PDF File
  IMAGE File
  Download ZipFile


 
 


ฉบับที่ 3  เนื้อหา : นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร,จิตปราณี วาศวิท และคณะ
 
หน้าที่ 1
    
                   ในปีหนึ่งๆ  ประชากรในประเทศของเราต้องจ่ายเงิน เพื่อการรักษาพยาบาลตนเองไปมากน้อยเพียงใด? อาจมีผู้สงสัยว่าเมื่อเราจ่ายภาษีแล้ว ทำไมเรายังต้องมารับภาระในการจ่ายเงินเพื่อซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทเอกชนอีก คำถามเหล่านี้ทำให้ต้องมีการค้นหาคำตอบ ว่าในปีหนึ่งๆ ประเทศได้จ่ายเงินไปมากน้อยเพียงใดเพื่อสุขภาพของประชาชน ภาระการจ่ายเพื่อสุขภาพตกอยู่กับใคร? เพียงใด? การจัดทำบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติจะช่วยตอบคำถามนี้ได้

                   บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Account – NHA)  เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่แสดงให้เห็นว่า  ประเทศ
หนึ่งๆได้ใช้ทรัพยากรของประเทศเพื่อกิจกรรมด้านสุขภาพมากน้อย
เพียงไร ใครเป็นผู้จ่าย จ่ายเพื่อกิจกรรมใดและไปสู่ผู้จัดบริการใด
อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น  คือ จากเงินที่ประชาชนจ่ายเป็นภาษีแล้ว
รัฐบาลนำมาจัดบริการเพื่อสุขภาพของประชาชนในประเทศ  หรือการที่ประชาชนจ่ายเพื่อการซื้อประกันสุขภาพของตนเองหรือ
สมาชิกในครอบครัว สัดส่วนการจ่ายที่รัฐบาลจ่ายและที่ประชาชนจ่ายเพื่อการซื้อประกันสุขภาพของตนเองนั้นส่วนใดมากน้อยกว่ากัน ดังนั้นบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดนโยบายสาธารณสุขของประเทศ


  

                   แนวคิดของบัญชีรายจ่ายสุขภาพ   คือ ครัวเรือนและสถานประกอบการจ่ายภาษี
ให้รัฐ แล้วรัฐโดยกระทรวงการคลังนำมาจัดสรรให้กับหน่วยงานกลาง  ทั้งหน่วยงานราชการส่วน
กลางและส่วนท้องถิ่น เพื่อจ่ายแทนประชาชนในด้านสุขภาพ  อีกส่วนหนึ่งคือรัฐได้จัดสวัสดิการ
รักษาพยาบาลให้กับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจแต่ครัวเรือนและสถานประกอบการ นอก
จากนี้ก็ยังมีการจ่ายเพื่อซื้อบริการรักษาพยาบาลเองอีกทั้งจากสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชน
โดยอาจจ่ายเพื่อซื้อบริการโดยตรง หรือจ่ายเงินซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทประกันเอกชน รวม
ทั้งการที่ประเทศได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยผ่านทั้งหน่วยงานราชการและองค์กร
เอกชน มูลนิธิต่างๆอีกมากมาย และนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว  ยังมีการประกันภาคบังคับคือ
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  ที่ผู้ใช้ยวดยานพาหนะจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนสำหรับจ่าย
ให้กับผู้ประสบภัยจากรถ ้

                   วิวัฒนาการของบัญชีรายจ่ายสุขภาพ   กองบัญชีประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รวบรวมและรายงานรายจ่ายสุขภาพโดยยึดแนวทางและระบบของ United Nations System of National Account (UN-SNA) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 แต่ข้อมูลดังกล่าว ยังไม่สามารถทำการจำแนกรายจ่ายสุขภาพตามประเภทกิจกรรม (การรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ) และตามประเภทสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนได้ จึงทำให้ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการวางนโยบายได้เท่าที่ควร

                   แนวคิดของบัญชีรายจ่ายสุขภาพ คือ ครัวเรือนและสถานประกอบการจ่ายภาษี
ให้รัฐแล้วรัฐโดยกระทรวงการคลังนำมาจัดสรรให้กับหน่วยงานกลาง ทั้งหน่วยงานราชการส่วน
กลางและส่วนท้องถิ่นเพื่อจ่ายแทนประชาชนในด้านสุขภาพ อีกส่วนหนึ่งคือรัฐได้จัดสวัสดิการ
รักษาพยาบาลให้กับข้าราชการ และ พนักงานรัฐวิสาหกิจ  แต่ครัวเรือนและสถานประกอบการ
นอกจากนี้ก็ยังมีการจ่ายเพื่อซื้อบริการรักษาพยาบาลเอง อีกทั้งจากสถานพยาบาลภาครัฐและ
เอกชน โดยอาจจ่ายเพื่อซื้อบริการโดยตรง   หรือ จ่ายเงินซื้อประกันสุขภาพจากบริษัทประกัน
เอกชนรวมทั้งการที่ประเทศได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศโดยผ่านทั้งหน่วยงานราชการ
และองค์กรเอกชนมูลนิธิต่างๆอีกมากมายและนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วยังมีการประกันภาค
บังคับคือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่ผู้ใช้ยวดยานพาหนะจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุน
สำหรับจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากรถ
 
                   สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  สนับสนุนการวิจัยเพื่อให้มีการพัฒนาการจัดทำระบบบัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา โดยในระยะแรก วิทยาลัยการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้จัดจัดทำ บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2537, 2539 และ 2541 ต่อมา สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ เป็นผู้จัดทำ บัญชีรายจ่ายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2537-2544



รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง












๏ปฟHISO-เธชเธณเธ™เธฑเธเธ‡เธฒเธ™เธžเธฑเธ’เธ™เธฒเธฃเธฐเธšเธšเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธฒเธฃเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ