ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 เมษายน 2549 เนื้อหา : นพ.พินิจ ฟ้าอำนวยผล , นพ.ณรงค์ กษิติประดิษฐ์ , อรพิน ทรัพย์ล้น |
หน้าที่ 1 |
อัตราตาย ระดับจังหวัด มีความสำคัญในการใช้เปรียบเทียบ ความแตกต่างของการตายโดยเฉพาะรายสาเหตุ ระหว่างจังหวัด ซึ่งจะช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพของจังหวัด และช่วยในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ รวมทั้งจัดสรรทรัพยากรสุขภาพ ให้ตรงกับปัญหาสุขภาพของพื้นที่ รวมทั้งช่วยในการวางแผนสุขภาพระดับจังหวัด
|
 |
การคำนวณอัตราตาย ระดับจังหวัด ใช้ข้อมูลการตายจากฐานข้อมูลมรณบัตร(กระทรวงมหาดไทย) ปีพ.ศ. 2547 ซึ่งกลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้นำมาวิเคราะห์อัตราตายรายสาเหตุ ระดับจังหวัด และคำนวณอัตราตายในระดับเขต 19 เขต และกรุงเทพมหานคร (จังหวัดในแต่ละเขต แสดงในแผนที่ ตัวเลขในวงเล็บคือจำนวนจังหวัดในแต่ละเขต)
อัตราตาย จากโรคเอดส์สูงสุดที่เขต1 เขต 9 และเขต 5 อัตราตายจากอุบัติเหตุสูงสุดที่เขต 9 เขต 17 และเขต 15 อัตราตายจากการฆ่าตัวตายสูงสุดที่เขต 1 เขต 9 และเขต 5 จะเห็นว่า 3 เขตแรกที่มีอัตราตายสูงสุดจากโรคเอดส์และฆ่าตัวตาย คือเขตเดียวกัน |
|
 |
อัตราตาย จากมะเร็งตับสูงสุดที่เขต 11 เขต 12 และเขต 10 อัตราตายจากมะเร็งปอด สูงสุดที่เขต 1 กรุงเทพฯ และเขต 9 อัตราตายจากมะเร็งปากมดลูกสูงสุดที่กรุงเทพฯ เขต 9 และเขต 7 อัตราตายจากมะเร็งเต้านมสูงสุดที่กรุงเทพฯ เขต 5 และเขต 9 จะเห็นว่ากรุงเทพมีอัตราตายที่สูงสุด จากมะเร็งถึง 3 ชนิด
|
รายงานถูกเปิดอ่านทั้งหมด ครั้ง |
|