HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
โพสต์ทูเดย์ [ วันที่ 14/11/2555 ]
แก้ปัญหาใหญ่สาวยุคใหม่

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าด้วยไลฟ์สไตล์และสภาวะแวดล้อม ที่เปลี่ยนไปเป็นผลให้หนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยในปัจจุบันเริ่มมีการวางแผนครอบครัวเพื่อมีบุตรช้าขึ้นซึ่งส่งผลโดยตรงต่อภาวะการมีบุตรยาก ภาวะแท้งซ้ำซาก หรือแม้แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคดาวน์ซินโดรม
          นพ.สมเจตน์ มณีปาลวิรัตน์ ผู้อำนวยการแพทย์และสูตินรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์การมีบุตรยาก ศูนย์ซูพีเรีย เอ.อาร์.ที. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อนที่มีผลสำเร็จด้านอัตราการตั้งครรภ์ในระดับสากลและมีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม ตามธรรมชาติมากถึง 40-80% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้เป็นเจ้าของไข่เป็นหลัก ถ้าอายุมากขึ้นความผิดปกติก็จะมากขึ้นตามไปด้วย เพราะตัวอ่อนที่ผิดปกตินั้นส่วนใหญ่จะไม่ฝังตัว หรือถ้าฝังตัวจะก่อให้เกิดการแท้งในช่วง 3 เดือน ซึ่งหากรอดมาได้ ทารกก็จะมีความผิดปกติ
          ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่แล้วการตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมในตัวอ่อนก่อนการย้ายกลับสู่มดลูก จะใช้เทคนิค FISH ย่อมาจาก Fluorescent in situ hybridization โดยใช้เทคนิคการย้อมจำนวนของโครโมโซมให้ติดสีสะท้อนแสงฟลูโอเลสเซนต์ แล้วอ่านผลโดยการนับจำนวนของโครโมโซม
          ใต้กล้องฟลูโอเลสเซนต์ โดยวิธีการตรวจส่วนใหญ่เราจะทำการย้อมและตรวจนับเฉพาะโครโมโซมบางตัว ที่พบว่าผิดปกติในทารกแรกเกิดได้บ่อยๆ หรือก่อให้เกิดการแท้งซ้ำซาก
          หรือทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ซึ่งเทคนิค ดังกล่าวมีข้อเสียคือ ได้ผลการตรวจไม่แม่นยำร้อยเปอร์เซ็นต์และมีข้อจำกัดคือ สามารถตรวจโครโมโซมได้สูงสุดแค่เพียง 5-12 คู่ ทำให้ไม่สามารถทราบได้ถึงภาวะความปกติของโครโมโซมที่ไม่ได้รับการตรวจ
 


pageview  1205581    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved