เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






การทดสอบสมรถภาพทางกายผู้สูงอายุ



                  รายละเอียดเกี่ยวกับการทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ นำเสนอโดย นายแพทย์สมชาย ลี่ทองอิน รักษาการผู้อำนวยการกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในการประชุมวิชาการเกี่ยวกับ “การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล”ครั้งที่ 7 ที่อิมแพค เมืองทองธานี ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพให้กับประชาชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุมาพูดคุยกันและมีการนำเสนอว่า “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้สูงอายุท่านนั้น มีสมรรถภาพทางกายเพื่อการปฏิบัติกิจ-
วัตรประจำวันได้ดีเพียงใด?


ผู้สูงอายุหมายถึงใคร?

                  มีคำจำกัดความและมีข้อถกเถียงออกมามากมายว่าผู้สูงอายุ หมายถึง กลุ่มคนอายุเท่าใดกันแน่ บางประเทศบอกว่าต้องเกิน 60 ปี บางประเทศบอกว่า 65 ปี ขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันในประเทศไทยเราพออนุโลมตัวเลขที่ 60 ปี ขึ้นไป แต่ตัวเลขเหล่านี้จะไม่อยู่นิ่งนะครับ เพราะปัจจุบันคนเราจะมีอายุยืนยาวมากขึ้น มีการดูแลสุขภาพตนเองได้ดียิ่งขึ้น ในอนาคตอาจต้องอายุเกิน 70 ปี จึงจะเรียกผู้สูงอายุก็ได้ จากข้อมูลล่าสุดของประเทศไทยพบว่าเรามีผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) จำนวน 6.3 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศต่อไปในอนาคต


ทำไมต้องทดสอบ ?

                หากคนเราไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันสมควรด้วยอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บทุกคนจะต้องเป็นผู้สูงอายุแน่ๆ
ในอนาคตหรือในบ้านของท่านขณะนี้ก็มีผู้สูงอายุอยู่แล้ว ซึ่งการดูแลสุขภาพพื้นฐานไม่ว่าท่านมีอายุเท่าใดก็ต้องทำกันอยู่แล้ว ตามหลัก 6 อ.อ่างที่ผมเคยให้เอาไว้แล้ว (อย่าอ้วน / อาหารครบหมู่ / ออกกำลังกายสม่ำเสมอ / อย่ารับสารอันตรายเข้าร่างกาย /อย่าอดนอน / เช็คอัพร่างกายเป็นประจำ) ดังนั้นการออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะทำให้สมรรถภาพทางกายของท่านมีความฟิตในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ความฟิตของระบบหัวใจ (Aerobic Fitness) ความฟิตของกล้ามเนื้อ (Muscular Fitness) และความฟิตของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย (Metabolic Fitness) ผู้ที่สูงอายุจะมีสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับใดนั้น เขามีวิธีการทดสอบที่ทำได้ง่าย ๆ ท่านสามารถที่จะทำเองก็ได้ หรือผู้ที่อยู่ในชมรมผู้สูงอายุจะได้นำไปใช้(ความฟิตของระบบหัวใจและกล้ามเนื้อ) ในชมรมก็ได้ ทั้งนี้การทดสอบแต่ละครั้ง ท่านควรเก็บข้อมูลของตนเองไว้ เพื่อเปรียบเทียบกับการทดสอบครั้งต่อ ๆ ไป เมื่อท่านกลับไปออกกำลังกายเพิ่มขึ้นหรือทำอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น สมรรถภาพทางกายของท่านดีขึ้น ท่านก็จะได้มีกำลังใจในการปฏิบัติเพราะมีการทดสอบอย่างเป็นรูปธรรม นอกเหนือจากที่สะท้อนให้เห็นจากการที่ท่านปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น เช่น การเดิน การยืน การขึ้นลงบันได การยกของ การก้มเงย ตลอดจนความเหน็ดเหนื่อยที่เกิดขึ้นง่ายหรือยากเพียงใด


วิธีการทดสอบ การทดสอบมี 8 รายการดังต่อไปนี้ คือ

1. การลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที (30 – Second Chair Stand)
                จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนขา (lower body strength) ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำ
                                  กิจกรรมหลายอย่าง เช่น เดินขึ้นบันได, เดิน และลุกออกจากเก้าอี้ ออกจากเรือหรือรถ รวมถึง
                                  ลดความเสี่ยงจากการหกล้ม
                การประเมิน :จำนวนครั้งของการลุกขึ้นยืนตรงจากเก้าอี้ ภายใน 30 วินาที โดยมือทั้งสองข้างประสานกันไว้ที่
                                  หน้าอก
                เกณฑ์เสี่ยง :ลุกขึ้นยืนตรงโดยไม่มีคนช่วยได้น้อยกว่า 8 ครั้ง ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ถือว่าอยู่ในเกณฑ์
                                  เสี่ยง


2. งอแขนพับศอก (Arm Curl)
                จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนแขน (Upper body strength) ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำ
                                  งานบ้าน การเป็นแม่บ้าน และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยก, แบก และถือหิ้ว เช่น ของใช้,
                                  กระเป๋า และอุ้มเด็ก
                การประเมิน : จำนวนครั้งของการยกน้ำหนัก โดยงอแขนพับศอกอย่างสมบูรณ์ ภายใน 30 วินาที สำหรับผู้หญิง
                                  ให้มือถือน้ำหนัก 5 ปอนด์ หรือ 2.27 กิโลกรัม และผู้ชายถือน้ำหนัก 8 ปอนด์ หรือ 3.63
                                  กิโลกรัม
                เกณฑ์เสี่ยง : งอแขนพับข้อศอกได้น้อยกว่า 11 ครั้ง ในเพศหญิงและเพศชายถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง


3. เดิน 6 นาที (6-Minute Walk)
                จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความอดทน หรือพลังแอโรบิกของร่างกาย (Aerobic endurance) ซึ่งเป็นส่วน
                                  สำคัญมากต่อความสามารถในการเดินให้ได้ระยะทาง การขึ้นบันได การจับจ่ายซื้อของ และการ
                                  เดินชมทัศนียภาพเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ
                การประเมิน : จำนวนระยะทางเป็นหลา หรือเมตร ที่เดินได้ภายใน 6 นาที โดยเดินรอบระยะทาง 50 หลา หรือ
                                  45.7 เมตร (5 หลา เท่ากับ 4.57 เมตร)
                เกณฑ์เสี่ยง : ดินได้ระยะทางน้อยกว่า 350 หลา หรือ 319.9 เมตร ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย ถือว่าอยู่
                                  ในเกณฑ์เสี่ยง


4. เดินย่ำเท้า 2 นาที (2-Minute Step Test)
                จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความอดทน หรือพลังแอโรบิกของร่างกาย (Aerobic endurance) ของร่างกาย
                                  เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกเหนือจากการเดิน 6 นาที ที่จะใช้เมื่อมีพื้นที่จำกัด หรือสภาพอาการไม่
                                  เอื้ออำนวย
                การประเมิน : จำนวนครั้งที่ยกเข่าขึ้นลงอย่างสมบูรณ์ใน 2 นาที โดยยกเข่าให้สูงถึงจุดกึ่งกลางระหว่างลูกสะบ้า
                                  (patella) กับขอบบนสุดของกระดูกสะโพก (iliac crest) จำนวนครั้งนับจากเข่าขวาที่ยกสูงขึ้นถึง
                                  จุดที่กำหนดยกขึ้น
                เกณฑ์เสี่ยง : ย่ำเท้ายกเข่าได้จำนวนน้อยกว่า 65 ครั้ง ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง


5. นั่งเก้าอี้ยื่นแขนแตะปลายเท้า (Chair – Sit – and – Reach)
                จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความอ่อนตัวของร่างกายส่วนล่าง (lower body flexibility) ซึ่งสำคัญมากต่อการมี
                                  ท่วงท่าที่ดี แบบแผนการเดินที่ปกติและการเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น การลุกเข้าออกจากห้องน้ำ
                                  จากเรือหรือรถ
                การประเมิน : นั่งเก้าอี้ค่อนไปด้านหน้า ขาเหยียด ค่อย ๆ ก้มเหยียดมือไปแตะปลายเท้า แล้ววัดระยะห่างจาก
                                  ปลายนิ้วมือถึงปลายนิ้วเท้า ถ้าระยะห่างจากปลาย
                                  นิ้วมือไม่ถึงนิ้วเท้า ค่าที่ได้จะเป็นลบ ถ้าปลายนิ้วมือยืนเลยปลายนิ้วเท้าค่าที่ได้จะเป็นบวก
                เกณฑ์เสี่ยง : สำหรับเพศชายระยะห่างระหว่างปลายนิ้วมือถึงปลายนิ้วเท้าเท่ากับหรือมากกว่า 4 นิ้ว (-4 นิ้ว
                                  ขึ้นไป) และในเพศหญิงระยะห่างระหว่างปลายนิ้วมือ ถึงปลายนิ้วเท้าเท่ากับหรือมากกว่า 2 นิ้ว
                                  (- 2 นิ้ว ขึ้นไป) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง











ขอขอบคุณที่มา : http://www.bangkokhealth.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ