HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ประชาชาติธุรกิจ [ วันที่ 21/03/2556 ]
สัญญาณเตือน 'โรคพาร์กินสัน'

 
   ผลการศึกษาล่าสุด ซึ่งจัดทำโดยศูนย์พาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหน่วยประสาทวิทยา กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พบผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน หรือที่คนไทยเรียกว่าโรคสั่นสันนิบาต ร้อยละ 74.3 ประสบปัญหาอาการผิดปกติตอนกลางคืน
          โรคพาร์กินสัน หรือที่คนไทยเรียกว่าโรคสั่นสันนิบาต มักพบในผู้ป่วยในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป  ในอัตราส่วน 1 ต่อ 100 ราย แต่ปัจจุบันพบว่ามีคนทั่วไป อายุ 21-40 ปี ทั้งเพศชายและหญิงในสัดส่วนเท่า ๆ กัน สามารถมีอาการที่บ่งบอกถึงการเป็นโรคพาร์กินสันได้ เช่น มีอาการนอนละเมอตอนกลางคืนบ่อย ๆ ขณะหลับช่วงที่มีการหลับลึก (REM Sleep) การดมกลิ่นไม่ได้ ท้องผูก หรือมีอาการหดหู่อย่างต่อเนื่อง
          รศ.น.พ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์พาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวในงานแถลงข่าวนำเสนอผลการศึกษา NIGHT-PD study (ปัญหาอาการพาร์กินสันตอนกลางคืนกับการดูแลผู้ป่วย) ถึงสัญญาณเตือนภัยหรืออาการของโรคพาร์กินสันว่า โรคพาร์กินสันเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อย สาเหตุเกิดจากการเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวบริเวณก้านสมอง
          ผู้ป่วยพาร์กินสันทุกคนจะเคลื่อนไหวช้า แต่อาการสั่นไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทุกราย คนส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของอาการช้าและสั่น แต่ปัจจุบันยังพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการท้องผูก แข็งเกร็ง และเดินลำบาก ปัจจุบันอาการพาร์กินสันยังพบในกลุ่มคนอายุประมาณ 20 ถึง 30 กว่าปี ซึ่งจะมาหาหมอด้วยอาการแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้า แต่ไม่มีอาการสั่น
          "ปกติแล้ว อาการพาร์กินสัน มือและแขนจะติด ๆ ขัด ๆ ข้างเดียว ขยับยาก ปวดเกร็ง ๆ ซึ่งอาการสั่นจะพบร้อยละ 70 อาการของโรคพาร์กินสันเมื่ออยู่เฉย ๆ มือจะสั่นมาก แต่หากถือของหรือยกของ อาการสั่นจะลดน้อยลง หากสงสัยว่าเป็นโรคพาร์กินสัน ควรรีบมาพบแพทย์ เพราะผู้ป่วยไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้เอง"


pageview  1205886    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved