เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






อาการปวดหลัง Low back pain







อาการปวดหลังเป็นอาการหนึ่งที่เป็นกันบ่อยๆ ประมาณ 4/5 ของผู้ใหญ่จะเกิดอาการปวดหลังซึ่งอาจจะมากบ้างน้อยบ้างขึ้นกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการดูแลตัวเอง ผู้ที่มีอาการปวดหลังร้อยละ 50 จะหายภายใน 2 สัปดาห์ ร้อยละ 90 จะหายภายใน 3 เดือน จะพบผู้ป่วยร้อยละ 5-10 ที่จะเป็นโรคปวดเรื้อรัง การที่มีอาการปวดหลังไม่ได้หมายความว่าจะมีการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย การปวดหลังเป็นเพียงเกิดการอักเสบขึ้นที่โครงสร้างของหลัง อาการที่สำคัญที่แสดงว่าเส้นประสาทถูกทำลายและต้องพบแพทย์โดยด่วนได้แก่

             - กลั้นปัสสาวะหรืออุจาระไม่อยู่
             - อ่อนแรงของขา


บทความนี้จะกล่าวถึงกลไกการเกิดโรคปวดหลัง การป้องกัน การรักษา
ส่วนประกอบของหลังของเรา



หลังของเรามิได้ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเดียวแต่ประกอบไปด้วยกระ
ดูกสันหลังทั้งหมด 24 ชิ้นที่เรียกว่า  vertebrae  วางซ้อนกันตั้งแต่
กระดูกสะโพกถึงกะโหลกศีรษะ  ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะเนื้อนุ่ม
เหมือนฟองน้ำขั้นกลางเรียกหมอนรองกระดูกซึ่งจะรับแรงกระแทก
ของกระดูกและเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวกระดูกสันหลัง
ทำหน้าที่เป็นแกนกลางของร่างกายกระดูกจะถูกยึดติดเป็นแนวโดย
อาศัยกล้ามเนื้อและเอ็น การหดเกร็งกล้ามเนื้อหลังจะทำให้เกิดการ
เคลื่อนไหว

หน้าอีกอย่างหนึ่งของกระดูกสันหลังคือเป็นทางผ่านของประสาทไข
สันหลัง (spinal cord) วิ่งเริ่มต้นจากสมองในกะโหลกศีรษะลงมาใน
ช่องกระดุกสันหลัง และมีเส้นประสาท( spinal nerve ) ออกบริเวณ
ข้อต่อของกระดูกไปเลี้ยงยังอวัยวะต่างๆ

แพทย์จะแบ่งกระดูกหลังออกเป็นห้าส่วนคือ cervical ,thoracic,
lumbar,sacrum ,coccyx ส่วนที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุดคือส่วน
เอว(lumbar) และเป็นส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้มากที่สุด
อวัยวะที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้แก่

- รากประสาทที่ออกจากไขสันหลังอาจจะถูกกระตุ้นทำให้มีอาการปวด
- ปลายประสาทที่เลี้ยงไขสันหลังอาจจะถูกกระตุ้นทำให้มีอาการปวด
- กล้ามเนื้อหลังอาจเกร็งอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดอาการปวด
- กระดูกสันหลัง เอ็น และข้อต่อกระดูกสันหลังอาจจะเกิดโรคทำให้ปวด
-โรคที่เกิดระหว่างกระดูกเช่นหมอนกระดูกทับเส้นประสาท


ดังนั้นการทบทวนโครงสร้างของกระดูกสันหลังจะทำให้เราเข้าใจสาเหตุ กลไกการเกิดอาการปวดรวมทั้งการให้การรักษา ส่วนประกอบสำคัญที่ประกอบเป็นกระดูกสันหลังได้แก่

- Vertebral bodies
- Vertebral discs
- Spinal cord and nerve roots
- Muscles


สำหรับตำแหน่งที่มักจะทำให้เกิดอาการปวดได้แก่

- บริเวณกระดูกคอ cervical
- บริเวณกระดูกหน้าอก thorax
- บริเวณกระดูกเอว lumbar


ส่วนกระดูก sacrum เป็นกระดูก 5 ชิ้นเชื่อมติดกันและต่อกับกระกระดูกสะโพกที่เรียกว่า sacroiliac joint


สาเหตุของอาการปวดหลัง

สาเหตุของโรคปวดหลังส่วนใหญ่ไม่ร้ายแรงมักจะเกิดจากหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อาการปวดมักจะเกิดทันที การเคลื่อนไหวบางท่าจะทำให้ปวดมากขึ้นสาเหตุที่พบบ่อยๆได้แก่

- การนั่งผิดท่าเช่น การนั่งหลังโก่ง นั่งบิดๆ
- นั่งขับรถหลังโก่ง
- การยืนที่ผิดท่า
- การยกของผิดท่า
- การนอนบนที่นอนที่นุ่มหรือแข็งเกินไป
- ร่างกายไม่แข็งแรง
- ทำงานมากไป

การไม่ออกกำลังจะทำให้กล้ามเนื้อไม่มีกำลังที่จะทำให้หลังอยู่ในท่าที่ถูกต้องทำให้เกิดการดึงรั้งกล้าม
เนื้อข้างหนึ่งจึงเกิดอาการปวดหลัง อาการปวดอาจจะปวดมากจนกระทั่งไม่สามารถยืนหรือก้ม นอกจาก
นั้นการเคลื่อนไหวที่ผิดวิธีก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคปวดหลัง

การแบ่งชนิดของโรคปวดหลัง

โรคปวดหลังเราจะแบ่งชนิดตามระยะเวลาที่เกิดอาการของโรคกล่าวคือ ปวดหลังแบบเฉียบพลันอาการมักจะไม่เกิน 6 สัปดาห์ ถ้าอาการปวดมากกว่า 12 สัปดาห์เรียกปวดหลังเรื้อรังส่วนระยะเวลาที่ปวดอยู่ระหว่าง 6-12 สัปดาห์เรียก Subacute การที่ต้องแบ่งระยะเวลาก็เพื่อจะบอกการดำเนินของโรค

ผู้ป่วยโรคปวดหลังต้องแจ้งประวัติอะไรบ้าง

การวินิจฉัยโรคปวดหลังต้องอาศัยประวัติที่ละเอียดเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ

- ประวัติเป็นมะเร็ง หากท่านเคยเป็นมะเร็งแม้ว่าจะรักษาแล้วต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจจะเป็นมะเร็งแพร่กระจาย
- น้ำหนักลดลงโดยที่ไม่ได้คุมอาหาร
- การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
- การใช้ยา steroid เพราะหากใช้นานอาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
- การติดยาเสพติด
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- เมื่อพักอาการปวดไม่หาย
- ไข้
- อุบัติเหตุที่เกิดกับหลังเช่น ตกที่สูง อุบัติเหตุมอเตอร์ไซด์ ยกของหนักไป
- โรคกระดูกพรุน
- กลั้นปัสสาวะหรืออุจาระไม่อยู่

การตรวจร่างกาย

หลังจากซักประวัติแล้วแพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อหาสาเหตุของโรคปวดหลัง

- ท่ายืนและการเดิน Gait and Posture ท่ายืนก็อาจจะทำให้เราพบสาเหตุเช่น หลังโก่ง กระดูกหลังคดเดินแล้วขาลาก(หมอนกระดูกทับเส้นประสาท)
- การเคลื่อนไหวของหลัง Range of Motion โดยให้ผู้ป่วยก้ม แอ่นหลัง เอียงหลังออกด้านข้าง บิดเอวหากก้มหน้าแล้วปวดมักจะเกิดจากกล้ามเนื้อหลัง หากแอ่นแล้วปวดอาจจะเกิดจากไขสันหลังตีบ
- กดหาตำแหน่งที่เจ็บบนกระดูกสันหลัง Palpation or Percussion of the Spine หากกดเจ็บบนกระดูกสันหลังอาจจะเกิดโรคตรงบริเวณนั้นเช่น การติดเชื้อ กระดูกหัก
- เดินบนส้นเท้าและลุกขึ้น Heel-Toe Walk and Squat and Rise โดยการใช้ส้นเท้าเดินหรือนั่งยองๆแล้วลุกขึ้น หากไม่สามารถทำได้ให้นึกถึงมีอะไรกดที่ประสาทหลัง
- การตรวจ Straight Leg Raising Test โดยการให้ผู้ป่วยนอนแล้วยกขาขึ้นเมื่อมีอาการปวดวัดมุมระหว่างพื้นกับขา หากมุมนั้นไม่เกิน 60 องศาก็ให้นึกถึงโรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาท
- การตรวจ Reflexes and Motor and Sensory Testing โดยแพทย์จะนำเครื่องมือคล้ายค้อนมาเคาะบริเวณเข่าและข้อเท้า ใช้เข็มทดสอบความรู้สึกของขา

การตรวจรังสี

ผู้ป่วยโรคปวดหลังไม่จำเป็นต้อง x-ray ทุกรายแต่จะเลือกเป็นรายๆไปตามประวัติและการตรวจร่างกายอย่างไรก็ตามมีหลักที่จะพิจารณา x-ray ในผู้ป่วยต่อไปนี้

- อายุมากกว่า 50 ปี
- ได้รับอุบัติเหตุที่หลัง
- มีอาการชาหรืออ่อนแรงที่ขา
- มีน้ำหนักลดโดยที่หาสาเหตุไม่ได้
- ติดยาเสพติดหรือดื่มสุรา
- ประวัติเคยเป็นมะเร็ง
- ใช้ยา steroid
- ไข้มากกว่า 37.8 องศา
- อาการเป็นมากกว่า 1 เดือนยังไม่หายปวด

การป้องกันโรคปวดหลัง

การป้องกันโรคปวดหลังดีที่สุดคือการออกกำลังกายและป้องกันหลังมิให้ได้รับอุบัติเหตุ

1. บริหารร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง เพราะเราไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง การออกกำลังจะต้องค่อยสร้างความแข็งแรงทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง และจะต้องให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดีไม่มีข้อติด การออกกำลังอาจจะทำได้โดยการเดิน การขี่จักรยาน การว่ายน้ำจะทำให้หลังแข็งแรง

2. รักษาน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมไม่ให้อ้วนโดยการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ออกกำลังแบบ aerobic เช่นการวิ่ง ขี่จักรยาน

3. การนั่งหรือยืนให้ถูกท่า เพราะการนั่งหรือการยืนที่ผิดท่าจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง

- การยืนควรจะยืนตัวตรงหลังไม่โก่งหรือคด แนวติ่งหู ไหล่และข้อสะโพกควรเป็นแนวเส้นตรง ไม่ควรยืนนานเกินไปไม่ควรใส่รองเท้าที่มีส้นควรจะมีเบาะรองฝ่าเท้า หากต้องยืนนานควรมีที่พักเพื่อสลับเท้าพัก

- การนั่งจะเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อกระดูกหลังมากที่สุด ควรจะพนักพิงหลังบริเวณเอว ควรจะเป็นเก้าอี้ที่หมุนได้เพื่อป้องกันการบิดของเอว มีที่พักของแขนขณะที่นั่งพักหัวเข่าควรอยู่สูงกว่าระดับข้อสะโพกเล็กน้อย ควรมีเบาะรองเท้า ควรจะมีหมอนเล็กๆรองบริเวณเอว ควรเลือกเก้าอี้ที่ถูกต้อง

- การขับรถโดยเฉพาะการขับรถทางไกล ควรเลื่อนเบาะนั่งให้ใกล้เพื่อป้องกันการงอหลัง หลังส่วนล่างควรจะพิงกับเบาะ เบาะไม่ควรเอียงเกิน 30 องศา เบาะนั่งควรจะยกด้านหน้าให้สูงกว่าด้านหลังเล็กน้อยหากขับรถทางไกลควรจะพักเดินทุกชั่วโมง และไม่ควรยกของหนักทันทีหลังหยุดขับ

- การนอน ที่นอนไม่ควรจะนุ่มหรือแข็งเกินไป ควรจะวางไม้หนา 1/4 นิ้วระหว่างสปริงและฟูกท่าที่ดีคือให้นอนตะแคงและก่ายหมอนข้าง หรือนอนหงายโดยมีหมอนรองที่ข้อเข่า ไม่ควรนอนหงายโดยที่ไม่มีหมอนหนุน หรือนอนตะแคงโดยไม่มีหมอนข้างหรือนอนคว่ำ

- การนั่งที่ถูกต้อง ต้องนั่งให้หลังตรงหลังพิงพนักเก้าอี้ เก้าอี้ต้องไม่สูงเกินไป ระดับเข่าควรจะอยู่สูงกว่าระดับสะโพก อาจจะหาเก้าอี้เล็กรองเท้าเวลานั่ง

- การยืนนานๆ ควรจะมีเก้าอี้หรือโต๊ะเล็กไว้วางเท้าข้างหนึ่ง




ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคปวดหลัง


1. หลีกเลี่ยงจากการงอเอว ให้งอข้อสะโพกและเข่าร่วมด้วย
2. หลีกเลี่ยงจากการยกของหนักโดยเฉพาะที่อยู่เกินเอว
3. หันหน้าเข้าสิ่งของทุกครั้งที่จะยกของ
4. ถือของหนักชิดตัว
5. ไม่ยกหรือพลักของที่หนักเกินตัว
6. หลีกเลี่ยงการยกของที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน
7. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
8. เปลี่ยนท่าบ่อยๆ
9. การถูพื้น ดูดฝุ่น การขุดดิน ควรจะถือเครื่องมือไว้ใกล้ตัว ไม่ก้าวยาวๆหรือเอื้อมมือหยิบของ
10. ให้นั่งสวมถุงเท้า รองเท้า ไม่ยืนเท้าข้างเดียวสวมรองเท้าหรือถุงเท้า
11. ใช้รองเท้าส้นเตี้ย
12. หลีกเลี่ยงการแอ่นหรืองอหลัง เช่นการแอ่นหลังไปข้างหลังหรือก้มเอานิ้วมือจรดพื้น
13. เมื่อจะไอหรือจามให้กระชับหลังและงอหัวเข่า
14. เวลาปูเตียงให้คุกเข่า

การรักษา

เป็นการยากสำหรับผู้ป่วยที่จะประเมินว่าอาการปวดหลังเกิดจากกล้ามเนื้อหรือเกิดจากโรคอื่นแต่มีข้อแนะ
นำว่าควรจะพบกับแพทย์หากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย

- ปัสสาวะลำบาก
- มีอาการชาบริเวณหลังหรือบริเวณอวัยวะเพศ
- มีอาการชาและอ่อนแรงขาข้างหนึ่ง
- มีอาการปวดแปล๊บที่ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
- เดินเซ











ขอขอบคุณที่มา : http://www.siamhealth.net
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ