HISO
picture



รายงานสุขภาพคนไทย 2562
“สื่อสังคม สื่อสองคม”

12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง
10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ
4 ผลงานดีๆ เพื่อสุขภาพคนไทย

คนจำนวนหนึ่งในสังคมกลายเป็นประชากรที่มี “ความเปราะบาง” เนื่องจาก สถานภาพทางกฎหมาย เศรษฐสังคม เพศและเพศวิถี สุขภาพและความพิการ และวัยของบุคคล รวมไปถึงการถูกแบ่งแยกและกีดกัน ทางสังคม เช่น การตีตรา การเลือกปฏิบัติ ถูกหาประโยชน์ การได้รับโอกาส ความคุ้มครองรวมถึงหลักประกัน ทางสุขภาพ การศึกษา บริการสาธารณะ เป็นพลังสำคัญ ที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งและลดความเปราะบางได้ สุขภาพคนไทยฉบับนี้ นำเสนอ “12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพ ประชากรเปราะบาง” โดย 2 หมวดแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ประชากรข้ามชาติกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย และ ประชากรไทยข้ามชาติที่ทำงานหรือใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ หมวด 3-6 เป็นเรื่องเกี่ยวกับประชากรกลุ่มที่มีความเปราะบาง และความเสี่ยงจากสถานภาพทางสังคม เพศและเพศวิถี และเศรษฐกิจ หมวด 7-9 เป็นเรื่องเกี่ยวกับประชากรกลุ่มที่ มีความเปราะบาง และความเสี่ยงจากสถานภาพทางสุขภาพ และความพิการ หมวด 10-12 เกี่ยวกับประชากรกลุ่มที่มี ความเปราะบางและความเสี่ยงจากสถานภาพทางวัย

สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ ได้รวบรวมเรื่องเด่นในปี 2561 มานำเสนอ เพื่อให้สังคมได้เรียนรู้ และวิเคราะห์ปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นไปพร้อมกันกับเรา โดยได้หยิบยกมา 10 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1) การยืดเยื้อของการยกเลิกใช้พาราควอตในประเทศไทย 2) การระบาดหนักของวัณโรค 3) การทุจริตเงินสงเคราะห์ในกระทรวง พม. 4) ปัญหาการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ 5) การปลดล็อคกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ 6) การระบาดของพิษสุนัขบ้ากับการตีความทางกฎหมาย 7) เครือข่ายเมจิกสกิน กับการคุ้มครองผู้บริโภค 8) ภารกิจกู้ภัยระดับโลก ช่วย 13 ชีวิตออกจากถ้ำขุนน้ำนางนอน 9) โศกนาฏกรรม “เรือล่มภูเก็ต 2561” บทเรียนท่องเที่ยวไทย และ 10) การอุบัติซ้ำของโรคหัด พร้อมทั้ง 4 ผลงานดีๆ เพื่อสุขภาพคนไทย

“สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล บทความพิเศษประจำฉบับ 2562 นำท่านผู้อ่านเข้าสู่ยุคแห่ง โลกโซเชียล ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ จนทำให้เราคล้ายกับเป็น “มนุษย์สองโลก” เราชวนท่านย้อนเวลาไปดูว่า นวัตกรรมสื่อสังคมออนไลน์กำเนิดขึ้นได้อย่างไร มีบทบาทต่อสังคมมนุษย์มากน้อยเพียงใด และสื่อสังคมประเภทใดที่ยังอยู่ และได้รับความนิยม หรือหมดความนิยมไปแล้วจนไม่มีใครเคยรู้จัก ซึ่งท่านจะได้เรียนรู้จากบทความนี้ จากนั้นนำท่านกลับ สู่โลกความจริงในศตวรรษที่ 21 ที่ประชากรทั่วโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสถิติการใช้สื่อสังคมก็ไต่ระดับสูงขึ้น ตามไปติดๆ สะท้อนถึงความตื่นตัว และความกระหายต่อนวัตกรรมสื่อออนไลน์ สังคมไทยเองก็มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในอัตราที่สูงเช่นกัน นัยนี้บอกอะไรกับสังคมบ้าง ท่านต้องหาคำตอบในบทความนี้ ท้ายที่สุดประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนต้องการ สื่อสาร คือ สื่อสังคมกับสุขภาวะ นั้นเกี่ยวโยงกันในมิติใดบ้าง โดยยกกรณีตัวอย่างเพื่อให้สามารถเห็นภาพและวิเคราะห์ ไปพร้อมกัน เป้าหมายของเรา เพื่อกระตุ้นให้สังคมหันกลับมาตั้งสติในการใช้ Social Media อย่างมีความหมาย เพื่อไม่ให้ ส่งผลเสียต่อสุขภาวะของท่านและสังคมของท่าน

จัดทำโดย    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.)
สนับสนุนโดย    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
สารบัญรายงานสุขภาพคนไทย 2562

ส่วนนำหนังสือ
  ส่วนนำรายงานสุขภาพคนไทย 2562
12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง
  ประชากรข้ามชาติในไทย
  คนไทยในต่างแดน
  ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด
  กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ
  คนจนและผู้มีรายได้น้อย
  ครอบครัวเปราะบาง
  คนพิการ
  ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยวัณโรค
  กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต
  เด็กเปราะบาง
  วัยรุ่น
  ผู้สูงอายุ
10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ
  พาราควอตยืดเยื้อ คณะกรรมการ วัตถุอันตรายไม่ยอมยกเลิกการใช้
  จับตาวัณโรคระบาดหนัก เร่งตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง
  ทุจริตเงินสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง คนบาปในคราบ “นักบุญ”
  ขยะอิเล็กทรอนิกส์ภัยร้ายจากต่างแดน ปลดล็อกกัญชา: ก้าวแรกสู่ความหวังทางการแพทย์
  ปลดล็อกกัญชา: ก้าวแรกสู่ความหวังทางการแพทย์
  โรคพิษสุนัขบ้าระบาด: ปัญหาการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  เครือข่ายเมจิกสกิน: ถึงเวลายกระดับ การคุ้มครองผู้บริโภคแล้วหรือยัง?
  17 วัน กับภารกิจช่วยทีมหมู่ป่าอะคาเดมี
  โศกนาฏกรรม “เรือล่มภูเก็ต 2561” บทเรียนท่องเที่ยวไทย
  โรคหัดกลับมา “อุบัติซ้ำ” ในไทย
4 ผลงานดีๆ เพื่อสุขภาพคนไทย
  (1) FAO ยกย่องสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2) WHO ชื่นชมความสำเร็จไทย ในการขจัดโรคเท้าช้าง (3) สั่งห้ามไขมันทรานส์ ลดความเสี่ยงโรค NCD (4) WHO รับรองยาต้านไวรัสเอดส์ของไทย คุณภาพเทียบเท่ายาต้นแบบ
เรื่องพิเศษประจำฉบับ
  “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล
ภาคผนวก
  บรรณานุกรม , เกณฑ์การจัดทำรายงาน “สุขภาพคนไทย 2562” , รายช่ือคณะกรรมการช้ีทิศทาง , รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒ , รายชื่อคณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย