เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






เกิดอุบัติภัยหมู่ด้านสารเคมี...จะต้องรับมืออย่างไร




 

" ก๊าซแอมโมเนีย " เป็นสารที่นิยมนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรและด้านอุตสาหกรรมเพื่อทำความเย็น ซึ่งจัดเป็นสารที่มีอันตรายต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อมเมื่อเกิดการรั่วไหล โดยทำให้เกิดพิษเฉพาะที่ในระบบทางเดินหายใจ อันตรายจากก๊าซแอมโนเนียอาจเกิดขึ้นได้ในทุกกระบวนการ ได้แก่ การผลิต (Production) การนำไปใช้ (Use) การขนส่ง (Transportation) และการเก็บ (Storage)

จากสถิติของศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานว่า ตั้งแต่ปี 2546-2550 (ถึงเดือนกรกฎาคม 2550) พบการเกิดอุบัติภัยจากสารแอมโมเนียจำนวน 24 ครั้ง ซึ่งทำให้มีผู้บาดเจ็บและสร้างความเสียหายแก่ประชาชนทั่วไปเป็นจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท จึงได้จัดซ้อมแผนรองรับอุบัติภัยหมู่สารเคมีอันตรายและอาวุธชีวภาพขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการและประชาชนในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ร่างกายได้รับการปนเปื้อนจากสารพิษต่าง ๆ

การซ้อมแผนอุบัติภัยหมู่สารเคมีอันตรายและอาวุธชีวภาพ ประกอบด้วยการอบรมให้ความรู้พนักงาน พยาบาล และแพทย์ที่เกี่ยวข้องในหลักสูตร "ความรู้เรื่องสารเคมีอันตราย" พร้อมด้วยการฝึกซ้อมแผนรองรับอุบัติภัยหมู่ ณ บริเวณแผนกรับผู้ป่วยนอกและแผนกฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

โดยสมมุติสถานการณ์จำลองว่า รถบรรทุกสารเคมีอันตรายได้เกิดอุบัติเหตุชนกับรถโดยสารประจำทางที่มีผู้โดยสารนั่งมาด้วย ณ บริเวณทางลงของทางด่วนเพื่อเข้าสู่ถนน A (สมมุติ) ทำให้รถทั้งสองคันเกิดพลิกคว่ำ เป็นเหตุให้ก๊าซแอมโมเนียรั่วและฟุ้งกระจายบนพื้นถนน ส่งผลให้ผู้โดยสารและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวได้ประสบกับการปนเปื้อนก๊าซแอมโมเนียและยังทำให้การจราจรหยุดชะงัก

นอกจากนี้บรรดาผู้ขับขี่รถบนถนนได้พากันออกจากรถเพื่อสังเกตการณ์จึงทำให้มีการสูดดมสำลักควันตลอดจนก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารเคมีที่อันตรายต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และทางเดินหายใจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย และได้เร่งนำผู้ป่วยที่ได้รับพิษสารเคมีจำนวน 20 ราย ส่งยังโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท เพื่อดำเนินการรักษาต่อไป

สำหรับขั้นตอนการซ้อมรับมืออุบัติภัยหมู่จากสารเคมีอันตราย ขั้นแรกผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้แทนจะประกาศรหัส (code) แผนฉุกเฉินในการรองรับผู้บาดเจ็บจากอุบัติภัยสารเคมีเพื่อระดมกำลังของเจ้าหน้าที่ ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่หน่วยต่าง ๆ จำนวน 131 คน มารวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับพิษสารเคมี

ผู้ป่วยที่ได้รับพิษสารเคมี จะได้รับการล้างตัวทันทีที่มาถึงโรงพยาบาล ณ จุดล้างสารพิษ (ก่อนนำตัวเข้าสู่ห้องฉุกเฉิน) การล้างตัวจัดเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่สัมผัสกับสารเคมี เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาผู้ป่วยเองแล้ว ยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายของสารเคมีดังกล่าวไปสู่บุคคลอื่น ๆ อีกด้วย    หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำการรักษาเฉพาะทางสำหรับผู้ป่วยแต่ละท่าน

แพทย์หญิงสมสิริ สกลสัตยาทร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อพบการรั่วไหลของสารอันตรายว่า "ควรอยู่บนที่สูง บริเวณเหนือลมและเหนือควัน พยายามอยู่ไกลที่เกิดเหตุอย่างน้อย 500 เมตร ห้ามเข้าใกล้หรือแตะต้องสาร ห้ามดมกลิ่น ที่สำคัญควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเด็กจะไวต่อการสัมผัสพิษมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กตัวเตี้ยและมีขนาดพื้นที่ปอดเล็กกว่าผู้ใหญ่ จึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กมากกว่า"

การซ้อมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเตรียมความพร้อมของระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่ใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งสามารถเกิดอุบัติภัยสารเคมีอันตรายจากก๊าซแอมโมเนียได้ตลอดเวลา เนื่องจากถนนสายต่าง ๆ ในบริเวณดังกล่าว เป็นเส้นทางที่มีการลำเลียงของสารเคมีด้วย

" ทางโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท มีการทบทวนและฝึกซ้อมแผนรองรับอุบัติภัยหมู่เป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เพื่อทดสอบขีดความสามารถในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากสารเคมีหรือผู้ได้รับอุบัติภัยได้อย่างทันท่วงที โดยถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างหนึ่ง และตอกย้ำความมั่นใจให้แก่ประชาชนทั่วไปว่าโรงพยาบาลได้มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับอุบัติภัยดังกล่าวได้ตลอดเวลา" แพทย์หญิงสมสิริ สกลสัตยาทร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท กล่าวสรุป











ขอขอบคุณที่มา : http://www.dailynews.co.th
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ