HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ผู้จัดการรายวัน [ วันที่ 31/01/2556 ]
กินอย่างไร ห่างไกลโรคนิ่ว?

แม้ว่าโรคนิ่วจะสามารถรักษาได้ แต่ก็คงไม่มีใครอยากให้เป็น แล้วทำอย่างไร ถึงจะห่างไกลจากโรคนี้?
          นพ.ดนัยพันธ์ อัครสกุล หัวหน้างานศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะ กลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ราชวิถี ให้ความรู้ว่า โรคนิ่วนั้นแบ่งออกเป็นสองชนิดหลักก็คือนิวที่มีแคลเซียมกับนิ่วที่ไม่มีแคลเซียม
          " นิ่ ว ที่ มีแคลเซียมนิ่วประเภทนี้จะเหมือนกระดูกเอกซเรย์แล้วเห็นง่ายยิ่งเห็นสีเข้ม แสดงว่านิ่วแข็งมาก การรักษาก็ลำบาก ส่วนนิวที่ไม่มีแคลเซียมนิ่วแบบนี้เอกซเรย์ธรรมดาจะไม่เห็น ต้องทำวิธีพิเศษ เช่น ซีทีสแกน หรืออัลตราซาวนด์ แต่อัลตราซาวนด์ จะเห็นแค่ช่วงไตและท่อปัสสาวะ"
          การเป็นนิ่ว ใช่ว่าจะจบเพียงแค่นั้น เพราะมันยังสามารถมีภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ติดเชื้อ ไตเป็นหนอง ต้องตัดไตออก หรืออาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้เช่นกัน
          อาหารการกินนั้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดโรคนิ่ว ดังนั้น นี่คือแนวทางที่ต้องรู้ในการบริโภคเพื่อห่างไกลจากโรคนิ่วไปชั่วนิจนิรันดร์
          1.อาหารที่ควรเลี่ยง
          1.1 ผักที่มีสีเขียวเข้ม เคี้ยวแล้วกรุบๆ กรอบๆมีแคลเซียมสูง อาจทำให้เป็นนิ่วได้
          1.2 ชาที่เข้มหรือชงหลายครั้งมาก จะมีออกซาเลดหลุดออกมา การทานชาที่ถูกต้อง ควรทานน้ำเดียวชงครั้งเดียวแล้วทิ้งเลย
          1.3 วิตามินซี (จำพวกยาเสริม) ถ้าทานเกินสามกรัมต่อวัน จะทำให้เกิดผลึกออกซาเลตและเป็นนิ่วได้ เพราะวิตามินซีที่ทานเข้าไป สามารถถ่ายเทออกทางท่อปัสสาวะและอาจจะมีการตกค้าง หากทานในปริมาณที่มาก
          1.4 บางคนเชื่อว่า ดื่มน้ำอัดลมหรือโซดา ช่วยให้ไม่เป็นนิ่วได้ ตรงนี้ไม่มีตัวเลขชัดเจน แต่มีบางแหล่งข้อมูลระบุว่าโซดาสามารถทำให้เกิดนิ่วได้
          2.อาหารที่ควรรับ
          2.1 ควรดื่มน้ำมากกว่า 8 แก้วต่อวัน โดยดื่มกระจายตลอดวัน
          2.2 ควรดื่มน้ำผลไม้อย่างน้อย2 ชนิดต่อวัน โดยเฉพาะชนิดที่มีซิเทรต สารต้านอนุมูลอิสระ แร่ธาตุจำพวกโพแทสเซียมแมกนีเซียมสูง เช่นน้ำมะนาวเข้มข้น น้ำส้ม น้ำแอปเปิล
          2.3 ทานผัก ธัญพืช และผลไม้ ซึ่งมีวิตามินใยอาหาร และแร่ธาตุที่ช่วยยับยั้งการเกิดนิ่ว ลดการทำลายของเซลล์เยื่อบุหลอดไต ลดการอักเสบ เพิ่มซิเทรตในปัสสาวะ
          2.4 ไขมันจากพืชและจากปลา มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ช่วยลดการอักเสบการเสื่อมของไต และลดปริมาณแคลเซียมที่เป็นสารก่อนิ่ว
          แนวทางสร้างลูกอัจฉริยะ
          ไอคิวกับอีคิว ถือเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ พญ.ปราณี เมืองน้อย กุมารแพทย์/จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเด็ก กล่าวว่าสิ่งนี้สามารถสร้างได้ตั้งแต่เด็ก
          "ไอคิว ก็คือ ฉลาดในการเรียนการรู้ ส่วนอีคิว ฉลาดในการปรับตัว ในการใช้ชีวิต สองสิ่งนี้เริ่มสร้างเสริมได้ตั้งแต่แรกคลอด เพราะถ้าช้าเกินไป เด็กจะเคยชินกับพฤติกรรมบางอย่าง ขวบปีแรก ควรเน้นเรื่องกิจวัตรประจำวันต่างๆ ถ้าเป็นกิจกรรมเสริมสมองก็ต้องกระตุ้นให้เด็กอ่านหนังสือตั้งแต่อายุหกเดือนภาพการ์ตูนหรือนิทานภาพที่มีสีสันเรียกความสนใจของเด็กได้ แม้เด็กอ่านไม่ออกแต่เมื่อเด็กมองไปเรื่อยๆเขาก็จะพิมพ์เข้าไปไว้ในสมอง เวลาเขาเห็นหนังสือที่เขาคุ้นเคยหรือชอบ เขาก็จะเดินไปหยิบได้
          "ส่วนอีคิว มีด้านที่เกี่ยวกับตัวเอง คือ รู้จักอารมณ์ตัวเอง เข้าใจตัวเองพอสมควร รวมถึงการสร้างความมุ่งมั่นให้ตัวเอง ถ้าเกี่ยวกับผู้อื่นหรือสัมพันธภาพ ก็จะต้องรู้จักเข้าอกเข้าใจคนอื่น และรู้วิธีการแก้ปัญหากับคนอื่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น พ่อแม่ก็ควรทำให้เป็นต้นแบบให้เด็กเห็น"
          ขอบคุณข้อมูล : รายการ "Healt h  Line  สายตรงสุขภาพ" รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 07.00-08.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่www.manager.co.th/vdo


pageview  1206162    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved