เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






สุขภาพจิตกับโรคหลอดเลือดสมอง





 




สุขภาพจิตกับโรคหลอดเลือดสมอง ปฏิกิริยาของผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกันไป ขึ้นกับ

1. พื้นฐานบุคลิกภาพเดิมตั้งแต่เด็ก การอบรมเลี้ยงดู ประสบการณ์ในชีวิตทำให้คนเรารับรู้และรู้สึกไม่เหมือนกัน

บุคลิกภาพที่ดีของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมีปฏิกิริยาดังนี้

- รู้ตัวเองว่าป่วย และต้องการการรักษา
- แสวงหาการรักษาอย่างถูกต้อง
- เกิดปฏิกิริยาเหมาะสมกับอาการ ความ เจ็บป่วย
- เชื่อมั่นศรัทธาในตัวผู้รักษาและ ยอมรับการรักษา
- สามารถสร้างความสัมพันธ์กับ ผู้รักษาได้ยืนนาน
- ยอมรับในสภาพความเจ็บป่วย ของตนเอง อดทนต่อสภาพนี้ได้
- เชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ ของผู้รักษา
- รู้จักวิเคราะห์ตนเอง และเข้าใจวิธี ป้องกันการเกิดโรค

3. อายุของผู้ป่วย มักเกิดในวัยผู้ใหญ่ ถ้าเป็นผู้สูงอายุมักมีปัญหา ในการปรับตัวเข้ากับโรค การเปลี่ยนสถานที่และอาจวิตกกังวล มากกับ การถูกทอดทิ้ง

4. ความเชื่อและทัศนคติของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางคนเชื่อไสยศาตร์ อาจปฏิเสธการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบันได้

5. ปฏิกิริยาของบุคคลในครอบครัว ผู้ป่วยอาจถูกมองเป็น คนผิดที่เจ็บป่วย เป็นสาเหตุของปัญหาภายในบ้าน หรือเป็นที่รังเกียจ ของคนอื่น


ปฏิกิริยาทางจิตใจที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

1. อารมณ์วิตกกังวล อาจพบในระยะแรกของโรคเกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ว่าตนเองป่วยเป็นโรคอะไร สาเหตุจากอะไร ต้องรักษาอย่างไร เสียค่าใช้จ่าย มากน้อยเท่าไร รักษาหายหรือไม่ ซึ่งอาจแสดงออกมาทางร่างกายคือ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ พฤติกรรมถดถอยเหมือนเด็ก

2. อารมณ์เศร้า อาการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่นานทำให้ผู้ป่วยเกิดความเบื่อหน่าย ผิดหวัง แยกตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เบื่อกิจกรรมทุกอย่าง ซึมเศร้า ท้อแท้ อยากตาย ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองไม่มีโอกาส ไม่มีความหวังอีกต่อไป อยู่ไปก็เป็นภาระของครอบครัว ทำให้ทุกคนลำบาก รู้สึกตนเองไม่มีค่า และมีความผิดที่เป็นแบบนี้

3. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป

- พฤติกรรมต่อต้าน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ จะปฏิเสธการดูแลจากคนอื่น ไม่ยอมให้ช่วยเหลือ ไม่ยอม
  กินยา หรือฉีดยา
- พฤติกรรมถดถอย อ้อน เรียกร้องความช่วยเหลือทั้งๆ ที่ตนเองทำได้
- พฤติกรรมก้าวร้าว ควบคุมตัวเองไม่ได้ เอาแต่ใจ เมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง ทันที ก็เกิดความโกรธ
  และแสดงความก้าวร้าวต่อผู้รักษาหรือญาติพี้น้อง
- พฤติกรรมนอนไม่หลับ
- พฤติกรรมหลีกเลี่ยง เพราะเชื่อว่าจะทำให้โรคแย่ลง ไม่กล้าทำงาน ไม่กล้าเดินทาง บางคน ไม่อยาก
  ตกอยู่ในสภาพเจ็บป่วย เลยหลีกเลี่ยงไม่มาพบ แพทย์ตามนัด ไม่ยอมกินยาตามกำหนด
- พฤติกรรมทางเพศ อาจมีการเสื่อมสมรรถนะทางเพศได้


การป้องกันและรักษา

การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วยจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วย การที่ผู้รักษาให้ความรู้ความเข้าใจต่อโรคแก่ผู้ป่วยอยู่ เสมอ จะทำให้ผู้ป่วยกล้า ถามมากขึ้น และเกิดความเชื่อมั่น เชื่อใจศรัทธาและเชื่อฟัง ต่อการตรวจรักษารูปแบบต่างๆ การที่แพทย์ ช่วยรับฟังปัญหาต่างๆ ของผู้ป่วยด้วยความเห็นอกเห็นใจ และอยากช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างจริงใจ จะทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายลงได้ นอกจากนี้ควรให้ครอบครัวมีส่วนช่วยเหลือ ด้วย ในผู้ป่วย ที่มีญาติเยี่ยมสม่ำเสมอจะรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ถูกทอดทิ้ง และมีกำลังใจ การจัดสิ่งแวดล้อม ให้ผู้ป่วยเกิดความสุขความสบายใจ และ อำนวยความสะดวกต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน จะช่วยผ่อนคลายความทุกข์ใจจากทุพลภาพที่เกิดขึ้นได้รวมทั้งการรักษาด้วยยา เพื่อช่วย ลดอาการ หรือพฤติกรรมบางอย่างตามความจำเป็นร่วมด้วย











ขอขอบคุณที่มา : http://203.157.32.21/Section3/311001e.htm
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ