HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
โพสต์ทูเดย์ [ วันที่ 21/12/2555 ]
"ปีใหม่" สนุกแค่ไหน...ไม่ทำลายสุขภาพ

  เพราะรู้ดีว่าเทศกาลคริสมาส และปีใหม่ที่ใกล้เข้ามา เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองที่ทุกคนรอคอย เพราะไม่ปรารถนาเห็นผู้อ่านป่วยตอนปีใหม่ ฉบับนี้เราวิธีการดูแลตนเองในเรื่องอาหาร ตลอดจนข้อควรระวังในการรับประทานช่วงที่ต้องร่วมงานปาร์ตี้จากนาวาอากาศตรีแพทย์หญิง สมโชดก ชาครียรัตน์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคระบบเมตาบอลิสมและเบาหวาน โรงพยาบาลกรุงเทพ มาแนะนำ
          "สำหรับวิธีการดูแลตนเองในเรื่องอาหาร ตลอดจนข้อควรระวังในการรับประทานช่วงที่ต้องร่วมงานปาร์ตี้สังสรรค์บ่อยๆ การรับประทานอาหารหรือการดื่มเครื่องดื่มสังสรรค์คงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในช่วงเทศกาล ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ จะมีคำแนะนำเรื่องอาหารและการดูแลสุขภาพต่างกันไป"
          เป็นต้นว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เช่น การสังสรรค์ต่อเนื่อง อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม ไวน์หวาน หากรับประทานอาหารมากขึ้น อาจจำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา โดยเฉพาะยาฉีดอินซูลินขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีภาวะเจ็บป่วยที่ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง อาจำเป็นต้องปรับลดขนาดยาลง ควบคู่ไปกับการตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองบ่อยขึ้น เพื่อเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจสูงหรือต่ำผิดปกติ จนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยและญาติที่ดูแลควรมีความรู้เบื้องต้นในการแก้ไขภาวะผิดปกติต่างๆ เช่นเมื่อผู้ป่วยมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ใจสั่น หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม ตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วผู้ป่วยพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หากยังรู้สึกตัวดี ควรหาน้ำหวาน น้ำผลไม้ 1 แก้วหรือลูกอมให้ผู้ป่วยรับประทาน เพื่อเป็นการปฐมพยาบาลก่อนพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
          ขณะที่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขาหมู ไข่แดง อาหารประเภททอด หอย ปลาหมึก เป็นต้น เพราะระดับไขมันในเลือดที่สูง จะส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันง่ายขึ้น แม้ทานยาลดไขมันอยู่เสมอ หากไม่ควบคุมอาหารด้วย อาจทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้นได้ นอกจากการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคแต่ละโรคแล้ว การบริโภคอาหารและน้ำที่สุกสะอาด ก็เป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ หรืออาหารแปลกๆที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ท้องเสีย อาเจียน และติดเชื้อรุนแรงได้
          ส่วนใครที่มีแผนว่าจะไปท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาวๆ นาวาอากาศตรีแพทย์หญิง สมโชดก แนะนำว่าควรเตรียมตัวดูแลสุขภาพให้พร้อมก่อนเดินทางไปเที่ยวและนี่คือ  4 ปัจจัยหลักที่ต้องให้ความสำคัญ
          เริ่มที่ถามตัวเองก่อนว่าจะไปเที่ยวที่ไหน ระยะเวลาในการเดินทางเป็นอย่างไร เช่น ไปทะเล หรือภูเขา โดยรถโดยสารหรือเดินทางไปต่างประเทศ โดยเครื่องบินและสถานที่ที่จะไปถึงมีสภาพอย่างไร ในเรื่องของที่พัก ความสะอาด อากาศ ความสะดวกสบาย บริการสาธารณสุข อาหาร น้ำดื่ม
          ที่สำคัญ ตรวจสภาพร่างกายของตนเองสักนิดว่าเป็นอย่างไร หรือหากมีโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ ก็เตรียมยาประจำให้พร้อม
          เหนืออื่นใด หากเดินทางร่วมเป็นคณะ จำเป็นต้องทราบปัญหาของผู้ร่วมทาง โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุและเด็กเล็ก หรือผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ว่าดูแลตนเองได้หรือไม่ ว่าต้องมีผู้ช่วยหรือผู้ดูแล หรือต้องจัดเตรียมสิ่งใดเป็นพิเศษ เช่น อาหารเฉพาะ รถเข็น เปลนอน ยกตัวอย่างเช่น หากต้องเดินทางไปต่างประเทศ ไปพม่า อินเดีย หรือเนปาล พร้อมญาติผู้ใหญ่หรือเด็กเล็ก เป็นระยะเวลา 10 วัน ท่านและผู้เดินทางต้อง สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรจะสอบถามแพทย์ประจำตัวของท่านว่า สามารถเดินทางไกลได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ต้องเตรียมยาประจำวันที่ใช้ทุกวันไปให้พร้อม ซึ่งมีความสำคัญพอๆ กับพาสปอร์ตเลยทีเดียว นอกเนือจากนั้นอาจ้องขอใบรับรองแพทย์จากแพทย์ประจำตัว ว่ามีโรคประจำใดบ้าง ทานยาใดอยู่ หรือแพ้ยาใดหรือไม่เและเบอร์ติดต่อฉุกเฉินของแพทย์ประจำตัวหรือสถานพยาบาลนั้นๆ
          หากตั้งครรภ์ ควรให้สูตินารีแพทย์ พิจารณาว่า การตั้งครรภ์ของเท่านไม่มีปัญหา และไม่เสี่ยงต่อการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด รวมถึงต้องขอใบรับรองแพทย์รับรองอายุครรภ์ และคำเตือนไม่เดินผ่านเครื่องเอกซเรย์เพื่อยื่นให้เจ้าหน้าที่สายการบินทราบ โดยใบรับรองแพทย์ไม่ควรขอนานเกิน  1 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง ในบางประเทศ อาจพบโรคติดต่อได้ เช่นไวรัสตับอักเสบ เอ, ไทฟอยด์, ไข้กาฬหลังแอ่น. ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
          นอกจากนี้ ควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาเรื่องการฉีดวัคซีน ซึ่งต้องฉีดก่อนเดินทางเป็นระยะเวลานานพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิก่อนการเดินทาง หากสถานที่ที่ไปทุรกันดาร ห้องน้ำไม่เพียงพอ มีปัญหาเรื่องความสะอาดน้ำดื่ม ท่านอาจต้องเตรียมน้ำดื่มบรรจุขวดขาย แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ แผ่นทำความสะอาด กระดาษชำระ หน้ากากอนามัย อาหารแห้งที่บรรจุหีบห่ออย่างดีไปด้วยควรเตรียมยาสามัญประจำบ้าน ให้ครอบคลุมอาการผื่นแพ้ ไข้หวัด เจ็บคอ ท้องเสีย อุปกรณ์ทำแผล ให้เพียงพอกับจำนวนคณะผู้ร่วมเดินทาง และหาข้อมูลของสถานพยาบาลในบริเวณที่จะไป หากเกิดเหตุไม่คาดคิด ควรมีประกันสขาภาพ เมื่อท่านต้องเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงสอบถาม หากเกิดเหตุการณ์เจ็บป่วย และจำเป็นต้องเดินทางกลับก่อนกำหนด ท่านจะได้ลดปัญหาความกังวลเรื่องการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่าย ระหว่างการเดินทาง ควรระมัดระวังความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ที่ใช้รับประทานอาหาร และความสะอาด "มือ" เป็นสำคัญ อาหารใดที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่แน่ใจในชั้นตอนการปรุงอาหารหรือทำความสะอาด ควรหลีกเลี่ยง รวมถึงระมัดระวังต่อการเกิดอุบัตเหตุ ที่สำคัญ ขอให้มี "สติติดตัวอยู่เสมอนะคะ"
          สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคอื่นๆ ควรใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองในช่วงเทศกาลมากที่สุด เนื่องจากทุกปีที่ผ่านมามีการรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลโดยเฉพาะ "เมาไม่ขับ" เนื่องจากการดื่มสุราเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตในช่วงเทศกาลของทุกปี แต่ยังมีโรคที่มิได้เกิดจากอุบัติเหตุอีกหลายโรคที่หลายคนอาจมองข้ามและละเลย เพราะคาดไม่ถึงว่าโรคเหล่านี้คร่าชีวิตคนไทยในปีหนึ่งๆ ไม่น้อยเลยทีเดียว เหตุเพราะปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนขึ้นโดยมีอายุขัยเฉลี่ยนประมาณ 73 ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากในอดีตที่คนไทยมีอายุขับเฉลี่ย 50 ปี อันเป็นผลจากการพัฒนาระบบสา
ธารณสุขที่ดีขึ้น ทำให้คนไทยมีคุณภาพพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้น แน่นอนว่าเมื่อมีอายุยืนยาวขึ้น โรคภัยไข้เจ็บย่อมมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้นนั้น โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหัวใจเป็นต้น ดังนั้นการใส่ใจให้ความสำคัญต่อโรคเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จะสามารถลดความสูญเสียต่อโรคเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จะสามารถลดความสูญเสียและทำให้ผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้มีโอกาสได้เฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขร่วมกับครอบครัวเพื่อนฝูงอย่างพร้อมหน้า ข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างง่ายๆแต่ควรจำให้ขึ้นใจในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้


pageview  1205837    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved