เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






เตือนทำงานหน้าจอคอมพ์เสี่ยงโรคร้าย






ศิริราชระบุ เสี่ยงต่อการเป็นโรคภัยในออฟฟิศหรือ “ Office Syndrome ” เหตุจากทำงานหนัก นั่งทำงานตลอดเวลาไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ได้พักสายตา รวมทั้งสภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม โต๊ะทำงานไม่เป็นระเบียบส่งผลให้กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยอวัยวะต่างๆแนะนำควรพักสายตาทุก 20 นาที หลับตาทุกๆ 1 ชั่วโมงและลุกขึ้นยืนขยับร่างกาย ใช้จอคอมพ์แบบ LCD แทนจอโค้งและจัดให้ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศา

ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 12 กันยายน ผศ.นพ.วิษณุ กัมทรทิพย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวภายในการประชุมวิชาการเรื่อง “ Office Syndrome ” หรือโรคภัยในออฟฟิศว่า โรคออฟฟิศ ซินโดรม เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานออฟฟิศที่สภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงานตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขนหรือข้อมือ ส่วนบางรายการที่มีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนอยู่แล้ว หากทำงานในอิริยาบถที่ผิดจะให้มีอาการรุนแรงมากขึ้น จากการสำรวจพนักงานออฟฟิศในประเทศฝั่งยุโรปพบว่าอาการอันดับหนึ่งคือการปวดหลัง รองลงมาคืออาการปวดคอ ไหล่และปวดศีรษะตามลำดับ ซึ่งเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะออฟฟิศ ซินโดรม

นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มคนทำงานอายุระหว่าง 16-24 ปี มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 เนื่องจากต้องทำงานหนักประกอบกับอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสม ทั้งนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆสูงกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ตลอดจนปัญหาความเครียดก็ส่งผลต่อการเกิดภาวะนี้ด้วย โดยพบสูงถึงร้อยละ 80 สำหรับประเทศไทยเคยสำรวจในคนทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจำนวน 400 คน พบว่าร้อยละ 60 มีภาวะดังกล่าว

“ไม่เพียงแต่อิริยาบถของคนทำงานที่ไม่เหมาะสม สภาพโต๊ะทำงานยังเป็นปัจจัยสำคัญด้วย ทั้งโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ ไม่สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ เก้าอี้ไม่เหมาะสม ไม่มีพนักพิงที่รองรับหลังอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกกดแป้นคีย์บอร์ดที่ไม่มีตัวรองรับข้อมือ จะทำให้มีการกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็น รวมทั้งเกิดถาวะพังผืดหนา ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือ ผศ.นพ.วิษณุ กล่าว”

ผศ.นพ.วิษณุ กล่าวอีกว่า การป้องกันต้องเริ่มจัดสภาพโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ โดยให้ด้านขวาของโต๊ะปล่อยโล่ง ไม่มีสิ่งของมากีดขวางเพื่อความสะดวกต่อการเคลื่อนไหวในการหยิบสิ่งของต่างๆส่วนสิ่งของต่างๆบนโต๊ะทำงานที่มีระดับพอดีกับข้อศอก เพื่อให้สามารถกดคีย์บอร์ดได้ถนัด ประกอบตัวแป้นคีย์บอร์ดควรมีที่รองรับข้อมือไม่ให้เกิดการกระดกข้อมือซ้ำๆด้วย นอกจากนี้ ควรเลือกจอคอมพิวเตอร์แบบ LCD หรือจอแบน เนื่องจากการสำรวจพบว่า จอแบน CRT ซึ่งเป็นจอลักษณะโค้งมนจะทำให้เกิดการเพ่งสายตา และปวดศีรษะมากกว่าการใช้จอแบบ LCD


“พวกพนักงานรับโทรศัพท์ก็ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน เพราะต้องคอยรับหูโทรศัพท์ตลอดเวลา ควรหยุดพักบ้าง หรือหันมาใช้เฮดโฟนแทน สิ่งสำคัญคนทำงานต้องคระหนักถึงภัยจากภาวะนี้ ด้วยการฝึกอิริยาบถการนั่งทำงานให้เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อมต้องปรับท่านั่งใหม่ และควรพักสายตาจากคอมพิวเตอร์ หรือเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกออกไปเดิน ยืดเส้นยืดสายทุกๆครึ่งชั่วโมง รวมทั้งควรหัดออกกำลังกายคลายเส้นบ้าง จะช่วยให้กล้ามเนื้อไม่ตึงจนเกินไป”ผศ.นพ.วิษณุ กล่าว

ด้าน รศ.พญ.จุฑาไล ตัณฑเทิดธรรม ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่าปัญหาที่พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ คือ ปัญหาด้านสายตา อาทิ ตาแห้ง น้ำตาไหล ระคายเคืองตาตามัว ปรับภาพได้ช้าลง ซึ่งเกิดจากการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้การกระพริบตาน้อย หลังตาเปิดกว้างขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แห้ง ส่งผลให้น้ำตาระเหยมาก จนกระทั่งเกิดความระคายเคืองตาและตาแห้ง นอกจากนี้การเพ่งสายตาที่หน้าจอ ยังทำให้ต้องกลอกตาไปมาตลอดเวลาส่งผลให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานมากขึ้น ทำให้ปวดตาในที่สุด ดังนั้นควรพักสายตาเป็นระยะ ทุก 20 นาที หลับตาทุก 1 ชั่วโมง ลุกเดินเพื่อพักสายตาและควรจัดจอภาพคอมพิวเตอร์ให้ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศา เพื่อช่วยลดอาการปวดตาและปวดคอ

รศ.พญ.จุฑาไล กล่าต่อว่านอกจากนี้ควรปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม โดยปรับความสว่างให้มากประมาณ 3 เท่าจากความสว่างของสภาพแวดล้อม และควรปรับสีของจอให้สบายตา เนื่องจากงานวิจัยพบว่าตัวอักษรสีเข้มบนพื้นจอสีอ่อน จะทำให้สบายตา ส่วนความเข้าใจที่ว่ารังสีจากจอคอมพิวเตอร์ หาีรับเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดอันตรายเป็นมะเร็งนั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากปริมาณรังสีที่ออกมา มีจำนวนน้อยไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด











ขอขอบคุณที่มา : 
                          สกู๊ปหน้า 1 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  
                          ฉบับที่ 21,154 วันพฤหัสบดี ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ