HISO



picture
รายงานสุขภาพคนไทย 2561
พุทธศาสนากับการสร้างเสริมสุขภาวะ

10 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพเด็กปฐมวัย
10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ
4 ผลงานดีๆ เพื่อสุขภาพคนไทย

ปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยมีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ 20 เนื่องจากอัตราเกิดต่ำกว่าระดับทดแทน สัดส่วนวัยแรงงานลดลง การพัฒนาคนทุกช่วงวัยเป็นเรื่องสำคัญ ช่วง “ปฐมวัย” เป็นช่วงชีวิตที่มนุษย์มีการพัฒนาทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและการเรียนรู้ เกิดขึ้นมากที่สุด หากช่วงวัยนี้เด็กได้รับการเลี้ยงดู การดูแลและการพัฒนาที่ดี จะทำให้เด็กเติบโตอย่างมีรากฐานชีวิตที่มั่นคง เกิดผลในระยะยาวทั้งต่อตัวบุคคลและสังคมประเทศ สุขภาพคนไทย ฉบับนี้จึงขอนำเสนอ “10 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพเด็กปฐมวัย” เพื่อให้เห็นถึงสถานการณ์ ข้อมูลและสถิติ ที่จะทำให้เห็นภาพ ความสำเร็จ รวมถึงความท้าทายของประเทศในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย เพื่อสนับสนุนให้มีการลงทุนในเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะด้านสุขภาพและการศึกษา ซึ่งในระยะยาวจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อสังคมในสัดส่วนที่สูง

10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ ยังคงรวบรวมเรื่องสำคัญของปี 2560 มาให้เรียนรู้ เรื่องที่ 1) คือ พระจักรีนิวัตฟ้า สถิตใจ ประชานิรันดร์ บอกเล่าเรื่องราวพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 2) ก้าวคนละก้าว จากเบตง สู่แม่สาย 3) แก้ไข พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ พ.ร.บ. กองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ: ประเมินผลกระทบตามแนวทางของรัฐธรรมนูญ 4) พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2560 อีกหนึ่งความก้าวหน้าด้านสุขภาพไทย 5) พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ชัยชนะเบื้องต้นของแม่และเด็กไทย 6) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ “Inclusive Growth” จริงหรือ 7) EEC อย่าลืม เศรษฐกิจฐานราก 8) การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท 9) คสช. เดินหน้าปฏิรูปประเทศ วาดฝันก้าวพ้นวังวนปัญหา 10) คดีจำนำข้าวพ่นพิษ: ย้อนรอยการตรวจสอบทุจริตภาครัฐ ส่วน 4 ผลงานดีๆ เพื่อสุขภาพคนไทย ประกอบด้วย 1) องค์การยูเนสโกถวายราชสดุดีในหลวงรัชกาลที่ 9 2) WHO ชื่นชมระบบหลักประกันสุขภาพไทย ที่สามารถให้บริการ ล้างไตที่บ้าน 3) ยกย่องไทยประเทศชั้นนำแก้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) 4) สสส. ได้รางวัล No Tobacco Day ควบเชิดชูเกียรติ ธรรมาภิบาล

บทความพิเศษประจำฉบับในปีนี้ ชวนท่านผ้อู่านมาทบทวนเรื่องพุทธศาสนา ว่าจะสามารถเอื้อต่อการสร้างสุขภาวะได้อย่างไร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่มีผลต่อความคิดความเชื่อและวิถีชีวิต เราจึงเปิดประเด็นชวนคิดว่า ศาสนายังมี ความสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์อยู่หรือไม่? และเพื่อที่จะเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างพุทธศาสนากับสุขภาวะในปัจจุบัน ก็จำเป็นจะต้องรับรู้รับทราบที่มาของพุทธศาสนาก่อนว่าเข้ามาในแผ่นดินไทยเมื่อใด อย่างไร และท􀄞ำหน้าที่ต่อสังคมไทย อย่างไรบ้าง บทความนี้ นำท่านวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องระหว่างแก่นแท้ของพุทธศาสนา คือ หลักธรรมและวินัย ที่เป็น แนวทางของการสร้างสุขภาวะในทุกมิติ โดยได้เน้นให้เห็นความสำคัญของมิติทางปัญญา ที่ถือเป็นพื้นฐานของความสุข ทางกาย ทางจิตใจ และทางสังคม ปัญญา จะนำให้คนเรามองเห็นชีวิตตามความเป็นจริง หรือตามกฎของธรรมชาติ และใช้ชีวิต โดยไม่ประมาท ไม่ว่าจะการเป็นอยู่ การบริโภคอาหาร การประพฤติปฏิบัติ แล้วปัจจุบันนี้ กลไกของพุทธศาสนา ได้ทำ หน้าที่สร้าง ปัญญา ให้สังคมหรือไม่ นั่นคือ สิ่งที่ท่านจะได้เรียนรู้ต่อไป พระสงฆ์และวัด ทำหน้าที่สร้างเสริมสุขภาวะอย่างไร เช่น ธรรมเนียมการบวช บทบาทของวัดต่อชุมชน รวมไปถึงบทบาทของขบวนการชาวพุทธ ที่เกิดขึ้นมาช้านาน ท้ายที่สุด บทความได้ข้อสรุปว่า พุทธศาสนา เป็นหนทางไปสู่การสร้างสุขภาวะไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และในระดับที่มากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่ที่ว่าพวกเรานับถือพุทธศาสนาแบบไหน

จัดทำโดย    สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.)
สนับสนุนโดย    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
สารบัญรายงานสุขภาพคนไทย 2561

ส่วนนำหนังสือ
  ส่วนนำรายงานสุขภาพคนไทย 2561
10 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพเด็กปฐมวัย
  ภาวะโภชนาการ
  การเจ็บป่วยและความผิดปกติ
  การบาดเจ็บ
  สุขภาพช่องปากและสายตา
  พัฒนาการ
  สุขภาพแม่และเด็ก
  การเลี้ยงดู
  การศึกษาของเด็กปฐมวัย
  เด็กกลุ่มเปราะบาง
  ข้อพิจารณาทางนโยบาย
10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ
  พระจักรีนิวัตฟ้า สถิตใจประชานิรันดร์
  ก้าวคนละก้าว จากเบตง สู่แม่สาย
  แก้ไข พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ: ประเมินผลกระทบตามแนวทาง ของรัฐธรรมนูญ
  พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหาร สำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560
  พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ 2560 อีกหนึ่งความก้าวหน้าด้านสุขภาพไทย
  บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ “Inclusive Growth” จริงหรือ
  การพัฒนาภูมิปัญญาไท สุขภาพวิถีไท
  EEC อย่าลืมเศรษฐกิจฐานราก
  คดีจำนำข้าวพ่นพิษ : ย้อนรอยการตรวจสอบทุจริตภาครัฐ
  คสช. เดินหน้าปฏิรูปประเทศ วาดฝันก้าวพ้นวังวนปัญหา
4 ผลงานดีๆ เพื่อสุขภาพคนไทย
  (1) องค์การยูเนสโกถวายราชสดุดี ในหลวงรัชกาลที่ 9 (2) WHO ชื่นชมระบบหลักประกันสุขภาพไทย ที่สามารถให้บริการล้างไตที่บ้าน (3) ยกย่องไทยประเทศชั้นนำ แก้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) (4) สสส. ได้รางวัล No Tobacco Day ควบเชิดชูเกียรติธรรมาภิบาล
เรื่องพิเศษประจำฉบับ
  พุทธศาสนากับการสร้างเสริมสุขภาวะพุทธศาสนากับการสร้างเสริมสุขภาวะ
ภาคผนวก
  บรรณานุกรม , เกณฑ์การจัดทำรายงาน “สุขภาพคนไทย 2561” , รายช่ือคณะกรรมการช้ีทิศทาง , รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒ , รายชื่อคณะทำงานจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย