HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
โพสต์ทูเดย์ [ วันที่ 28/05/2556 ]
หนุ่มสาวออฟฟิศปวด อย่าปล่อย

 การเสวนาพิเศษของผลิตภัณฑ์นูโรเฟน เจล ในงาน "เพนคิลเลอร์ มิวเซียม" พิพิธภัณฑ์แห่งวิวัฒนาการการบรรเทาความปวด ครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้หัวข้อ "คนรุ่นใหม่ ไร้ปวด" เพื่อแลกเปลี่ยนและบอกเล่าสาเหตุหลักของอาการปวดของคนยุคใหม่มาร่วมพูดคุยและแบ่งปันทัศนะในหลากหลายอาชีพ
          คนทำงานอาชีพสถาปนิก วัฒนวงษ์สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กล่าวว่า ทั้งนั่งออกแบบเป็นระยะเวลานาน ประชุมต่อเนื่องกัน 4-5 ชั่วโมง ออกไซต์งานเป็นช่วงๆ แล้วตอนกลางคืนก็ต้องกลับมานั่งออกแบบต่อ"ในตอนแรกก็ไม่ได้สนใจอาการปวดทำงานไปก็เพลิน พอรู้ตัวอีกทีก็นั่งไป 5 ชั่วโมงแล้ว ไม่ได้ขยับเขยื้อนไปไหนเลย มีอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ตอนแรกก็ยอมรับว่าทนเอา แต่พอถึงจุดหนึ่งที่ทนไม่ไหว ก็ต้องใช้ท่าบริหารบ้าง และถ้าเจ็บมากจริงๆก็จะใช้ยาแก้ปวดบ้าง ครั้งหนึ่งใช้เมาส์หนักมากจนต้องไปพบแพทย์ เพราะมีอาการเอ็นอักเสบ"
          ผศ.นพ.วิศาล คันธารัตนกุล หัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ กล่าวว่า คนทำงานมักจะอยู่ในท่าทำงานท่าเดียวซ้ำๆ หรือเกิดจากการใช้ร่างกายในระหว่างการทำงานในท่าผิดนานๆ สะสมและไม่ได้ยืดกล้ามเนื้อ 'หรือบางกลุ่มเป็นพวก "เวิร์กฮาร์ด เพลย์ฮาร์ด"คือทำงานหนัก และยังออกกำลังกายหนักๆหนำซ้ำไม่รู้จักดูแลตัวเอง จนบางครั้งปล่อยให้เกิดความปวดเรื้อรัง และท้ายที่สุดก็จะรบกวนคุณภาพชีวิต เกิดอาการนอนไม่หลับ
          ผลที่ตามมา คือ การเข้าใจผิดคิดว่าป่วยเป็นโรคอื่นหากมีอาการปวดเกิดขึ้นจึงต้องรีบตัดวงจรความปวดให้เร็วที่สุด โดยเริ่มจากการหาปัจจัยเสี่ยงต่อความปวดเช่น ความปวดที่อาจเกิดจากโครงสร้างของร่างกายเราเอง หรือการทำงาน อย่าอยู่ท่าเดียวนานๆ ต้องรู้จักยืดเหยียดกล้ามเนื้อในระหว่างวันเป็นอีกวิธีที่ช่วยผ่อนคลายให้กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหวหรือเส้นเอ็นได้ยืดตัว เช่น การยืดกล้ามเนื้อคอเอียงซ้ายขวา ก้มและเงยหน้า รู้จักหันมาออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ โดยมีเทคนิคง่ายๆ คือให้พอรู้สึกเหนื่อยหรือเมื่อยนิดๆการปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงจากความปวด เช่น ในทุกๆ วันของการทำงานต้องรู้จักพักการทำงาน 2-3 นาที ทำให้ร่างกายได้ขยับหลังจากทำงานท่าซ้ำๆ ใน1-2 ชั่วโมง
          และท้ายสุด ปรับเวิร์ก สเปซ (Work Space) ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม นั่งให้เต็มเก้าอี้ ที่สำคัญ หากมีอาการปวดอย่าปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่รักษาให้ถูกวิธีอาจทำให้เป็นโรคปวดเรื้อรังได้M
 


pageview  1205450    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved