เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ดวงตา…กับภาวะเสี่ยงที่คุณคาดไม่ถึง

 

การที่คนเราจะสามารถมองเห็นสิ่งอันสวยงามบนโลกนี้ แน่นอนว่าจำเป็นจะต้องอาศัยอวัยวะสำคัญอย่างหนึ่ง นั่นคือดวงตาทั้งสองข้าง แต่เชื่อว่าคงมีอีกหลายคน ที่มองข้ามการให้ความสำคัญและใส่ใจดูแลรักษาเจ้าอวัยวะส่วนนี้ และที่สำคัญก็คือความเสื่อมและโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับ "หน้าต่างหัวใจ" ของเราทุกคน

ท่อน้ำตาตัน...หายได้ด้วยความใส่ใจจากพ่อแม่

นพ.ปกป้อง ปราณีประชาชน จักษุกุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโรคตาที่เกิดขึ้นได้ในวัยเด็กว่าโรคตาที่มักจะเกิดกับเด็กและพ่อแม่มักจะไม่ทราบก็คือ "ภาวะท่อน้ำตาตัน" อันภาวะของท่อน้ำตาที่ตามปกติจะเปิดเข้าสู่โพรงจมูกนั้นไม่เปิด ทำให้น้ำตาที่สร้างโดยต่อมน้ำตาเพื่อมาหล่อลื่นตานั้นเอ่อล้นออกมาให้เห็น โดยอาการนี้สามารถเป็นได้แต่แรกเกิด และเป็นอีกอย่างหนึ่งที่พ่อแม่ควรใส่ใจ ซึ่งจักษุกุมารแพทย์รายนี้แนะนำว่า ควรให้แพทย์ผู้ทำคลอดตรวจสอบดูแต่แรกๆ หรือหากไม่สะดวกก็นำลูกน้อยมาตรวจแต่เนิ่นๆเท่าที่จะทำได้ เพื่อรับคำปรึกษาและรับการรักษาหากพบภาวะดังกล่าว

"โดยมากเด็กที่ท่อน้ำตาตันนั้น 70% จะหายเอง 50-90% จะหายภายใน 6 เดือน และ 10% จะหายเองในหนึ่งปี แต่ก็มีอีกประมาณ 30% จะไม่หายใน 1 ปี ซึ่งสามารถรักษาหายได้ด้วยการนวดบริเวณท่อน้ำตา (บริเวณด้านข้างของดั้งจมูก ใต้หัวตา) ลูกผมเองก็เป็น ผมก็พยายามนวด ซึ่งโชคดีที่นวดแล้วหาย แต่ถ้านวดแล้วไม่หายต้องพามาพบแพทย์ ต้องรักษาด้วยการแยงท่อน้ำตา"

นพ.ปกป้องกล่าวต่อไปอีกว่า การแยงท่อน้ำตานั้น จำเป็นต้องทำหากเกิดกรณีเนื้อเยื่อที่ปิดท่อน้ำตานั้นแข็งเกินไปจนการนวดไม่สามารถช่วยได้ ซึ่งการแยงท่อน้ำตานี้หากทำก่อนเด็กอายุ 1 ขวบ จะมีโอกาสหายประมาณ 80% แต่ถ้าเด็กอายุ 2 ขวบ จะมีโอกาสหาย 50-50 แต่ถ้ารักษาตอนโตจะค่อนข้างลำบากและมีโอกาสหายยาก ดังนั้นพ่อแม่จึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ดวงตาของลูกน้อยแต่เนิ่นๆ หากคิดว่ามีอะไรผิดปกติต้องรีบนำมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

ลูกตาก็เป็นมะเร็งได้!!!

จักษุกุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน ยังให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า นอกจากภาวะท่อน้ำตาตันแล้ว อีกหนึ่งความน่ากลัวที่แม้จะไม่ได้พบบ่อยเมื่อมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องพึงรับรู้เอาไว้ว่า ที่ดวงตาก็เป็นมะเร็งได้เหมือนกัน!!!

ทั้งนี้ "มะเร็งจอประสาทตา" หรือ Retinoblastoma ว่าเป็นมะเร็งที่พบมากในเด็ก ซึ่งเด็กที่โชคร้ายเป็นโรคดังกล่าวส่วนใหญ่จะพบตอนอายุประมาณ 5 ขวบ ซึ่งก่อนหน้านี้จะมีอาการบ่งชี้ความน่าจะเป็นที่พ่อแม่
สามารถสังเกตได้ก็คือ ตาเหล่และตาวาว หากพ่อแม่สังเกตว่าในเวลากลางคืนหรือเวลาถ่ายรูปใช้แฟลชแล้วในตาดำของลูกเป็นสีเรืองๆ วาวๆ เหมือนตาแมวนั้น ควรนำมาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่เนิ่นๆ เป็นดีที่สุด เพราะหากมาเร็วมากเท่าใด โอกาสจะรักษาดวงตาเอาไว้ก็มีมากเท่านั้น แต่หากมีเซลล์มะเร็งมากจนเกินกว่าจะเก็บลูกตาเอาไว้ก็จำเป็นจะต้องเอาออกเพื่อมิให้เซลล์มะเร็งลามไปที่ส่วนอื่นๆ

ตาเพลีย" ใช้ตาน้อยก็มีสิทธิ์บอด!

ภาวะที่จำเป็นต้องใส่ใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ตาเพลีย" หรือ "ตาขี้เกียจ" (Amblyopia) อันเกิดจากภาวะการมองเห็นที่ผิดปกติ แต่ไม่ได้เป็นโรค คือแพทย์จะตรวจไม่พบความผิดปกติใดๆ ภายในโครงสร้างของดวงตา เพียงแต่เป็นภาวการณ์ใช้ดวงตาไม่เท่ากัน คือข้างหนึ่งได้ใช้เป็นปกติแต่อีกข้างไม่ถูกใช้ ทำให้ข้างที่ไม่ได้ใช้ไม่พัฒนาจนไม่สามารถใช้การได้

"ตัวอย่างของตาขี้เกียจหรือตาเพลียนี่ ง่ายๆ ก็คือเช่น การมีสายตาไม่เท่ากัน เช่นข้างหนึ่งปกติ แต่อีกข้างสั้น 2000 ซึ่งเราจะไม่รู้เลยว่าลูกเป็นตาขี้เกียจ เพราะเขามีตาดีข้างหนึ่งที่เห็นชัดเป็นปกติ เวลาเขามองอะไรเขาก็จะใช้ตาข้างที่ดีมอง ซึ่งก็มองเห็นปกติทุกอย่าง ซึ่งปัญหามันจะเริ่มเกิดตรงที่เด็กจะใช้ตาแค่ข้างเดียว อีกข้างไม่ได้ใช้ ทำให้การพัฒนาของดวงตาไม่เท่ากัน ตาที่ไม่ได้ถูกใช้จะไม่พัฒนา ซึ่งอาจจะทำให้มัวหรือใช้การไม่ได้อีกเลย" นพ.ปกป้องกล่าว

แต่หากพ่อแม่รู้ตัวเร็วก็ใช่ว่าจะไม่มีทางรักษา ซึ่งการรักษานี่ก็ง่ายเหลือเชื่อ และเด็กก็ไม่ต้องเจ็บตัวเหมือนการรักษาแบบอื่นๆ เพียงแค่แก้ให้ตรงจุด คือหากเป็นเพราะการไม่ได้ใช้ดวงตาเพราะความผิดปกติทางสายตา แพทย์ก็จะแนะนำให้สวมแว่น แต่หากเป็นเพราะไม่ใช้ดวงตา แพทย์ก็จะปิดตาข้างที่ดี เพื่อจะให้เด็กได้ใช้ตาข้างที่ไม่ได้ใช้ เพื่อให้การพัฒนาดวงตาสมดุลกันทั้งสองข้าง

ตะกอนน้ำวุ้น ปล่อยไว้อันตราย

รู้เรื่องภาวะเสี่ยงของดวงตาเด็กกันไปแล้ว ทีนี้ลองรับฟังข้อมูลภาวะเสี่ยงของผู้ใหญ่กันบ้าง นพ.นพรัตน์ สุจริตจันทร์ อีกหนึ่งจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน เปิดเผยภาวะเสี่ยงที่พบในวัยผู้ใหญ่ว่า มีทั้งเกิดจากธรรมชาติของวัย เช่น สายตายาวตามอายุ , เปลือกตาตก ภาวะผิดปกติอันพบได้บ่อย เช่น ตาสั้น ยาว เอียง หรือผิดปกติจากโรคที่ป่วย ซึ่งที่น่าสนใจและไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เช่น ตะกอนน้ำวุ้น เป็นต้น

"ภาวะผิดปกติตามวัยอย่างสายตายาวตามอายุนั้นพบบ่อยในผู้ที่เริ่มสูงอายุ ที่สายตาปรับยาวขึ้น ทำให้มองไกลชัดแต่มองใกล้ไม่ชัด ซึ่งแก้ด้วยการสวมแว่นเวลาจะมองอะไรใกล้ๆ เช่นอ่านหนังสือ ซึ่งการรักษาในขณะนี้ไม่สามารถปรับสายตากลับมาให้ชัดเหมือนเดิมได้ แต่ทำได้ให้ชัด 1 ข้าง สำหรับการมองใกล้ และชัด 1 ข้างสำหรับการมองไกล ด้วยการรักษาด้วยเลเซอร์ที่เรียกว่า Monovision ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องพึ่งพาแว่นตาในชีวิตประจำวัน แต่ก็อาจจะต้องใส่บ้างขณะขับรถ" นพ.นพรัตน์ให้ข้อมูล

นอกจากนี้จักษุแพทย์รายนี้ยังกล่าวถึงภาวะเสี่ยงที่น่าสนใจอีกแบบก็คือ "ตะกอนน้ำวุ้น" คือตามปกติแล้วน้ำวุ้นในลูกตาของคนเราจะแข็งและคงรูปเหมือนเจลลี่ แต่เมื่อเกิดความเสื่อมของร่างกายเช่นอายุมากขึ้น น้ำวุ้นในตาจะละลายทำให้เจ้าของดวงตาเห็นเป็นจุดแว๊บเล็กๆ ไหลไปไหลมาอยู่ในดวงตา ถ้าไม่ใส่ใจและปล่อยทิ้งไว้ 2 - 3 สัปดาห์อาจเกิดรูที่จอประสาทตา และหากไม่รักษาอาจทำให้ตาบอดได้

ต้องรู้จักถนอมดวงตา

อย่างไรก็ตาม การบำรุงรักษาดวงตาก็เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กัน นพ.นพรัตน์กล่าวถึงสภาพการใช้ดวงตาอย่างสมบุกสมบันของคนรุ่นใหม่โดยที่ละเลยการบำรุงรักษาไปว่า ปัจจุบันไลฟ์สไตล์ของคนในวัยทำงานส่วนใหญ่มีแนวโน้มของการใช้คอมพิวเตอร์ที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในช่วงเวลาของการทำงานกว่า 8 ชั่วโมงในแต่ละวัน และการผ่อนคลายโดยการท่องอินเทอร์เน็ตภายหลังเลิกงาน ทำให้ดวงตาต้องรับบทหนักเพราะถูกใช้อย่างสมบุกสมบัน

"ต้องทำความเข้าใจว่าการใช้สายตามากๆ ไม่ได้ทำให้ตาบอดหรือเสียหาย แต่จะทำให้ตาปวดเมื่อยทรมาน แต่อาการเหล่านี้สามารถจะรักษาให้หายได้ด้วยตนเองด้วยการพักสายตา หรือตรวจสอบความเหมาะสมของเครื่องมือและอุปกรณ์ คือถ้าจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์นานๆ จำเป็นต้องดูความเหมาะสมของการวางเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสูงของโต๊ะวาง และความสูงของเก้าอี้ที่นั่ง ควรให้คอมพิวเตอร์ต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย เพราะการมองคอมพิวเตอร์ หากให้คอมพิวเตอร์อยู่สูงเกินไปและลูกตาต้องมองสูงขึ้น ลูกตาจะต้องปรับกว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้สายตาทำงานหนักกว่ามองต่ำลงมา"

ใช้คอนแทกเลนส์ต้องรักษาความสะอาด

ถึงตรงนี้คงมีอีกไม่น้อยที่มีปัญหาเรื่องสายตาสั้น ที่ใช้ "ปัจจัยที่5" ของคนสายตาสั้น ก็คือเจ้า "คอนแท็กเลนส์" ว่าหากใช้ไปนานๆ จะมีอันตรายใดๆ หรือไม่ และมีวิธีบำรุงรักษาดวงตาที่สวมคอนแท็กเลนส์อย่างไร

นพ.นพรัตน์แนะนำว่า ทุกวันนี้เทคนิคของการผลิตคอนแท็กเลนส์และน้ำยาล้างคอนแท็กเลนส์นั้น มีการพัฒนาก้าวไกลไปกว่าเดิมมาก คือมีให้เลือกใส่ทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ส่วนน้ำยาที่เมื่อก่อนต้องใช้น้ำยาถึง 3 แบบในการล้างคอนแทกเลนส์แต่ละครั้ง แต่เดี๋ยวนี้ก็พัฒนาให้สะดวกขึ้นด้วยส่วนผสมที่สามารถล้างได้ด้วยน้ำยาเพียงตัวเดียว ทำให้การใช้คอนแทกเลนส์แพร่หลายในหมู่ผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้นเป็นอย่างมาก เพราะทั้งสะดวกและเสริมบุคลิกภาพคือทำให้ไม่ต้องสวมแว่นแบบเมื่อก่อน

"ถามว่าใส่ได้นานแค่ไหน คือถ้าใส่แล้วไม่แพ้ผมคิดว่าก็สามารถใช้ได้ติดต่อกันไปเรื่อยๆ ตามความต้องการ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดก็คือความสะอาดและสุขอนามัยของการใช้ คือต้องรักษาความสะอาดให้ดีเพราะคอนแท็กเลนส์เป็นอุปกรณ์ที่อยู่ภายในดวงตา หากไม่สะอาดจะติดเชื้อได้ง่ายมาก"

นพ.นพรัตน์ได้ให้คำแนะนำต่ออีกว่า การสวมคอนแทกเลนส์นานๆ ในบางคนอาจจะทำให้เกิดอาการตาแห้ง ควรมีน้ำตาเทียมเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาติดกระเป๋าเอาไว้เพื่อหยอดในเวลาที่รู้สึกตาแห้ง ซึ่งสำหรับน้ำตาเทียมนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือแบบที่มีสารกันบูดขนาด 15 ซีซี และแบบไม่ใส่สารกันบูด ขนาด 0.8 ซีซี ซึ่งหากไม่แพ้สารกันบูดก็สามารถใช้แบบแรกได้ แต่ไม่ควรหยอดเกินวันละ 5 ครั้ง และสำหรับผู้ที่แพ้สารกันบูดที่มีอาการแสบแดงหรือเคืองตาหากใช้แบบ 15 ซีซี ก็มีทางเลือกที่ใช้แบบ 0.8 ซีซี แต่ต้องใช้ภายใน 12-18 ชั่วโมงภายหลังเปิดบรรจุภัณฑ์แล้ว

และสำหรับคำแนะนำทิ้งท้ายในการดูแลสุขภาพตาที่จักษุแพทย์ประจำโรงพยาบาลจักษุ รัตนิน ก็คือการใส่ใจการตรวจสุขภาพตาประจำไปที่ถ้าเป็นคนปกติก็อาจจะตรวจประมาณ 1-2 ปีต่อครั้ง แต่หากเป็นผู้ป่วยเบาหวานควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาอย่างน้อย 1 - 2 ครั้งต่อปี ที่สำคัญที่สุดคือหากมีอาการผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อยก็สมควรใส่ใจและมาพบแพทย์โดยเร็ว











ขอขอบคุณที่มา : http://health.deedeejang.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ