HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
เทเลคอม แอนด์ อินโนเวชั่น เจอร์นัล [ วันที่ 27/02/2555 ]
การแพทย์ยุค 2.0 ให้ยาไร้สายผ่านไมโครชิป
          หลังวงการแพทย์มีการพัฒนาวิธีการให้ยาผู้ป่วย โดยควบคุมคำสั่งผ่านอุปกรณ์ไร้สายมาพักใหญ่ ล่าสุด มีข่าวว่าการทดสอบครั้งแรก ที่เริ่มทำการทดสอบกับผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ที่ปกติต้องให้ยาผ่านการฉีดเป็นประจำนั้น ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จ การให้ยาด้วยวิธีการฉีดอาจไม่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยอีกต่อไป
          หนึ่งเดือนก่อนหน้า นักวิทยาศาสตร์ประกาศว่า ได้พัฒนาไมโครชิปชนิดหนึ่งที่สามารถบันทึกข้อมูลโปรแกรมการให้ยาของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ ผ่านการบันทึกของเซ็นเซอร์จิ๋ว ขนาดเล็กกว่าเม็ดทราย ที่จะส่งข้อมูลทางการแพทย์จากร่างกายของผู้ป่วยมายังโทรศัพท์มือถือของพนักงานที่ดูแลสุขภาพ
          การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองเหตุการณ์ส่วนหนึ่งมาจากการปฏิวัติเทคนิคในการรักษาที่ได้ย่อขนาดอุปกรณ์ไร้สายให้มีขนาดเล็กลงและสามารถเอาเขาไปในตัวผู้ป่วยได้
          เมื่อไม่กี่วันนี้ นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งอเมริกาในแวนคูเวอร์ได้เผยถึงผลการทดสอบครั้งล่าสุด ของไมโครชิปจิ๋ว ว่าอุปกรณ์ตัวนี้เกิดจากความพยายามที่จะหาวิธีให้ยาผู้ป่วยที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องกินยาเมื่อไร หรือต้องมานั่งวิตกและจิตตกกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเพราะการฉีดยา
          ชิปตัวนี้ มีขนาดเล็กเพียงไม่กี่เซ็นติเมตรและติดไว้ใต้ผิวหนัง ให้ยารักษาโรคกระดูกพรุนได้ 20 ครั้ง
          ส่วนอุปกรณ์ไร้สายนั้น จะมีหน้าที่สั่งการไปยังไมโครชิปที่ฝังในร่างกายเพื่อให้ยาตามที่กำหนด ซึ่งการให้ยารูปแบบนี้สามารถแน่ใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับยาตรงตามเวลาที่กำหนด
          ท้ายที่สุด หวังว่าเทคโนโลยีนี้จะพัฒนาไปให้ยากับผู้ป่วยโรคอื่นๆ อาทิ โรคหัวใจ โรคปลอกประสาทอักเสบ และโรคมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์ กล่าว
          โรเบิร์ต แลงเกอร์ อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ให้ข้อมูลว่า"ในอนาคต คุณอาจทำธุรกิจร้านขายยาผ่านไมโครชิปตัวนี้ก็ได้ เพียงแค่คุณใช้รีโมทควบคุมการให้ยา และต่อไปยาที่บรรจุในไมโครชิปจะมีหลากหลายมากขึ้น
          "โดยในไมโครชิปแต่ละตัว จะบรรจุยาชนิดต่างๆ กัน และมีแผ่น nano-thin ที่ทำจากทองคำ คอยปิดกั้นหรือเปิดการส่งผ่านยาของไมโครชิป
          "ซึ่งการให้ยาด้วยวิธีนี้ ปริมาณยาที่ให้จะค่อนข้างคงที่กว่าการให้ยาผ่านการฉีด ที่สำคัญยังปลอดภัย และตัวยาจะออกฤทธิ์ได้ดีกว่า"
          การทดสอบดังกล่าว ได้ทำการทดสอบกับผู้หญิงเดนมาร์ก 7 คน อายุระหว่าง 65-70 ปีที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน โดยติดตั้งไมโครชิปในตัวพวกเธอเป็นเวลา 12 เดือน ระหว่างนั้นก็มีการดูแลสุขภาพของพวกเธอไปพร้อมกัน
          ผลการทดสอบที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Translational Medicine บ่งชี้ว่า หลังการให้ยาผ่านไมโครชิป กลุ่มผู้หญิงที่เข้าทดสอบ มีข้อมูลบ่งบอกว่า การก่อรูปกระดูกของพวกเธอดีขึ้น และความเสี่ยงที่กระดูกจะแตกหรือหักลดลง
          "ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ที่ต้องได้รับยาด้วยการฉีดยา เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยเป็นประจำหรือทุกวัน จะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้" ดร.โรเบิร์ต ฟาร์ราหัวหน้าบริษัทMicroChips  ผู้บุกเบิกนวัตกรรมนี้ กล่าว"การที่วงการแพทย์จะเริ่มต้นให้ยาด้วยวิธีนี้นั้น มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการก้าวต่อไปของระบบการให้ยาดังกล่าว เพราะถ้ามองกันตามจริง ในเวลานี้คงเป็นการยากที่ผู้ป่วยจะเปลี่ยนมาให้ยาวิธีนี้ด้วยตนเอง ทำไมน่ะเหรอ?ก็มองดูสิ ไม่ว่าที่ไหนๆ ก็ยังให้บริการฉีดยาอยู่เลย
          "ด้วยวิธีนี้ ต่อไปแพทย์สามารถให้ยาผู้ป่วยผ่านทางคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ได้เลยเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ ต่อไปผู้ป่วยจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเพราะถูกฉีดยา" ดร.โรเบิร์ต กล่าวสรุป

pageview  1205134    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved