picture
ผลสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชน
โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 2 พ.ศ. 2539 - 2540


สุขภาพของประชาชนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาและความั่นคงของประเทศ การสภาวะสุขภาพประชาชนไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2539-2540 นี้ เป็นการสำรวจครั้งที่สองต่อเนื่องจากครัังแรกที่ได้ดำเนินการมาแล้วในปี พ.ศ. 2534 ที่ต้องการทราบสภาวะสุขภาพของประชาชน ในอันที่จะนำความรู้นั้น มาวางแผน และจัดการระบบการแพทย์ การสาธารณสุข ให้กับประชาชน ให้มีประสิทธิภาพที่สุด อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเศรษฐกิจ สังคม กลวิธีการสำรวจ และการจัดองค์กร ทำให้รูปแบบการสำรวจจำต้องเปลี่ยนแปลงไป ผลที่ได้ในครั้งนี้จึงไม่อาจจะนำไปเปรียบเทียบกับผลการสำรวจที่ผ่านมาแล้วได้โดยตรง

การสำรวจทั้งสองครั้งใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตลอดจนมองปัญหาในกลุ่มอายุต่าง ๆ ของประชากร เช่นเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างตรงที่การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ เป็นตัวแทนของประชาชนไทย โดยในการสำรวจครั้งนี้ใช้รายชื่อบุคคลตัวอย่าง ที่สุ่มมาจากการสำรวจการย้ายถิ่นประชากร และกำหนดขนาดตัวอย่าง ให้สามารถตอบคำถามในระดับภาค และกรุงเทพมหานครได้ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมองสภาวะสุขภาพ ทั้งด้านบวก และด้านลบ โดยเน้น เรื่องพัฒนาการ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องเชาวน์ปัญญา ในเด็กวัยเรียน เรื่องสุขภาพ และ โรคที่ตรวจพบได้ง่าย สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน และเรื่องภาวะพึ่งพิงสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการสำรวจ 4 โครงการ พร้อม ๆ กันไป ใน 5 ท้องถิ่น (4 ภาค และ กรุงเทพมหานคร)

ผลการสำรวจ แสดงให้เห็นชัดว่า พัฒนาการทางสังคมเศรษฐกิจที่ผ่านมาอย่างมากมาย ไม่ได้เอื้อประโยชน์ด้านสุขภาพ ให้กับประชาชนในสัดส่วนเดียวกันเลย ตรงกันข้าม ประชากรในเขตเมือง ดูเหมือนจะมีสภาวะสุขภาพโดยรวมด้อยกว่าประชากรชนบท และที่น่าเป็นห่วงยิ่งก็คือ ค่าเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยเรียน ต่ำกว่าที่ควรเป็น นอกจากนี้ความตระหนักของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ก็มีบางส่วนไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของเด็ก สำหรับผู้สูงอายุนั้น ก็ได้ข้อมูลชัดเจนว่า ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ก็มีภาวะพึ่งพิงสูงขึ้นตามไปด้วย

จัดทำโดย  ""
สนับสนุนโดย   มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ , กระทรวงสาธารณสุข
สารบัญรายงาน

  ส่วนนำรายงาน
กิติกรรมประกาศ บทคัดย่อ Abstract สรุปสาระสำคัญ สารบัญ
  บทที่ 1 ความเป็นมา หลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์
- ผลการศึกษา ที่ผ่านมา
- กรอบแนวคิดของการสำรวจครั้งนี้
- วัตถุประสงค์ทั่วไป
- วัตถุประสงค์เฉพาะ
  บทที่ 2 ระเบียบวิธีการวิจัย
- ภาพรวม
- วิธีดำเนินงาน
- การจัดองค์กร
- ข้อมูล ที่ศึกษา
- จำนวนตัวอย่างและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
- การเก็บข้อมูล ประมวลผล วิเคราะห์ และสรุปผล
- การเก็บรักษาข้อมูล การสังเคราะห์ความรู้ และนำไปใช้
  บทที่ 3 ผลการดำเนินงาน
- เครื่องมือสำรวจ
- คณะสำรวจ
- ภาพรวม ผลที่ได้จากการสำรวจ
  บทที่ 4 สภาวะสุขภาพ เด็กปฐมวัย
- ความนำ
- ส่วนที่ 4.1 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มประชากรอายุ 0-5 ปี
           4.1.1 อายุของกลุ่มประชากร
           4.1.2 การนับถือศาสนา
           4.1.3 บุคคลที่อุปการะเด็กและสถานภาพการสมรสของบิดาและมารดา
           4.1.4 ระดับการศึกษาของบิดา มารดา และผู้อุปการะที่ไม่ใช่บิดามารดา
           4.1.5 อาชีพของบิดามารดา
           4.1.6 รายได้ครอบครัว

- ส่วนที่ 4.2 การเลี้ยงดูเด็ก
           4.2.1 ผู้เลี้ยงดูเด็กในช่วงกลางวัน
           4.2.2 ระดับการศึกษาของผู้เลี้ยงดูเด็ก
           4.2.3 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ

- ส่วนที่ 4.3 ประวัติสุขภาพเด็ก
           4.3.1 การเกิด และน้ำหนักแรกเกิด
           4.3.2 ประวัติโภชนาการ
           4.3.3 การเจ็บป่วย
           4.3.4 การได้รับการตรวจสุขภาพ

- ส่วนที่ 4.4 การตรวจร่างกาย
           4.4.1 ภาวะโภชนาการ
           4.4.2 การตรวจร่างกาย

- ส่วนที่ 4.5 การประเมินพัฒนาการของเด็ก
  บทที่ 5 สภาวะสุขภาพ เด็กวัยเรียน
- ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มประชากรอายุ 6-12 ปี
- การเจริญเติบโตและสุขภาพกาย
- ผลการตรวจร่างกาย
- ลักษณะการใช้ชีวิตและพฤติกรรม
- ผลการทดสอบระดับสติปัญญา
- ข้อสรุปและการวิเคราะห์
  บทที่ 6 สภาวะสุขภาพ ประชากรวัยแรงงาน
- ส่วนที่ 1 ลักษณะของประชากรที่สำรวจ
- ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป และการใช้บริการสุขภาพ
- ส่วนที่ 3 การศึกษาพฤติกรรมทางเพศ ของชาย อายุ 13-59 ปี
- ส่วนที่ 4 ข้อมูลกลุ่มสตรีวัยแรงงาน อายุ 13-59 ปี
- ส่วนที่ 5 การตรวจ วัดร่างกาย และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  บทที่ 7 สภาวะสุขภาพ ประชากรสูงอายุไทย
- วัตถุประสงค์
- ประชากรศึกษา
- นิยามและเครื่องมือที่ใช้
- การวิเคราะห์
- หัวข้อผลการวิจัย
- ลักษณะประชากรสูงอายุจากการสำรวจ
  บทที่ 8 ภาวะทุพพลภาพของประชากรสูงอายุไทย
- ความชุกและความรุนแรงของภาวะทุพพลภาพระยะยาว
- ภาวะทุพพลภาพระยะยาวและความรุนแรงในประชากรกลุ่มต่างๆ
- ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะทุพพลภาพระยะยาวกับโรค และภาวะบกพร่องที่ปรากฏ
- ภาวะทุพพลภาพระยะยาวกับอุบัติเหตุ
- การพิจารณาลำดับความสำคัญของโรคและภาวะบกพร่องที่สัมพันธ์กับภาวะทุพพลภาพระยะยาว
- ภาวะทุพพลภาพระยะยาวกับความดันโลหิต
- ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของภาวะทุพพลภาพระยะยาว
- การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นใหม่
- ภาวะทุพพลภาพระยะสั้น และภาวะทุพพลภาพทัง้หมด
- สรุป
- เอกสารอ้างอิง
  บทที่ 9 ภาวะพึ่งพาในประชากรสูงอายุ
- เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
- วิธีกาารใช้ เครื่องมือในการสำรวจภาวะพึ่งพา
- ผลการศึกษาภาวะพึ่งพา
- ระดับภาวะพึ่งพาต่อการดูแลสุขลักษณะ
- สรุป
- เอกสารอ้างอิง
  บทที่ 10 กลุ่มอาการสมองเสื่อมในประชากรสูงอายุไทย
- ความชุกของกลุ่มอาการสมองเสื่อม
- ความชุกของกลุ่มอาการสมองเสื่อมในประชากรสูงอายุ ในช่วงอายุต่างๆ
- ปัจจัยอิสระ ทางสังคมและเศรษฐกิจของกลุ่มอาการสมองเสื่อม
- สรุป
- เอกสารอ้างอิง
  บทที่ 11 อายุคาดหวังทางสุขภาพ
- อายุคาดหวังที่ปราศจากภาวะทุพพลภาพ
- อายุคาดหวังที่ยังดูแลตนเองได้
- อายุคาดหวังที่ปราศจากสมองเสื่อม
- อายุคาดหวังทางสุขภาพ และดัชนีสถานะสุขภาพของประชากร
- สรุป
- เอกสารอ้างอิง
  บทที่ 12 โรคความดันโลหิต สูงในประชากรสูงอายุไทย และภาพสะท้อนคุณภาพการบริการ
- โรคความดันโลหิตสูงกับกลุ่มอาการสมองเสื่อม ภาวะทุพพลภาพระยะยาว และภาวะพึ่งพา
- ความชุกของโรค ความดันโลหิตสูงในประชากรสูงอายุ ในช่วงอายุต่างๆ
- ความสัมพันธ์ระหว่างโรคความดันโลหิตสูงกับภาวะทุพพลภาพระยะยาว
- สรุป
- เอกสารอ้างอิง
  บทที่ 13 อภิปรายและข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะด้านการสาธารณสุข
           - สำหรับเด็กปฐมวัย
           - สำหรับเด็กวัยเรียน
           - สำหรับประชากรวัยแรงงาน
           - สำหรับผู้สูงอายุ

- ข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการ
           - ข้อสังเกดเรื่องเครื่องมือสำรวจ
           - วิธีการจัดสรรทรัพยากร
           - การใช้ผลการสำรวจเพื่อปรับนโยบาย

- ข้อแนะนำสำหรับการสำรวจต่อไป
  ภาคผนวก
- ภาคผนวก 1 แบบเก็บข้อมูล
- ภาคผนวก 2 รายชื่อผู้ประสานงาน และทีมเก็บข้อมูล
- ภาคผนวก 3 คู่มือการใช้แบบประเมินพัฒนาการเด็กวัย 0-5 ปี
- ภาคผนวก 4 คู่มือการใช้ และแปลผล แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาชนิดที่ไม่ใช้ภาษา
- ภาคผนวก 5 คณะกรรมการอำนวยการ
- ภาคผนวก 6 คณะกรรมการวิชาการ