เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ








"พรุน" ผลไม้บำบัดอาการท้องผูก [prune]






                                                                                    เภสัชกรหญิงอินทิรา วงศ์อัญมณีกุล


"ท้องผูก" หมายถึงอาการของการถ่ายอุจจาระลำบาก ถ่ายนาน ๆ ครั้ง หรือถ่ายอุจจาระแข็ง มีอาการปวดท้องขณะถ่าย หรือรู้สึกถ่ายไม่หมด เป็นได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ท้องผูก มีหลายประการ แต่ที่สำคัญคือ เกิดจากการรับประทานอาหาร ที่มีกากใย หรือไฟเบอร์น้อย ทำให้แรงกระตุ้น ที่ทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว ลดน้อยลง เกิดอุจจาระคั่งค้างในลำไส้ใหญ่ หรือการดื่มน้ำน้อย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการหย่อนสมรรถภาพ ของกล้ามเนื้อหูรูดต่างๆ ทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะขับถ่ายถดถอย ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ล้วนเป็นที่มาของอาการท้องผูกทั้งสิ้น และหากไม่ได้รับการแก้ไข อย่าง ถูกวิธี อาจทำให้เป็นอันตรายได้


"พรุน" เป็นผลไม้ที่อุดมด้วยไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารสูงกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ มีคุณสมบัติ สามารถอุ้มน้ำไว้ระหว่างใย จึงทำให้กากอาหารนิ่ม และมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงาน ของลำไส้ ให้มีการเคลื่อนไหวบีบตัว ได้ดีขึ้น จึงทำให้ท้องไม่ผูก องค์ประกอบที่วิเศษ อีกอย่างคือ เป็นเส้นใยที่ละลายน้ำได้ จึงทำหน้าที่ ไปขัดขวาง การดูดซึมของไขมัน และน้ำตาลในเลือด ซึ่งเหมาะกับผู้สูงอายุ ที่เป็นเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ที่อาจเกิดอันตรายได้หากมีการเบ่งอุจจาระแรง


นอกจากไฟเบอร์แล้ว "พรุน" ยังเป็นผลไม้ที่มีธาตุเหล็กสูง นอกจากนี้ยังมีวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส
แมกนีเซียมและสังกะสี


ดังนั้นการรับประทานพรุนเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นพรุนสด หรือพรุนสกัดเข้มข้น นอกจากจะช่วยในเรื่องระบบการขับถ่าย แก้ไขอาการท้องผูกได้แล้ว ยังช่วยขจัดสารพิษ ออกจากร่างกาย ลดความอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ลดความเครียด และยังช่วยให้ผิวพรรณดีอีกด้วย จึงเป็นผลไม้ที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย




ขอขอบคุณที่มา : http://www.elib-online.com/doctors/prune.html
                           ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 


 











 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ