HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
โพสต์ทูเดย์ [ วันที่ 26/06/2555 ]
ไขข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคนทำงาน

หลายคนคงคิดว่าโรคไขข้ออักเสบหรือไขข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ความจริงแล้วกลุ่มหนุ่มสาววัยทำงานก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่ชอบออกกำลังกาย ผู้ที่เล่นกีฬาที่ต้องใช้ข้อหนักๆ เช่น แบดมินตัน เทนนิส โบว์ลิง ฟุตบอล
          ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะข้อเสื่อมอาจเกิดเนื่องมาจากกิจวัตรที่เกิดขึ้นระหว่างทำงาน เช่น การยกของหนัก การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ก็สามารถส่งผลให้โครงสร้างร่างกายอยู่ในท่าผิดรูป กระดูกสันหลังอยู่ในท่าผิดปกติ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อข้อกระดูกและกล้ามเนื้อ หากยังมีการยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง หรือนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรังและนำมาสู่อาการเสื่อมต่างๆของข้อได้ เช่น ข้อเข่า ข้อกระดูกคอ ข้อกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ สาวๆ ที่ชอบการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานๆ การสะพายกระเป๋าหนักๆ ที่ไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง ก็ส่งเสริมการเกิดภาวะไขข้อเสื่อมได้เช่นเดียวกัน
          แม้กระทั่งปัจจุบันในยุคที่กระแสไอทีมาแรง การเพิ่มปริมาณการใช้บีบี ไอโฟน หรือไอแพด ที่เพิ่มขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่สัมพันธ์กับไขข้อเสื่อมได้อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพฤติการณ์การใช้อุปกรณ์ไอทีที่ต่างกันในแต่ละบุคคล ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจมีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน
          ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้อเสื่อมมากกว่า 3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี ซึ่งอาการของผู้ที่เป็นโรคไขข้อเสื่อมในปัจจุบันนั้นมักเป็นอาการที่เรียกว่าเป็นง่ายแต่หายยาก ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการปวดอักเสบดังกล่าวได้ด้วยตนเอง โดยการใช้ผลิตภัณฑ์ยาที่มีส่วนผสมของตัวยาไพรอกซิแคมที่เป็นรูปแบบเจลร้อน เพราะความร้อนจากเจลร้อนจะเข้าไปช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้ตัวยามีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดและอักเสบที่ดีขึ้นอาการเริ่มต้น
          เกิดจากจุดเริ่มต้นที่มีการบิดอย่างรุนแรงต่อหมอนรองกระดูก ทำให้หมอนรองกระดูกไม่แข็งแรง ไม่สามารถเป็นข้อต่อที่ดีให้กับกระดูกสันหลัง และเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง
          หมอนรองกระดูกไม่เหมือนกล้ามเนื้อที่มีเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงมาก เวลาเกิดโรคจึงหายได้เร็ว แต่หมอนรองกระดูกไม่มีเลือดไปเลี้ยงทำให้เป็นโรคเรื้อรัง และอาการจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆโดยทั่วไปการรักษามักไม่หายขาด เพราะอาการส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยที่ใช้อวัยวะผิดประเภท หรือกิจวัตรที่ฝืนการรับน้ำหนักของกระดูกหรือกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน กระทั่งเกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง การรักษาจึงเป็นเพียงแค่การประทัง บรรเทาความเจ็บปวดของผู้ป่วยให้ทรมานน้อยลง หรือการใช้กายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกระดูกและกล้ามเนื้อที่ผ่านการใช้งานผิดประเภทนั่นเองการรักษา
          ผู้ป่วยส่วนใหญ่ปวดไม่มาก สามารถรักษาด้วยยาและการบริหารกล้ามเนื้อ รวมทั้งการออกกำลังกายการบริหารโดยยืดกล้ามเนื้อ การออกกำลังที่ใช้กล้ามเนื้อหลังน้อย การออกกำลังกายแอโรบิกที่มีการกระแทกน้อยสำหรับยาที่ใช้ได้แก่ยากลุ่ม NSAID Paracetamol การผ่าตัดจะทำในรายที่มีอาการปวดมาก ไม่สามารถทำงานได้กล้ามเนื้อหลัง
          กล้ามเนื้อและเอ็นจะทำหน้าที่ประคับประคองกระดูกสันหลัง หากมีการอักเสบก็จะทำให้มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการปวดหลัง การที่มีอาการปวดหลังมากกว่า 2 สัปดาห์ อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังได้ เนื่องจากเมื่อปวดก็ทำให้ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อกลุ่มนั้น ทำให้กล้ามเนื้อและข้อกลุ่มนั้นไม่แข็งแรง ทำให้ปวดหลังเรื้อรังในที่สุด นอกจากอาการปวดหลังจะเกิดจากตัวกล้ามเนื้อหลังแล้ว ยังอาจจะเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อขาด้วย เนื่องจากร่างกายจะไปใช้ข้อที่กระดูกหลังมากกว่าข้อที่สะโพกสาเหตุของปวดหลัง
          โรคปวดหลังเป็นอาการเริ่มต้นของไขข้อเสื่อมส่วนใหญ่มักจะไม่ร้ายแรง ร้อยละ 50 หายได้เองภายใน 2 สัปดาห์ ร้อยละ 90 หายใน 3 เดือน ส่วนใหญ่เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลัง การอักเสบมักจะหายได้ง่ายเนื่องจากกล้ามเนื้อมีเลือดไปเลี้ยงมาก
          สาเหตุของโรคปวดหลังที่พบในคนอายุระหว่าง 20-60 ปี สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคของหมอนรองกระดูกกล้ามเนื้อหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหมอนรองกระดูกเสื่อมการออกกำลังกายหลัง
          การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้นและจะช่วยลดอาการปวดหลัง
          การออกกำลังกายที่สำคัญคือการยืดเส้น และข้อควรระวังในการออกกำลังกาย คือ
          1.เริ่มออกกำลังอย่างช้าๆ โปรดจำไว้ว่าความแข็งแรงของหลังแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากหลังของคุณไม่แข็งแรงพอ และคุณเร่งรีบการออกกำลังจะทำให้คุณเกิดปวดหลังได้ ควรจะเริ่มออกกำลังท่าที่ง่ายและไม่ก่อให้เกิดอาการปวดหลัง เริ่มจากครั้งละน้อย ค่อยๆ เพิ่ม เมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้นจึงเพิ่มทั้งปริมาณและความหนัก
          2.เลือกวิธีการออกกำลังให้เหมาะสม หากคุณเพิ่งหายจากอาการปวดหลังควรเลือกการออกกำลังที่มีผลต่อหลังคุณน้อย เช่น การว่ายน้ำ การออกกำลังกายในน้ำ การขี่จักรยานอยู่กับที่ ซึ่งต้องปรับความสูงของเบาะและมือจับ
          3.หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่ทำให้ปวดหลังโดยเฉพาะท่านที่มีโรคปวดหลังอยู่ก่อน เช่น การบิดเอวตีกอล์ฟ การที่ต้องหยุดบ่อยๆ เช่น การเล่นเทนนิส บาสเกตบอล กีฬาที่มีการกระแทก เช่น ฟุตบอล รักบี้ มวยปล้ำเคล็ดลับในการออกกำลังกาย
          ต้องกำหนดเป้าหมาย เช่น ออกเพื่อต้องการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือออกเพื่อให้หัวใจแข็งแรงขณะออกกำลังกายอย่ากลั้นหายใจ เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ให้หายใจเข้าออกตามปกติ บริหารกล้ามเนื้อให้เกิดความสมดุล เช่น บริหารหลังก็ต้องบริหารหน้าท้องบริหารกล้ามเนื้อแขนด้านหน้าต้องบริหารกล้ามเนื้อแขนด้านหลัง เป็นต้น
          เลือกน้ำหนักให้เหมาะสมกับตัวเอง โดยมากเมื่อยก10-15 ครั้งแล้วทำให้เมื่อยน้ำหนักนั้นจะเป็นน้ำหนักที่เหมาะสม อย่าใช้เวลามากเกินไป จากการศึกษาพบว่าเล่นวันละเซตก็เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง อย่ารีบให้ยกและวางลงอย่างช้าๆ เพื่อกล้ามเนื้อได้ถูกบริหารอย่างเต็มที่ ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งและใส่รองเท้าทุกครั้งเพื่อป้องกันเท้าได้รับบาดเจ็บn


pageview  1205836    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved