HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
บางกอกทูเดย์ [ วันที่ 26/06/2555 ]
ไข้หวัดใหญ่. เรื่องใหญ่ใกล้ตัว

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่
          ในระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพงานประชุมระดับภูมิภาค เรื่องไข้หวัดใหญ่ (1 st  Asia-Pacific Influenza Summit) ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับนานาชาติด้านนี้กว่า 200 คน ทั้งแพทย์ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ฯลฯ ในโอกาสนี้ วารสารสุขภาพดีกับพรีม่า ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ มาเล่าถึง สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ตลอดจนสิ่งที่ ประเทศไทยได้รับจากการประชุมดังกล่าว
          สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยในขณะนี้
          ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคมปีนี้ มีผู้ป่วย ไข้หวัดอยู่ประปรายทั่วประเทศ จากจำนวนผู้ป่วยที่ไปโรงพยาบาลเนื่องจากเป็นโรคที่มีลักษณะคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือ Influenza-like Illness (ILI) กว่า 4,000 ราย ปรากฎว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ประมาณ 24% โดยส่วนใหญ่จะเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธ์  H3N2 และไข้หวัดใหญ่ ประเภท B ส่วนไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ H1N1 ซึ่งเป็นสายพันธ์ใหม่นั้น มีพบบ้างแต่ยังไม่มากนัก
          ไข้หวัดใหญ่มีอาการอย่างไร
          อาการเริ่มต้นของไข้หวัดใหญ่คือมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศรีษะ เป็นหวัด อาจมีอาการคลี่นไส้อาเจียร หรือไอบ้าง พอสองสามวันไปแล้วก็จะเริ่มดีขึ้นหากได้ทานยาลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือพาราเซตามอล ไม่ควร ใช้แอสไพริน เพราะอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจากยาได้ หลังจากนั้นถ้ายังเป็นต่อไปถึง 5 วันถึงหนึ่งสัปดาห์แล้วยังไม่หาย มักจะมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ หรือหูน้ำหนวก
          การป้องกัน
          การป้องกันทั่วไปที่ไม่ต้องใช้ยา เช่น การล้างมือบ่อยๆ การไม่เข้าใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นหวัด หรือใส่หน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่ใกล้ผู้ป่วยเป็นหวัด ส่วนการป้องกันโดยการใช้ยา ก็อาจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ได้ประมาณ 1 ปี
          การจัดการไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยที่ผ่านมามีการดาเนินงานเช่นไร
          การดำเนินงานในการจัดการไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ประกอบไปด้วย 1. การเฝ้าระวัง เช่น การตรวจสอบตามโรงพยาบาลว่ามีผู้ป่วย ILI มากน้อยแค่ไหน และเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยไปตรวจสอบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดไหน 2. การให้การศึกษาในด้านสุขอนามัยแก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ และ 3. การ เตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรทางสาธารณสุขเพื่อรับมือการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
          เหตุใดการจัดการโรคไข้หวัดใหญ่จึงต้องร่วมมือกันระดับทวีปหรือระดับโลก
          การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้นข้อมูลหรือการศึกษาต่างๆ จากการ ประสานงานกันในระดับสากลจึงมีความจำเป็น อย่างยิ่ง เนื่องจากจะทำให้ประเทศต่างๆ ได้เตรียมความ พร้อมได้อย่างทันท่วงทีในกรณีที่เกิดการระบาดของ โรคขึ้น
          ประเทศไทยได้อะไรจากการเป็นเจ้าภาพงานประชุมระดับภูมิภาคเรื่องไข้หวัดใหญ่ในครั้งนี้
          เราจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่จาก ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ซึ่งนับเป็น  first-hand information และเป็นข้อมูลล่าสุดจริงๆ นอกจากนี้ ถ้ามีการค้นพบยาหรือวัคซีนตัวใหม่ๆ ที่ได้ผลดีกว่าเดิมก็ จะมีการเปิดเผยกันในการประชุมครั้งนี้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยที่จะได้แสดงให้ทั่วโลกเห็นถึงความพร้อมและศักยภาพในการรับมือกับโรค ไข้หวัดใหญ่ในกรณีที่เกิดการระบาดขึ้นอีกด้วย
          ข้อคิดจากการประชุมระดับภูมิภาคด้านไข้หวัดใหญ่ Asia-Pacific Influenza Summit โดยความร่วมมือของ Asia-Pacific Alliance for the Control of Influenza (APACI) กับ มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
          ในแต่ละปีผู้ใหญ่ร้อยละ 5 -10 และเด็กร้อยละ 30 จากทั่วโลก ต้องติดเชื้อและทรมาน จากโรคไข้หวัญใหญ่ตามฤดูกาล ต้องเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาลและบางราย ถึงกับเสียชีวิต  หลายล้านคนต้องเสียงานหรือขาดเรียน  จากจำนวนนี้ประชากรอย่างน้อย  250,000 คนถูกคร่าชีวิต และกว่า 5 ล้านคนป่วยขั้นรุนแรง
          การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ประจำปีเป็นมาตรการลดความเสี่ยงที่มี ประสิทธิภาพที่สุด และจำเป็นต้องรับทุกๆ ปี เนื่องการเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีเปลี่ยนแปลง ตัวเองอยู่เรื่อยๆ ตลอดเวลา
          องค์การอนามัยโลกแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เด็กเล็ก ผู้ป่วย โรคเรื้อรัง และบุคลากรทางการแพทย์ รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี  แต่ก็พบว่าอัตราการรับวัคซีนป้องกันประจำปีของประชากรในประเทศภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกยังจัดอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
          การที่ประชากรเข้ารับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจำนวนมาก ยังช่วยให้เรา รับมือกับสถานการณ์ระบาดได้ทั้งด้านการผลิต การกระจายและบริหารจัดการ ซึ่งจะ เน้นไปในการผลิตวัคซีนป้องการไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดได้อย่างรวดเร็วและในปริมาณมาก * จำเป็นต้องมีการผลักดันให้มีการกำหนดนโยบายวัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างต่อเนื่องและหา วิธีสื่อสารข้อดีของวัคซีนแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป  ซึ่งไม่สามารถทำเพียงลำพัง ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน


pageview  1205836    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved