HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ประชาชาติธุรกิจ [ วันที่ 04/04/2556 ]
อารมณ์กับความก้าวร้าว

เมื่อมองย้อนกลับไปยังวิธีการที่วัฒนธรรมของเราสั่งสอนมาตั้งแต่เด็ก เรามีภาพฝังอยู่ในหัวว่าเด็กผู้ชายควรจะมีท่าทางและการกระทำแบบใด ภาพต่าง ๆ เหล่านี้ได้ก่อร่างขึ้นมาเป็นสิ่งที่เรียกว่า "กฎเกณฑ์ของเด็กผู้ชาย (Boy Code)" ซึ่งล้วนแต่เป็นความคาดหวังของสังคมที่มีต่อเด็กผู้ชายทั้งสิ้น
          "เด็กผู้ชายที่โตแล้วไม่ร้องไห้" หรือ "ต้องเป็นลูกผู้ชาย !" ดูเหมือนจะเป็นวลีที่เรามักจะได้ยินโดยทั่วไปจากพ่อแม่ที่มีความปรารถนาดีต่อลูก ซึ่งพยายามสอนให้ลูกชายเติบโตขึ้นเป็นผู้ชายที่เข้มแข็ง แต่แทนที่จะสร้างให้เกิดความแข็งแกร่ง การตอบสนองของพ่อแม่ต่อการแสดงอารมณ์ของลูกชายทำให้เกิดความอับอายขึ้นแทน
          นักจิตวิทยาเด็กหลายท่านต่างเห็นด้วยว่า เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนตั้งแต่เล็กให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นการไตร่ตรองหรือแสดงอารมณ์ของตนเอง และการ ตอบสนองหรือให้ความเคารพต่อความรู้สึกของผู้อื่น ขณะที่เด็กผู้ชายส่วนใหญ่ไม่ได้รับการสนับสนุนในด้านนี้ ความไม่เข้าใจเรื่องอารมณ์แสดงออกให้เห็นตั้งแต่พวกเขายังอายุน้อย เมื่อพวกเขากระทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่สนใจต่อความรู้สึกของผู้อื่นในบ้าน โรงเรียน หรือสนามเด็กเล่น
          นอกจากนี้ เป็นเรื่องปกติที่เราจะเห็นเด็กชายอายุ 4 หรือ 5 ปีทำร้ายพี่เลี้ยงเพื่อจะได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ คุณแม่หลายท่านมักจะตกใจกับความโกรธเกรี้ยวที่ลูกชายตัวน้อยตะโกนใส่หน้า เรียกชื่อจริง หรือแม้แต่พยายามเข้าทำร้ายตนเอง ผู้ปกครองบางคนไม่สนใจต่อความก้าวร้าวนี้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ โดยอาจกล่าวว่า "เด็กผู้ชายก็เป็นแบบนี้" ขณะที่ผู้อื่นก็เพียงแต่หวังว่าจะเป็นเพียงปฏิกิริยาของเด็กที่ยังไม่โตเท่านั้น
          แท้จริงแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเด็กผู้ชายเรื่องการตระหนักรู้ด้านอารมณ์เลย การขาดการเรียนรู้เรื่องอารมณ์ทำให้เด็กผู้ชายต้องเผชิญกับความกดดันเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เพื่อนนิยมความรุนแรง ซึ่งทำให้พวกเขามีการตอบสนองด้านอารมณ์จากสิ่งที่พวกเขาได้
          เด็กผู้ชายจำเป็นต้องรู้สึกถึงความสัมพันธ์ด้านอารมณ์ พวกเขาต้องรู้สึกว่าตนเองได้รับความรัก ความมั่นคง และการเป็นคนสำคัญ สิ่งสำคัญที่สุดคือ เด็กผู้ชายต้องการต้นแบบที่เป็นผู้ชายซึ่งมีชีวิตเต็มไปด้วยอารมณ์อันหลากหลาย พวกเขาต้องได้เรียนรู้ทักษะด้านอารมณ์จากพ่อและผู้ชายคนอื่น ๆ รวมทั้งจากแม่และผู้หญิงคน อื่น ๆ เพราะเขาต้องสร้างแนวทางชีวิตและภาษาสำหรับแต่ละอารมณ์ให้กับตัวเขาเองที่แสดงให้เห็นถึงตัวตนแห่งความเป็นชาย อีกทั้งเด็กผู้ชายต้องเข้าใจและเชื่อว่าอารมณ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
          ซึ่งเทคนิคสำหรับการสอนลูกชายของท่านให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ คือ การสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกชายในช่วงที่อยู่นอกรั้วโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นระหว่างทางที่ขับรถไปส่งที่โรงเรียน การทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายด้วยกัน หรือแม้แต่การนั่งคุยกันที่บ้าน เมื่อเด็กเล่าให้เราตั้งชื่อให้กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น ช่วยลูกชายในการให้คำนิยามของอารมณ์ด้วยการระบุว่า ลูกกำลังรู้สึกอย่างไร และตั้งชื่อให้กับอารมณ์นั้น เท่านี้ก็จะทำให้ลูกชายรู้จักอารมณ์ และสามารถจัดการกับมันได้เมื่อเขาโตขึ้น
 


pageview  1205882    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved