HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ผู้จัดการ 360 รายสัปดาห์ [ วันที่ 13/02/2555 ]
วงการแพทย์ใช้ GTIN คุมการ

         11 หน่วยงานเดินหน้า Thailand Healthcare Cluster ใช้ Standard Code ระบุ GTIN บนกล่องยาและเวชภัณฑ์ เพื่อลดความผิดพลาดในการรักษา และจ่ายยา 5 โรงเรียนแพทย์นำร่อง ชี้ขีดเส้นตายไม่ รับยา-เวชภัณฑ์จากบริษัทยาและ Supplier ที่ไม่ขึ้นทะเบียน GTIN ภายใน 31 พ.ค. 2555 พร้อมสร้างฐานข้อมูลยา (DATA POOL) เพิ่มประสิทธิภาพการ ใช้ยาทั้งระบบ

          มีตัวเลขยืนยันว่าในประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้เสียชีวิตจากความผิดพลาดในการใช้ยาถึงปีละ 100,000 คน ส่วนพวกที่ใช้ยาผิดแต่ไม่ถึงกับตายมีโอกาสเกิดขึ้น 10% ซึ่งเป็นตัวเลขที่แพทย์ไทยยืนยันว่ายังสูงเกินไป และควรจะมีเครื่องมือควบคุมความผิดพลาดเหล่านี้
          กลุ่ม Healthcare Logistics Cluster คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทำวิจัยด้านระบบโลจิสติกส์เพื่อยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพและอนามัยของประเทศ ไทยเป็นเวลา 2 ปี พบว่า รหัสยาหลากหลายรูปแบบที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทานทางการแพทย์นี้ สร้างภาระงานต่อโรงพยาบาลเป็น อย่างมาก และทำให้มีโอกาสเกิดความผิดพลาดในการรักษาและจ่ายยา (medication error) เพราะยาบางชนิดมีรูปลักษณ์ ขนาด สี และชื่อที่คล้ายกันมาก และถึงแม้จะมีการใช้บาร์โค้ดกับยาอยู่แล้ว แต่บริษัทผู้ผลิตยาแต่ละบริษัทใช้บาร์โค้ดที่หลากหลาย ทำให้โรงพยาบาล ต้องเสียเวลาสร้างบาร์โค้ดขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นรหัสยาที่แตกต่างกันไม่สามารถสอบย้อนกลับในกระบวนการการผลิตได้ จึงมีแนวคิดที่จะนำ Standard Code ของ GS1 หรือที่เรียกว่า GTIN (Global Trade Item Number) มาใช้แก้ปัญหาดังกล่าว
          "ความผิดพลาดในการรักษาและจ่าย ยาในประเทศไทย อาจจะมีสาเหตุมาจากการใช้ยา หมอจ่ายยาผิด หรือจ่ายยาถูกแต่คนไข้รับยาผิด ทำให้ได้รับยาไม่เหมาะกับตนเอง หรือบางทีคนไข้แพ้ยากลุ่มเดียวกัน ได้ยาที่ ไม่เหมาะ หรือได้ยาซ้ำกันโดยที่ไม่รู้ ซึ่งเคยพบกรณีคนไข้ปวดเข่าไปพบแพทย์และได้รับยา แก้ปวดเข่ามา แต่อีกไม่กี่วันมีอาการไข้หวัดจึงไปโรงพยาบาลอีกครั้งและได้ยาลดการอักเสบมา ซึ่งเป็นยากลุ่มเดียวกับยาแก้ปวดเข่า หนักไปกว่านั้นคือ คนไข้เป็นโรคหัวใจ ซึ่งใช้ยาแอสไพรินเพื่อป้องกันการจับตัวของเม็ดเลือด ยาที่ได้รับไปเสริมฤทธิ์กันหมด ทำให้คนไข้เลือด ตกในกระเพาะ หรือเลือดออกในสมอง เพราะเกล็ดเลือดไม่แข็งตัว ซึ่งระบบ Standard Code จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้" นพ.สุธี ทุวิรัตน์ กรรมการบริหารสมาคมเวชสารสนเทศไทย กล่าวลดความผิดพลาดทางการรักษาสืบย้อนกลับได้ทั้งระบบ
          ด้าน รศ.ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย ศฤงคารินทร์ หัวหน้าคลัสเตอร์ Healthcare Logistics คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า GTIN จะสามารถแก้ปัญหาในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้ตลอดห่วงโซ่อุปทานทางการแพทย์ โดยเฉพาะโรงพยาบาลจะสามารถบริหารจัดการสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งการมีฐานข้อมูลยา (Data  Pool) ที่จะบรรจุข้อมูลมาตรฐานทางเภสัชกรรม ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ บุคลากรทาง การแพทย์ หรือแม้กระทั่งผู้ใช้ยา สามารถ เชื่อมต่อฐานข้อมูลยาของโรงพยาบาลได้ โดยใช้ GTIN เป็นตัวอ้างอิง ทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการสั่งจ่ายยา และถ้ามีการเชื่อมต่อระบบเข้ากับเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ โรงพยาบาลยังสามารถสั่งจ่ายยาให้ผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วขึ้น
          "การดำเนินงานโครงการ Thailand Healthcare Cluster จะทำให้เกิดการพัฒนาทั้งระบบในวงการแพทย์ และยังส่งผลต่อ การเพิ่มประสิทธิภาพในภาพรวมของระบบ Health care  Supply  Chain ในกลุ่มโรงพยาบาล วงการแพทย์ของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้สามารถบ่งชี้และสื่อสารข้อมูลยาได้ สะดวก และช่วยป้องกันโอกาสเสี่ยงของผู้ป่วย ลดความผิดพลาดในการรักษา ความผิดพลาดในการจ่ายยา ป้องกันการปลอมแปลงยา ระบบสามารถสืบย้อนกลับเรียกคืนสินค้าได้ และ ยังสามารถบริหารจัดการระบบบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายอีกด้วย"
          ขีดเส้นตายบริษัทยาขึ้นทะเบียน GTIN 31 พ.ค.นี้
          นพ.สุธี อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ว่า GTIN คือเลขรหัส 13 หลักของสถาบันรหัสสากล ซึ่งใช้ระบุอัตลักษณ์ของสินค้าทั่วโลกไม่ให้ซ้ำกัน ขณะที่ฐานข้อมูลยาหรือ Data Pool เปรียบเหมือนสมุดหน้าเหลืองที่บรรจุข้อมูลมาตรฐานของยาและเวชภัณฑ์ที่อ้างอิงกับรหัส GTIN
          ผู้ใช้ยาย่อมอยากรู้ว่ายาแต่ละตัวมีข้อ บ่งชี้/ข้อห้ามใช้อย่างไร แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีเลย สำหรับประชาชนทั่วไปอาจพอหาข้อมูลการใช้ยาได้บ้างจากเว็บไซต์  http://www.yaandyou.net/  แต่สำหรับกลุ่มหมอเภสัชที่ต้องการข้อมูลความลึกระดับเภสัชวิทยาจะไม่มีแหล่งข้อมูลยาซึ่งมีการออกใหม่ตลอดเวลา การนำระบบ GTIN มาใช้ร่วมกับ DATA POOL จะช่วยให้ประชาชนและกลุ่มหมอเภสัชสามารถเข้าถึงข้อมูลยาได้ดีขึ้น
          สำหรับกลุ่ม Thai land Heal t h c are Cluster เป็นการรวมกลุ่มของนักวิจัยด้าน โลจิสติกส์ กับโรงพยาบาลผู้ให้บริการทางการแพทย์ และผู้ประกอบการบริษัทยารวม 11 หน่วยงาน เพื่อพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพ ( Heal thc a re Innovation) ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ, สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย, บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด (N-Health), องค์กรเภสัชกรรม (GPO), ศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอม- พิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสถาบันรับรองคุณภาพของโรงพยาบาล (สรพ)
          นพ.สุธี บอกอีกว่า หลังจากมีการประชุมกันครั้งแรกและมีการตกลงร่วมกันที่จะใช้ Standard Code โดยใช้ ID ของ GS1 หรือ GTIN ซึ่งเป็น Global  Standard  ในการ บ่งชี้ยาอย่างไม่ซ้ำซ้อนกันทั่วโลก และเป็นรหัสยามาตรฐานที่มีความเป็นสากล โดย GTIN จะเปรียบเหมือนกุญแจที่จะไขเข้าไปสู่ข้อมูลยาใน Data Pool ที่กลุ่มThailand Healthcare Cluster จะจัดทำขึ้นในอนาคต
          "ทั้งนี้ ในปีนี้ 5 โรงพยาบาลใหญ่ในกลุ่ม Thaila nd Health care  Cluster ประกอบด้วยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ขีดเส้นให้บริษัทผู้ผลิตยาและเวชภัณฑ์ติดรหัส GTIN บนสินค้า ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 55 เพื่อทำ DATA POOL หลังจากยาและเวชภัณฑ์ทั้งหมดมีการขึ้นทะเบียน GTIN แล้ว โดยทั้ง 5 โรงพยาบาลจะไม่รับยาจากบริษัทยาและ Supplier ที่ไม่มีรหัส GTIN ส่วนDATA POOL น่าจะเสร็จประมาณเดือนกันยายน 55 ซึ่งขณะนี้ทางกลุ่มได้เน้นการนำร่องจากโรงเรียนแพทย์เป็นหลัก เพื่อเป็นต้นแบบแก่โรงพยาบาลอื่นๆ และระบบสาธารณสุขทั้งระบบที่จะตัดสินใจมาใช้ระบบ Standard Code ของ GS1 โดยความสมัครใจต่อไป ส่วนทางด้านบริษัท  Supplier มี ความต้องการให้บริษัทยาขึ้นทะเบียน GTIN อยู่แล้ว เนื่องจากจะช่วยแก้ปัญหาการส่งยาผิดและการสต๊อกยาได้อย่างครบวงจร" นพ.สุธี กล่าว

pageview  1205094    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved