ปีที่ 2 ฉบับที่ 19 ธันวาคม 2549 เนื้อหา : นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล , นพ.ณรงค์ กษิติประดิษฐ์ , อรพิน ทรัพย์ล้น |
หน้าที่ 1 |
อัตราตาย ระดับจังหวัดมีความสำคัญในการใช้เปรียบเทียบความ แตกต่างของการตายโดยเฉพาะรายสาเหตุระหว่างจังหวัดซึ่งจะ ช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพของจังหวัดและ ช่วยในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพรวมทั้งจัดสรรทรัพยากร สุขภาพให้ตรงกับปัญหาสุขภาพของพื้นที่วมทั้งช่วยในการวางแผน สุขภาพระดับจังหวัด การคำนวณอัตราตาย ระดับจังหวัด ใช้ข้อมูลการตายจากฐาน ข้อมูลมรณบัตร(กระทรวงมหาดไทย)ปีพ.ศ. 2549 (ระหว่างเดือน มกราคม ถึง ตุลาคม พ.ศ.2549 รวม 10 เดือน)ซึ่งกลุ่มข้อมูลข่าว สารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำมาวิเคราะห์อัตราตายเบื้องต้น รายสาเหตุ ระดับจังหวัด และ ระดับภาค 9ภาคและกรุงเทพมหานคร(จังหวัดในแต่ละภาค แสดง ในแผนที่) |  | |
| อัตราตาย จากมะเร็งตับสูงสุดที่ ภาคอีสานตอนบน ภาคอีสาน ตอนล่าง และภาคเหนือตอนบน ตามลำดับ โดยภาคใต้ตอนบน และตอนล่าง มีอัตราตายต่ำสุด มะเร็งปอดมีอัตราตายสูงสุดที่ ภาคหนือตอนบนและกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอัตราตายที่ใกล้ เคียงกันโดยภาคใต้ตอนล่างมีอัตราตายต่ำสุดมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านมมีอัตราตายสูงสุดที่ กรุงเทพมหานคร เบาหวาน มีอัตราตายสูงสุดที่ ภาคอีสานตอนบน โรคหัวใจและ โรคหลอดเลือดสมอง มีอัตราตายสูงสุดที่ กรุงเทพมหานคร และต่ำสุดที่ ภาคอีสานตอนบน อุบัติเหตุจราจรมีอัตราตายสูง สุดที่ภาคตะวันออก ต่ำสุดที่กรุงเทพมหานคร โรคเอดส์มีอัตรา ตายสูงสุดที่ ภาคเหนือตอนบน ต่ำสุดที่ภาคใต้ตอนล่าง การฆ่า ตัวตายมีอัตราตายสูงสุดที่ ภาคเหนือตอนบน และต่ำสุดที่กรุง เทพมหานคร | |
 |
 |
การแบ่งเฉดสีในแผนที่ แบ่งโดยเรียงอัตราตาย 76 จังหวัด แล้วแบ่งจังหวัดออกเป็น 10 กลุ่ม (decile) เท่าๆกันกลุ่มละ 7-8 จังหวัด |
โรคเอดส์
โรคเอดส์ มีอัตราตายสูงสุดที่จังหวัดภูเก็ต ลพบุรี และพะเยา โดยจังหวัดส่วนใหญ่ที่มีอัตราตายสูง จะอยู่ในภาคเหนือตอนบน (เชียงราย เชียงใหม่) ภาคตะวันออก (ระยอง จันทบุรี ชลบุรี) ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน |
 |
ที่ |
จังหวัด |
อัตรา |
1 |
ภูเก็ต |
27.3 |
2 |
ลพบุรี |
22.2 |
3 |
พะเยา |
20.7 |
4 |
เชียงราย |
20.3 |
5 |
ระยอง |
18.6 |
6 |
เชียงใหม่ |
18.2 |
7 |
จันทบุรี |
16.7 |
8 |
นครศรีธรรมราช |
13.3 |
9 |
สมุทรปราการ |
13.0 |
10 |
ชลบุรี |
12.9 |
 |
|
 |