เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ก๋วยเตี๋ยวมหาภัย ตับไตพัง - สมองเสื่อม




 

ก๋วยเตี๋ยว ถือว่าเป็นอาหาร "คู่ปากคู่ท้อง"ของคนไทยไม่แพ้ข้าว จึงไม่แปลกที่จะมีร้านขายก๋วยเตี๋ยวผุดขึ้นอยู่ทุกหัวระแหง ขนาดว่ากันว่า "ทุกซอย"ในประเทศไทยจะต้องมีร้านก๋วยเตี๋ยวอย่างน้อย 1 ร้าน

แต่ตอนนี้ "คอก๋วยเตี๋ยว"อาจจะต้อง "ชะงัก" นิดนึง เมื่อนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ออกมาเปิดเผยข้อมูลอัน"น่าตกใจ"ว่า คคบ. ได้มอบหมายให้
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งตรวจสอบและศึกษาอุปกรณ์การบริโภคที่ใช้วิธีเอาสาร"ตะกั่ว"มาบัดกรี แทนการใช้เชื่อมแบบ"อากอน"ที่ปลอดภัยกว่า เช่น หม้อต้มน้ำ และหม้อต้มกาแฟ เป็นต้น

ทั้งนี้เนื่องจากมีการพิสูจน์แล้วว่า อุปกรณ์ที่มีสารตะกั่วมาบัดกรีเมื่อถูกความร้อนอาจ "ปนเปื้อน"กับอาหารได้ และหากร่างกายได้รับสารตะกั่วเกินมาตรฐาน ก็จะเป็นอันตรายทั้งต่อระบบ "สมอง"และระบบ"ประสาท"รวมทั้งยังมรผลต่อสุขภาพในด้านอื่นๆด้วย

หากมีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าอุปกรณ์ร้านอาหารและเครื่องดื่มมีการใช้ตะกั่วในการบัดกรีจริง ก็จะเสนอให้ที่ประชุม คคบ.ประกาศบังคับ"ห้ามจำหน่ายแบบถาวร"ทันที อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม คคบ.ได้มีมติออกคำสั่งห้ามใช้ ห้ามจำหน่าย และซ่อมเครื่องทำน้ำเย็นและน้ำอุ่น ที่ใช้สารตะกั่วในการบัดกรีตัวถัง หรือท่อส่งน้ำในถังในเครื่องทำน้ำเย็นน้ำอุ่นแล้ว

นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้ข้อมูลว่า ในธรรมชาติมีสารตะกั่วปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย อย.จึงกำหนดมาตรฐานที่ยินยอมให้ปนเปื้อนในอาหารไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม น้ำดื่มไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร

"สารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งการบริโภค การหายใจเอาไอตะกั่ว และสัมผัสเข้าทางผิวหนัง หากได้รับตะกั่วอย่างต่อเนื่องและปริมาณมากๆจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างเฉียบพลันคือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง เมื่อพิษสะสมเรื้อรังทำให้ระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม เป็นอัมพาต อ่อนเพลียคล้ายคนเป็นง่อย เซลล์สมองผิดปกติ เซื่องซึม ความจำเสื่อม สติปัญญาด้อย คิดช้า ซีด อ่อนเพลีย เพราะตะกั่วทำลายเม็ดเลือดแดง"เลขาธิการ อย.กล่าว

มหันตภัย"จากก๋วยเตี๋ยว ไม่ได้มีเฉพาะอันตรายที่มาจากอุปกรณ์ในการทำก๋วยเตี๋ยวเท่านั้น แต่มาจาก "วัตถุดิบ" ในการทำก๋วยเตี๋ยวนั้นด้วย นั้นก็คือ "เส้นก๋วยเตี๋ยว"โดยก่อนหน้านี้ ภก.วรวิทย์ กิตติวงสุนทร ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุบลราชธานี ได้ออกมาเปิดเผยผลการวิจัยเรื่อง "ความปลอดภัยในเส้นก๋วยเตี๋ยว ในเขตภาคอีสาน"ว่า

ก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่เป็น "เส้นสด"ที่ค้างหลายวันไมได้ ผู้ประกอบการจึงเติม "สารกันบูด"หรือ"สารกันเสีย"เพื่อยืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยวและยืดระยะเวลาการจำหน่าย ซึ่งสารกันบูดที่นิยมใช้คือ "กรดเบนโซอิก" และ กรดซอร์บิก ถ้าร่างกายได้รับปริมาณสูงเป็นเวลานาน จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของ "ตับ"และ"ไต"ลดลง

ดังนั้น คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสากล (Codex) จึงได้กำหนดให้ใช้กรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

ผลจากการตรวจวิเคราะห์ "ตัวอย่าง เส้นก๋วยเตี๋ยวใน 4 จังหวัดภาคอีสานคือ จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และศรีสะเกษ ผลปรากฏว่า ก๋วยเตี๋ยว"เส้นเล็ก"พบปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุด 17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาเป็นก๋วยเตี๋ยว "เส้นหมี่"7,825 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม " ก๋วยจั๊บ เส้นใหญ่ "7,358 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม "กวยจั๊บเส้นเล็ก"6,305 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม "บะหมี่โซบะ"4,593 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ"ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่"4,230 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

ภก.วรวิทย์ กล่าวว่า จากผลวิจัยดังกล่าวทำให้ความเชื่อเดิมที่คิดว่า "เส้นหมี่"ซึ่งมีลักษณะแห้งจะมีวัตถุกันเสียน้อย แต่จะพบมากใน "เส้นใหญ่"ที่มีความชื้นสูงนั้น แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กลับมีการใส่ตุกันเสียเยอะมากเป็นอันดับ 2 รองจากเส้นเล็ก ส่วนเส้นที่มาพบสารเลยคือ เส้น "บะหมี่เหลือง"เพราะผลิตจากแป้งสาลี ส่วนเส้นอื่นๆจะผลิตจากแป้งข้าวเจ้าที่มีความชื้นสูง ทำให้ราขึ้นง่าย จึงมีการใส่วัตถุกันเสีย ขณะที่วุ้นเส้นไม่มีปัญหาเช่นกัน

"การวิจัยนี้ไม่ได้ตั้งใจทำให้คนแตกตื่น หรือทำลายอุตสาหกรรมก๋วยเตี๋ยว แต่เป็นการวิจัยเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหา และสร้างความปลอดภัยในอาหาร เพราะเมื่อคิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ดังนั้นปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภคคือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งการกินก๋วยเตี๋ยว 1 มื้อ จะมีเส้นประมาณ 50-100 กรัม เท่ากับว่าผู้บริโภคจะได้รับกรดเบนโซอิกประมาณ 226-451 มิลลิกรัม ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว และเมื่อรวมกับปริมาณวัตถุกันเสียในอาหารอื่นๆ ที่กินในแต่ละวัน เท่ากับว่าผู้บริโภคจะได้รับสารนี้จำนวนมาก แม้การตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้จะทำเฉพาะในเขตภาคอีสาน แต่คาดว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศจะมีปัญหาไม่แตกต่างกัน" ภก.วรวิทย์ ระบุ

เมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลอันน่าตกใจดังกล่าวของเส้นก๋วยเตี๋ยว ก็จะทำให้ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอาหารและยาถึงกับ "เต้น"ได้สั่งการให้นายแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เร่งเก็บตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วประเทศตรวจหาสารกันบูด

นอกจากนี้มีแนวโน้มที่จะกำหนดให้ " โรงงาน " ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวต้องพัฒนาให้ได้มาตรฐานเกณฑ์การผลิตที่ดี (จีเอ็มพี) คำนึงถึงความสะอาดปลอดภัยของกระบวนการการผลิต ขณะเดียวกัน อย.มีโครงการ "เฝ้าระวัง"การใช้สารกันบูดในอาหารตั้งแต่กลางปี 2548 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ

นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า สารกันบูดที่ใส่ในเส้นก๋วยเตี๋ยวนั้น ไม่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า อีกทั้งรสชาติของเส้นที่มีสารกันบูดไม่มีความแตกต่างกับเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่มีสารกันบูด และการลวกเส้นด้วยน้ำร้อนก็ไม่สามารถทำลายสารกันบูดได้ เพราะผสมเป็นเนื้อเดียวกันกับเส้นก๋วยเตี๋ยวไปแล้ว ซึ่งอย.จะเร่งศึกษาข้อมูลเพื่อหาทางคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค

ทั้งนี้ มีข้อแนะนำในการสังเกตว่า ก๋วยเตี๋ยวที่เรากินนั้นใส่สารกันบูดหรือไม่ มีวิธีสังเกตหลายวิธี คือ อย่างแรกถ้าใส่สารเคมี เส้นก๋วยเตี๋ยวจะ"เหนียวหนึบ"กัดไม่ค่อยจะขาดจากกัน หรือถ้าพูดง่ายๆจะมีความเหนียวผิดปกติ อีกทั้งเส้นที่ใส่สารกันบูดเมื่อนำไปลวกในหม้อก๋วยเตี๋ยว สังเกตว่าน้ำที่ลวกจะ "ขุ่น"

นอกจากนี้ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่หรือเส้นสดที่ใส่สารกันบูดทิ้งไว้ 2- 3 วัน จะมีสีสันคงเดิมไม่มี รา ขึ้น แต่เมื่อมาดมดูจะมีกลิ่น เหม็นเปรี้ยว ผิดกับเส้นสดที่ไม่ใช้สารกันบูดเพียงคืนเดียวเส้นก็ขึ้นราและบูดแล้ว

อย่างไรก็ตาม บรรดา สาวกก๋วยเตี๋ยว ก็ไม่ถึงกับต้องหวาดวิตกเกินไป จนถึงกับปฏิเสธ การกินก๋วยเตี๋ยวไปเลย เพียงแต่ก่อนจะคีบเข้าปาก ลองสังเกตสักนิดว่า เส้นก๋วยเตี๋ยว และ อุปกรณ์ การทำก๋วยเตี๋ยวของร้าน มีความผิดปกติ อันจะก่อให้เกิดอันตราย ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นหรือไม่

อีกทั้งถ้าจะว่าไปแล้ว ร่างกายของคนเรามีกระบวนการขับสารที่เป็นพิษออกไปได้หมดภายใน 1 วันอยู่แล้ว ขณะที่ "ผู้ประกอบการ"ที่เกี่ยวกับ ก๋วยเตี๋ยวเอง ก็ควรมี "จิตสำนึก"ต่อความปลอดภัยของ "ผู้บริโภค" ด้วย เพื่อเส้นก๋วยเตี๋ยวจะได้เป็นอาหารยอดนิยมคู่กับ "สังคมไทย"ไปตลอดกาล











ขอขอบคุณที่มา : 
                          สกู๊ปหน้า 1 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันจันทร์ ที่ 8/10/2550
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ