HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
สยามกีฬา [ วันที่ 11/08/2563 ]
ไร้ติดเชื้อเพิ่มที่ไทยลุ้นวัคซีนอีก 6 เดือนนายกฯห่วงทูตในซาอุฯถูกตรวจพบไวรัส

 ยอดป่วยโควิด - 19 ในไทยประจำวันที่ 10 ส.ค. 53 เป็น 0 ทำให้ยอดติดเชื้อสะสม อยู่ที่ 3,351 ราย เหลือรักษาอาการอยู่ 133 คน ด้านสถานการณ์โลกน่าห่วง ยอดป่วยสะสมทะลุ 20 ล้านคนแล้ว ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขคาดวัคซีน โควิด-19 มีใช้เร็วที่สุด 6 เดือนนับจากนี้ เผยเป็น วัคซีน 1 ใน 7 ตัวของวัคซีนเฟส 3 "บิ๊กตู่" ห่วงใย เจ้าหน้าที่การทูตไทยที่ซาอุดีอาระเบีย หวั่นติดโควิด สั่งกระทรวงต่างประเทศดูแล เผยพาคนไทยกลับแล้ว 6 หมื่นคน
          ไทยกลับมาป่วยเป็นศูนย์
          ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายงานถึงสถานการณ์ โควิด-19 ในประเทศไทย ประจำวันที่ 10 ส.ค. 63 ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ใน ไทยวันนี้ ไม่พบผู้ป่วยใหม่ ส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 3,351 ราย หายป่วยแล้ว 3,160 รายโดยยังมีผู้ป่วยที่รักษาอาการอยู่ 133 คน ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม มีผู้เสียชีวิตรวม 56 ราย
          รอลุ้น6เดือนใช้วัคซีน
          นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า ความก้าวหน้าของการวิจัยวัคซีน ขณะนี้มีวัคซีนที่ยังอยู่ในระยะการทดลองทั้งหมดกว่า 180 วัคซีน และเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ประมาณ 135 วัคซีน และมีวัคซีนที่เริ่มทดสอบในมนุษย์แล้วประมาณ 38 วัคซีน แบ่งเป็น ระยะที่ 1 จำนวน 18 วัคซีน ทดสอบในกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวนน้อยคือไม่เกิน 100 ราย
          ระยะที่ 2 จำนวน 12 วัคชีน เมื่อผ่านการทดสอบระยะที่ 1แล้ว  จะนำมาทดสอบในอาสาสมัครสุขภาพแข็งแรง มีจำนวนที่มากขึ้น ที่มีความหลากหลาย เช่น อายุกว้างขึ้น สัดส่วนทางเพศ หรือเชื้อชาติต่างกัน ศึกษาเพื่อดูว่าวัคซีนมีความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและปลอดภัยหรือไม่
          ระยะที่ 3 จำนวน 7 วัคซีน เช่น การทดสอบในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ มหาวิทยาลัย อ๊อกซ์ฟอร์ด เป็นต้น ซึ่งนำวัคซีนระยะที่ 2 มาทดสอบว่า วัคซีนป้องกันโรคได้หรือไม่ ด้วยการนำวัคซีนฉีดให้กับกลุ่มอาสาสมัครสุขภาพดี และมีวัคซีน หลอกฉีดให้กับบางราย เพื่อดูความแตกต่างในการ ป้องกันโรค ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะสามารถป้องกัน โรคได้ในระยะ 6 เดือน หากทำได้ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาจะจดทะเบียนให้
          *ทั้งนี้ใช้วัคซีนในวงจำกัด จำนวน 1 วัคซีน มาจากประเทศจีน โดยผ่านการวิจัยในระยะที่ 1 และ 2 เท่านั้น ยังไม่ได้เข้าระยะที่ 3 เพื่อพิสูจน์ ว่าจะใช้ได้จริงหรือไม่ แต่ทางการจีนอนุมัติให้ใช้ใน กองทัพทหารของจีนได้ คาดว่าจะมีวัคซีนใช้เร็วที่สุดคือ 6 เดือนนับจากนี้ โดยจะเป็นวัคซีนระยะที่ 3 จะมีวัดซีนตัวใดตัวหนึ่งใน 7 วัดซีนที่จะนำมาใช้ได้"
          *สธ.มีความพยายามอย่างเต็มที่ทั้ง สนับสนุนการวิจัยและเตรียมจัดหาวัคซีนให้ได้มากที่สุด ในระหว่างที่รอวัคซีนสิ่งที่เราต้องทำตอนนี้คือ เตรียมความพร้อมทั้งระดับบุคคล องค์กร และชมชน เพื่อให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ โดยจะ ต้องเตรียมความพร้อมและไม่ตื่นตระหนกมากเกิน ไปหากพบผู้ติดเชื้อใหม่อีกครั้ง" รองอธิบดีกรม ควบคุมโรคกล่าว
          13ส.ค.เริ่มเรียนเต็มรูปแบบ
          นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จะทดลองเปิดเรียนเต็มรูปแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ทั่วประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค. 63 โดยนักเรียนทุกคนจะต้องบันทึกประจำวันเป็นข้อมูลว่าไปพื้นที่ใดมาบ้าง เพื่อเป็นข้อมูล หากพบความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ครูจะเป็นผู้จัดการดูแล ซึ่งนักเรียนต้องสวมหน้ากาก อนามัย ใช้เจลล้างมือตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
          นายกฯห่วงจนท.ทูตติดเชื้อ
          น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม ห่วงใยและสั่งการกระทรวงการต่างประเทศ ดูแลข้าราชการไทยในสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่ได้รับเชื้อโควิต-19 ให้ดีที่สุด หลังทราบว่าขณะนี้ข้าราชการดังกล่าวได้เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลและมีแพทย์ดูแลอาการ อย่างใกล้ชิดแล้ว
          ยอดคนเดินทางกลับ6หมื่นราย
          รองโฆษกประจาสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเผยอีกว่า นายกรัฐมนตรียังได้ฝากให้ช่วยอำนวย ความสะดวกให้ชาวไทยในต่างประเทศ พร้อมกันนี้ยัง ได้ชื่นชมการทำงานของเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ทำงานอย่าง เต็มกำลังความสามารถ ส่งผลให้ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โควิด-19 เจ้าหน้าที่ไทยมีส่วนช่วยในการพาชาวไทยกลับมาจากต่างประเทศจำนวนแล้วกว่า 6 หมื่นคน
          "นายกรัฐมนตรีขอส่งกำลังใจถึงเจ้าหน้าที่ ไทยทุกคน ทุกหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในต่างประเทศ ขอให้ดูแลรักษาสุขภาพ และให้มีความปลอดภัย เข้าใจดีว่าทุกคนทำหน้าที่อย่างทุ่มเทและเสียสละ เป็นตัวแทนของประเทศไทยเพื่อดูแลความเป็นอยู่ ให้คำแนะนำ" น.ส.ไตรศุลี กล่าว
          สถิติชี้คนกินฟาสต์ฟู้ดเพิ่ม
          ตร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา
          ผู้อำนวยการสำนัก พัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า รายงานสุขภาพคนไทย 2563 โดย สสส.สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล และภาคีเครือข่ายนักวิชาการ พบสถิติสำคัญว่าวัยรุ่นและเยาวชน อายุ 10-24 ปี ที่อาศัยอยู่ใน กรุงเทพมหานคร บริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดจากประเทศตะวันตกอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ มากถึง 69.2 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือภาคกลาง 54.6 เปอร์เซ็นต์ ภาคใต้ 48.7 เปอร์เซ็นต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 41.9 เปอร์เซ็นต์ และภาคเหนือ 38.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
          ล่าสุดในช่วงโควิต-19 คนไทยอาจมี แนวโน้มบริโภคอาหารฟาสต์ฟูดมากขึ้น จากการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน Food Delivery โดย Kantar Worldpanel ได้สำรวจผู้บิโภคคนไทย1,638 ราย อายุระหว่าง 15-49 ปี ที่อยู่อาศัยใน เขตเมือง ระหว่างวันที่ 10-16 เมษายน 2563 พบ ว่าผู้บริโภคสั่งอาหารผ่าน Food Delivery มากขึ้น ถึง 38 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเมื่อก่อน
          "ข้อดีของการสั่งอาหารออนไลน์ ช่วย ลดการรวมตัวของคนในที่สาธารณะ ลดโอกาสแพร่กระจายโควิด-19 แต่อาหารที่ได้รับความนิยมสั่ง มักเป็นอาหารจานด่วน สสส. จึงเกิดความกังวลเป็นห่วงสุขภาพคนไทย เพราะอาหารฟาสต์ฟูดมีคลอเรสเตอรอลสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดัน โรคอ้วน ฯลฯ เราจึงขอแนะนำให้ผู้บริโภครับประทานอาหารแบบ 2:1:1 ผัก 2 ส่วน ข้าวหรือแป้ง 1 ส่วน และเนื้อสัตว์ 1 ส่วน
          ดร.ณัฐพันธุ์ เผยอีกว่า แนวทางการ ป้องกันโรคเหล่านี้คือพยายามลดอาหารหวาน มัน เค็ม ควบคู่ไปกับการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมกับ ขอความร่วมมือผู้บริโภคและผู้ประกอบการลดใช้ พลาสติก เนื่องจากอาหารพร้อมทานส่วนใหญ่มัก ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายชิ้น อาทิ กล่องโฟม ข้อนส้อมพลาสติก หลอดพลาสติก ซองน้ำจิ้ม ซึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าปริมาณขยะพลาสติก ของกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 ตันวัน โดยขยะประเภทนี้ใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 450 ปี ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง
          อินเดียช้ำไฟไหม้ศูนย์โควิด
          รอยเตอร์ส, เอพี และสเตรตส์ไทมส์ รายงานเมื่อวันที่ 10 ส.ค. ที่ผ่านมา ถึงความคืบหน้า เหตุไฟไหม้โรงแรมสวารนาพาเลซซึ่งใช้เป็นศูนย์รักษาและกักตัวผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในเมืองวิชยาวาดา รัฐอานธรประเทศ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ ประเทศอินเดีย เมื่อช่วงเช้าวันอาทิตย์ที่ 9 ส.ค.ตามเวลาท้องถิ่นว่า ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 11 ราย
          ขณะเดียวกันหน่วยกู้ภัยสามารถช่วยเหลือเจ้าหน้าที่การแพทย์และผู้ป่วยรวม 20 คนออกจากจุดเกิดเหตุได้ทันท่วงที เบื้องต้นตำรวจและหน่วยดับเพลิงสันนิษฐานว่าสาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร
          ด้านนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมที เร่ง หารือกับ นายชากัน โมฮัน เรดดี มุขมนตรีรัฐอานธรประเทศ ซึ่งแถลงในเวลาต่อมาว่าทางการจะจ่าย เงินเยียวยาครอบครัวเหยื่อครอบครัวละประมาณ 2 ล้านบาท
          ทั้งนี้เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง 3 วันหลังเหตุไฟไหม้แผนกไอซียูของโรงพยาบาลรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสมรณะในเมืองอาห์เมดาบัด รัฐคุชราด มีผู้เสียชีวิต 8 ราย เมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา
          ติดเชื้อโลกทะลุ20ล้าน
          เว็บไซต์ worldometers รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ประจำวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา โดย ณ เวลา 19.00 น.ระบุว่าตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกพุ่งเกิน20 ล้านราย ไปอยู่ที่จำนวน 20,046,652 คนแล้วส่วนยอดผู้เสียชีวิต อยู่ที่จำนวน 734,528 คน และรักษาหายแล้ว 12,915,623 คน
          ด้านสหรัฐอเมริกามียอดติดเชื้อสะสมที่จำนวน 5,199,524 คน เสียชีวิตแล้ว 165,617 คน ตามด้วย บราซิล ติดเชื้อ 3,035,582 คน เสียชีวิตแล้ว 101.136 คน, อันดับ 3 อินเดีย ติดเชื้อ 2,217,645 คน เสียชีวิตแล้ว 44,499 คน, อันดับ4 รัสเซีย ติดเชื้อ 892,654 คน เสียชีวิต 15,001 คน และแอฟริกาใต้ ติดเชื้อ 559,859 คน เสียชีวิต 10,408 คน


pageview  1205139    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved