เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






กลเม็ดเด็ดพิชิตมะเร็งเต้านม




 

หากกล่าวถึง "มะเร็ง" ของบรรดาคุณผู้หญิงทั้งหลายแล้ว ขณะนี้มีสถิติเป็นที่แน่ชัดว่า "มะเร็งปากมดลูก" คือมะเร็งอันดับหนึ่งที่มีผู้เป็นมากที่สุด อย่างไรก็ตาม มะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่ไม่น่าไว้วางใจเช่นกันก็คือ "มะเร็งเต้านม" เนื่องเพราะกำลังมาแรงและไม่แน่นักว่า ในอนาคตอันใกล้อาจแซงหน้ามะเร็งปากมดลูกก็เป็นได้

แน่นอนว่า มะเร็งเต้านมนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่สร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายแต่เพียงอย่างเดียว หากยังส่งผลกระทบต่อจิตใจอีกด้วย เพราะคงไม่มีใครอยากเห็นการเฉือนหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งเพศหญิงอย่างเต้านมของตนเองทิ้งไป

แต่ที่น่าตกใจมากยิ่งกว่าก็คือทุกวันนี้มะเร็งไม่เพียงจะเกิดกับคนที่มีสูงอายุเท่านั้น แต่คนที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นก็สามารถเป็นได้ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ใช่ว่าจะไม่มีทางป้องกันหรือไม่มีทางสกัดไม่ให้โรคร้ายลุกลามออกไป

รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของมะเร็งให้ฟังอย่างน่าสนใจ ว่า มะเร็งจะแพร่กระจายทั่วร่างกายก็ต่อเมื่อเราไม่มีการดูแลรักษาหรือบำบัดด้วยวิธีทางการแพทย์ อีกทั้งการทานอาหาร การดำเนินชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษก็จะทำให้เกิดมะเร็งได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ โดยปกติการแพร่กระจายของมะเร็ง 20 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ สมอง ปอด และตับ ส่วนอีก 50
เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ ผิวหนัง และ 75 เปอร์เซ็นต์จะอยู่ที่กระดูก ซึ่งหากมะเร็งแพร่กระจายเข้าไปในกระดูกแล้ว จะทำให้กระดูกเกิดการแตกหักง่าย เพราะกระดูกเป็นส่วนที่มะเร็งโปรดปรานมากที่สุด

"กลยุทธ์หลักที่จะจัดการกับมะเร็งไม่ให้กับมาเป็นอีกก็คือ ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญจะต้องทำเคมีบำบัด เพราะเราจะแน่ใจไม่ได้ว่ามะเร็งในส่วนที่ตัดออกไปแล้วจะไม่กลับมาอีก ซึ่งถ้าเราทำเคมีบำบัด ส่วนที่เป็นมะเร็งที่แอบอยู่ในร่างกายก็จะค่อยๆ สลายไป ที่สำคัญผู้ป่วยจะต้องรู้จักดูแลร่างกาย พบแพทย์อย่างต่อเนื่องปีละ 1 ครั้ง หรือเมื่อรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติบริเวณที่ผ่าตัด
มะเร็ง หรือบริเวณใกล้เคียง" นพ.นรินทร์ อธิบาย

ขณะที่ ศ.นพ.กริช โพธิสุวรรณ อาจารย์ที่ปรึกษาภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้เปิดเผยถึงสถิติจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่มารักษาที่โรงพยาบาลศิริราชปี 2549 ว่า มีผู้ป่วยเป็นมะเร็งจาก 10 สายพันธุ์จำนวน 6,377 คน ซึ่งเฉลี่ยแล้วเป็นมะเร็งเต้านมจำนวน 843 คน มะเร็งตับ 622 คน มะเร็งปากมดลูกจำนวน 523 คน มะเร็งปอด 520 คน มะเร็งลำไส้ใหญ่-ทวารหนัก 486 คน มะเร็งต่อมลูกหมาก 472 คน มะเร็งในเม็ดเลือดขาว 235 คน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง 222 คน มะเร็งต่อมธัยรอยด์ 181 คน และมะเร็งในช่องปากจำนวน 165 คน

ส่วนอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจากปี 2547-2550 มีการเพิ่มขึ้นสวนทางกับมะเร็งปาก
มดลูกที่ปริมาณผู้ป่วยลดลง ทั้งนี้พบว่าค่าเฉลี่ยของผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 7 คนต่อ 60 นาที ช่วงอายุที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมมากสุดคือตั้งแต่ 35-65 ปี จำนวน 73.62 เปอร์เซ็นต์

"คนที่เคยเป็นมะเร็งมาแล้วก็สามารถที่กลับมาเป็นอีกได้ ดังนั้นควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ทำเคมีบำบัดและทานยาอย่างต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษ ส่วนที่คนที่สงสัยว่าถ้าเคยเป็นก้อนซีสมาแล้ว 3 ครั้ง ก้อนที่ 4 จะมีโอกาสเป็นก้อนมะเร็งที่ก่อตัวหรือไม่ หมอบอกว่ามีโอกาสที่จะเป็นแต่ไม่ใช่ 100 เปอร์เซ็นต์"

ส่วนเมื่อถามว่าวัยรุ่นมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ ศ.นพ.กริช ตอบว่า มีโอกาสที่จะเป็นได้ แต่ต้องดูปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งในวัยรุ่นด้วย เช่น การได้รับรังสีจากการรักษาบริเวณหน้าอกบ่อยๆ การดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30 เป็นปริมาณมากติดต่อกัน การสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือการกินยาคุมกำเนิดนานกว่า 4 ปีก่อนตั้งครรภ์แรก และที่สำคัญคือการออกกำลังกายน้อยลงที่เป็นสาเหตุให้ประจำเดือนเริ่มมาก่อนอายุ 12 ปี

"วิธีการต้านมะเร็งไว้หลายข้อด้วยกัน อาทิ ควรรู้จักควบคุมน้ำหนัก งดการสูบบุหรี่อันจะก่อให้เกิดมะเร็งในปอดได้ ลดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงการถูกรังสีบริเวณหน้าอกเป็นจำนวนมาก"

และปิดท้ายกันที่ ศ.นพ.พรชัย โอเจริญรัตน์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่ได้ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับกรรมพันธุ์จะสัมพันธ์กับโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่ว่า อันที่จริงแล้วกรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็งเต้านมในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก เพราะหากไม่ใช่ พ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง ท้องเดียวกันก็มีโอกาสที่จะเป็นน้อย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งมักเกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไม่รู้จักดูแลตนเองสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เช่น ทานอาหารประเภทไขมันเยอะ ไม่รู้จักออกกำลังกาย อยู่ในสภาวะที่เป็นพิษ อย่างในเมืองหลวง เป็นต้น ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่แบบจัดๆ ด้วย

" หลายคนเรียกโรคมะเร็งว่าเป็นโรคของคนรวย เนื่องจากโรคนี้จะเกิดกับคนที่มีฐานะทางสังคมในขั้นพอมีพอกิน เพราะ
กลุ่มคนเหล่านี้จะทำงานโดยไม่ค่อยห่วงสุขภาพของตนเอง ธุรกิจต้องมาก่อน มีเวลาในการออกกำลังน้อย อาหารที่กินส่วนใหญ่ก็เป็นอาหารขยะ คือ กินเพื่อให้มีแรงในการทำงานได้ อย่างนี้จะยิ่งทำให้โรคมะเร็งเข้ามาคุกคามสุขภาพได้ง่าย " ศ.นพ.พรชัยสรุป











ขอขอบคุณที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ