เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






'สุรา' ไม่ใช่สินค้าธรรมดา




 

แม้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเป็นสิ่งถูกกฎหมาย แต่ก็ยังมีการควบคุมการจำหน่ายและการบริโภคในเกือบทุกประเทศทั่วโลกเพราะการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก

ผลกระทบของการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้จำกัดเฉพาะปัญหาสุขภาพส่วนบุคคลของผู้บริโภค แต่ยังมีผลกระทบทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ต่อครอบครัวและบุคคลอื่นในสังคมด้วย

การศึกษาวิจัย " ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย" ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และจัดทำโดย โครงการประเมินเทคโน-
โลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)  หนึ่งในองค์กรภาคีของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของการ
บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึง 5 ด้าน

นับเป็นการศึกษาครั้งแรกในประเทศไทย ในการศึกษาถึงต้นทุนทางสังคมและเศรษฐกิจของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประชากรไทย ในปี พ.ศ. 2549 อย่างเป็นระบบ

ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผลกระทบจากการที่คนไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงแค่ 1 ปี ทำให้
ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล สูงถึง 197,576 ล้านบาท   แบ่งออกเป็นค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีทั้งค่ารักษาพยาบาลจากการรักษาโรคที่เกิดขึ้นจากการ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บที่เป็นผลกระทบมาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 5,623 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.8

ค่าสูญเสียผลิตภาพการทำงาน ซึ่งเป็นผลจากการขาดงานเนื่องจากปัญหาสุขภาพ รวมถึงสูญเสียประสิทธิภาพในขณะทำงาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทำให้สูญเสียโอกาสในการสร้างผลผลิตแก่สังคมโดยรวม คิดเป็นมูลค่าถึง 62,638 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 31.7  ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องคดีความที่มีสาเหตุจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีโดยตำรวจ จากการประเมินเบื้องต้นของทีมวิจัยพบมีมูลค่าประมาณ 171 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 มูลค่าทรัพย์สินที่เสียหายจากอุบัติเหตุจราจร อันเนื่องมาจากการ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 779 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.4

นอกจากนี้ยังพบว่าในปี 2549 มีคนไทยที่ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยมีสาเหตุมาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นจำนวน 38,868 คน แบ่งเป็นชาย 33,887 คน หญิง 4,981 คน ทำให้ประเทศไทยขาดโอกาสในการสร้างตัวเลขผลผลิตทางเศรษฐกิจไปอีก 128,365 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 65.0

ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กล่าวในงานประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งที่ 3 ว่า "ข้อมูลทั้งหมดยืนยันชัดเจนว่า ความสูญเสียที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น มากกว่ารายได้ที่รัฐได้รับจากภาษีสรรพสามิตสุรา โดยในปี 2549 รัฐเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เพียง 72,871 ล้านบาท ขณะที่ผลเสียที่เกิดขึ้นมีมูลค่าสูงถึง
194,576 ล้านบาท ซึ่งยังไม่นับรวมถึงความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมานทางจิตใจที่ตามมา และผลเสียหายที่เกิดขึ้นกับครอบครัวอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งไม่อาจประเมินค่าเป็นตัวเงินได้ ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการควบคุมพิเศษอย่างเข้มข้น"

การแก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สังคมต้องไม่มองเห็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าทั่วไปเหมือนสบู่ ยาสีฟันอีกต่อไป และรัฐจะต้องมีการกำหนดนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีการติดตามบังคับใช้กฎหมายกันอย่างจริงจัง

การให้ความรู้กับผู้บริโภคเรื่องโทษภัยของการดื่มแอลกอฮอล์เพียงอย่างเดียวไม่พอต้องทำควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

"สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดาเหมือนสินค้าทั่ว ๆ ไป เพราะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย จำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมพิเศษเพื่อลดผลกระทบปัญหาดังกล่าว ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมกันพยายามเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ซึ่งยาวนานถึง 6 เดือนแล้ว และจะส่งกลับเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวาระที่ 2 และ 3 ในวันที่ 28 พ.ย. 50 นี้ เพื่อให้มีการพิจารณารับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2551 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจะช่วยลดการโฆษณามอมเมาเยาวชน ลดการส่งเสริมการขายด้วยวิธีลด-แลก-แจก-แถม จำกัดการเข้าถึงและการหาซื้อหรือดื่มที่สะดวกเกินไป และเกิดหน่วยงานระดับชาติที่จะทำหน้าที่หลักในการดูแล ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุราอย่างต่อเนื่องต่อไป" นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวสรุป











ขอขอบคุณที่มา : http://www.dailynews.co.th
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ