HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
[ วันที่ 13/06/2556 ]
'ริดสีดวงทวาร'โรคยอดฮิตคนเมือง

 ริดสีดวงทวาร ถือเป็นโรคที่พบบ่อย ทั้งในเพศชายและเพศหญิงเนื่องจากมีภาวะที่หลอดเลือดดำที่มีอยู่ตามธรรมชาติของคนทั่วไปในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพองเป็นหัวเรียกว่า หัวริดสีดวง แล้วมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราว อาจพบเป็นเพียงหัวเดียว หรือหลายหัวก็ได้ ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลธนุบรี จึงให้ความรู้แนะนำเพื่อรู้ทันโรคริดสีดวงทวาร
          สาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร เกิดจากการเบ่งถ่ายอุจจาระ ท้องผูก การนั่งนานๆ ภาวะตั้งครรภ์ หรืออาจส่งผลมาจากน้ำหนักตัวมาก การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ไอเรื้อรัง ตับแข็งต่อมลูกหมากโต และผู้ที่มีเนื้องอกในช่องท้อง เป็นต้น
          ลักษณะอาการของผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร ได้แก่ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด คือจะถ่ายอุจจาระออกมาก่อนจากนั้นจะมีเลือดสดๆ ไม่มีมูกเลือดปน มีก้อนที่ยื่นออกมาจากทวารขณะที่เบ่งอุจจาระ คลำได้ก้อนที่บริเวณทวารหนักเจ็บและคันบริเวณทวารหนัก
          สำหรับวิธีการรักษาริดสีดวงทวารในปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก
          1.รักษาโดยการให้ยาเหน็บที่ทวารหนักเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและสร้างความแข็งแรงของผนังหลอดเลือดอาจใช้ร่วมกับยาระบายได้
          2.ฉีดยาที่หัวริดสีดวงทวารเพื่อให้เกิดพังผืดรัดหัวริดสีดวงและฝ่อได้เองมักใช้ในกรณีที่หัวริดสีดวงมีเลือดออกและหัวริดสีดวงที่ย้อยไม่มาก
          3.ยิงยางรัดหัวริดสีดวง (Baron Gun) จะทำให้ริดสีดวงนั้นฝ่อ และหลุดออกไปเองประมาณ 7 วัน
          4.รักษาโดยการผ่าตัด มักใช้ในระยะที่ 3 หรือ 4 และริดสีดวงที่มีการอักเสบ
          อาการหลังผ่าตัดริดสีดวงทวารอาจมีเลือดออกได้ตั้งแต่หลังผ่าตัดจนถึงประมาณวันที่ 10 ของการผ่าตัดปกติจะมีเลือดออกไม่มาก และจะหยุดเอง ถ้ามีเลือดออกมากให้มาพบแพทย์ หรือมีน้ำเหลือง ซึ่งที่ขอบทวาร 4-6 สัปดาห์ ในกรณีที่ไม่ได้เย็บปิดแผล และบริเวณปากทวารหนักอาจบวมเป็นติ่ง แนะนำให้นั่งแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น อาจถ่ายอุจจาระไม่ออก
          ในระยะแรก
          อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร ให้เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ หรือยาเพิ่มกากใย ดื่มน้ำวันละประมาณ 6-8 แก้ว หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ออกกำลังกายสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
          นอกจากนี้ ควรฝึกขับถ่ายอุจจาระสม่ำเสมอ และขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำให้สังเกตว่าอาหารชนิดใดที่รับประทานแล้วช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้นให้รับประทานอาหารชนิดนั้นเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้นนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอติดต่อกันอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน และหลีกเลี่ยงการนั่ง หรือยืนนานๆ ให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ


pageview  1205849    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved