เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ อ้วน-เตี้ย-ล่ำ

 

คุณพ่อคุณแม่มักจะกังวลเสมอเวลามีใครมาถามว่าทำไมถึงเลี้ยงลูกให้ผอม ทั้งที่ความจริงแล้วความอ้วนมีผลเสียหลายอย่าง นอกจากนี้ยังมีคำถามอีกว่าถ้าไม่อยากให้ลูกเตี้ยจะต้องเลี้ยงดูอย่างไร พ.ญ.อนุตรา โพธิกำจร ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบต่อมไร้ท่อในเด็ก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล มีคำแนะนำในงานสัมมนาเรื่อง "ไม่อยากให้ลูกอ้วน ไม่อยากให้ลูกเตี้ย จะเลี้ยงดูอย่างไร" ที่ชั้น 12
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ถ.สุขุมวิท 3

พ.ญ.อนุตรา กล่าวว่า เด็กที่อ้วนมักเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง ทั้งการรับประทานอาหารผิดประเภท หรือออกกำลังกายน้อย สังเกตเด็กอ้วนได้จากขาที่โก่ง เนื้อจ้ำม้ำ เนื้อมีรอยพับ เหนื่อยง่าย พอเข้าโรงเรียนก็มีปัญหาเพราะวิ่งก็เหนื่อย เล่นกับเพื่อนก็เหนื่อย นอกจากนี้ยังมีอาการนอนกรน หยุดหายใจเป็นพักๆ ซึ่งจะทำให้สมองขาดออกซิเจน นานๆ ไปจะทำหัวใจล้มเหลว

ผลเสียของความอ้วนก็คือการเป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง (คอเรสเตอรอล) และโรคความดันโลหิต บางคนคิดว่าพอเด็กโตขึ้นก็หาย แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะจะติดนิสัยพอโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะอ้วน พออายุมากก็จะเป็นโรคเบาหวานและโรคความดัน ดังนั้นเราต้องส่งเสริมนิสัยการกินอาหารกันตั้งแต่เด็ก

เริ่มจากเด็กแรกเกิด-6 เดือน ควรให้ดื่มนมแม่ดีที่สุด หลังจาก 6 เดือนแล้วสามารถเริ่มอาหารเสริมพวกข้าว หรือข้าวบด

อายุ 9 เดือนเพิ่มอาหารเสริมเป็น 2 มื้อ อายุ 1 ขวบเพิ่มอาหารเสริมเป็น 3 มื้อ โดยอาหารเสริมต้องมีคุณค่าสารอาหารครบ 5 หมู่ หลังจากนั้นก็ลดการดื่มนมให้น้อยลง พออายุครบ 1 ขวบอาหารจะเป็นมื้อเช้า กลางวัน เย็น และนมคือของว่างในมื้อสาย บ่าย ก่อนนอน วิธีนี้จะทำให้ลูกไม่มีเวลาไปกินขนม

คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามบอกลูกว่าการกินข้าวให้คาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ให้โปรตีน ผักให้วิตามินและแคลเซียม พูดไปเรื่อยๆ เดี๋ยวลูกจะเข้าใจเอง หากเขาขอกินขนมก็ให้ได้ในโอกาสพิเศษ แต่ถ้าลูกขอมากไปก็ต้องอธิบายให้เขาทราบถึงผลดีผลเสียของการกินขนม

นอกจากนี้พ่อแม่ต้องหัดใจแข็ง สอนให้ลูกรู้ว่าอะไรได้ อะไรไม่ได้ ไม่ใช่ลูกร้องไห้แล้วก็จะได้ทุกสิ่ง บางครั้งการมีญาติผู้ใหญ่ให้ท้ายก็เป็นผลเสีย พ่อแม่ควรอธิบายให้ท่านทราบ แต่หากยังไม่ประสบผลก็หันไปให้ข้อมูลกับลูกแทน เมื่อเขาโตขึ้นจะทราบเหตุผลเองว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี

สำหรับเด็กที่มีอาการอ้วนแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไข คือต้องสอนหรือบอกให้ลูกทราบ เช่น นมควรให้ดื่มเฉพาะนมจืด เวลาไปซื้อของต้องไปกับลูกเพื่อแนะนำให้เขาทราบถึงผลดีผลเสีย

มาถึงเรื่องความสูง คุณหมอแนะว่า "ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวกับความสูงของลูกคือกรรมพันธุ์ และวิธีการเลี้ยงดู คือต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ การปล่อยให้ลูกอ้วนในตอนแรกดูเหมือนจะทำให้ลูกสูงได้ แต่ความจริงแล้วจะทำให้การเจริญเติบโตของลูกชะงัก นอกจากนี้การออกกำลังกายก็สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น การนอนหลับอย่างเพียงพอก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเด็กๆ ควรนอนหลับแต่หัวค่ำ สำหรับอาหารเสริมนั้น หากลูกดื่มนมจืดวันละ 3 มื้อก็ไม่จำเป็นต้องกินแคลเซียม หัดกินผลไม้ให้มากก็ไม่จำเป็นต้องกินวิตามินใดเสริมเลย











ขอขอบคุณที่มา : http://health.deedeejang.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ