความรู้สู่ประชาชน

น.พ.วีระยุทธกล่าวต่อว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะ กระดูกพรุน และหักง่าย คือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคไทรอยด์ ผู้ที่ป่วยเรื้อรัง ขาดสารอาหาร ขาดการออกกำลังกาย กินยาสเตีย รอยด์เป็นประจำ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือตัดรังไข่ ดื่มสุรา สูบบุหรี่เป็นประจำ ซึ่งผู้มีปัจจัยเสี่ยงแต่ไม่ระวังหรือหาทางป้องกัน หากได้รับอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น นั่งรถกระแทก โอกาสกระดูกหักก็มีสูงถึงร้อยละ 90

นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนจาก กระดูกหัก อาจรุนแรงถึงขั้นพิการเดินไม่ได้ หรือไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ แม้ความจริงกระดูกของคนเราจะหยุดเติบโตตั้งแต่อายุ 30 ปี แต่ความหนาแน่นของ
กระดูกสามารถสร้างขึ้นทดแทนการสึกกร่อนได้ตลอดเวลา ดังนั้นควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มี แคลเซียม นอกจากนี้การเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของกระดูกทุกปีถือเป็นการช่วยลดความเสี่ยงโรค











ขอขอบคุณที่มา : http://health.deedeejang.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ