HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ประชาชาติธุรกิจ [ วันที่ 28/06/2555 ]
รสชาติของอาหารกับการทำงานของอวัยวะ

พืชผักผลไม้นั้นมีอยู่รอบตัวเรา ซึ่งนอกจากจะมีนับหมื่นพันธุ์แล้ว ยังหาซื้อที่ไหนก็ได้ แล้วยังมีประโยชน์มากมายในการป้องกัน และรักษาโรคต่างๆ เพียงแต่เราศึกษาค้นคว้า เรียนรู้สรรพคุณของแต่ละชนิดก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
          นอกจากสารอาหาร คาร์โบไฮเดต ไขมัน โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ ที่ร่างกายได้รับจากอาหาร มากไปกว่านี้คือรสชาติ เปรี้ยว หวาน ขม เค็ม เผ็ด ที่แตกต่างกันไปและช่วยให้เราเจริญอาหาร ทานอาหารได้อร่อย ไม่เบื่ออาหาร หรือแม้ยามเจ็บป่วยก็ตาม อาหารที่มีรสชาติอร่อยก็ยังช่วยให้คุณทานอาหารได้มากขึ้น
          รสเปรี้ยวเป็นพระเอกของการสร้างพลังให้ร่างกาย เพราะเมื่อใดที่เรารู้สึกว่าเรี่ยวแรงไม่ค่อยจะมี แต่เมื่อได้ทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวสักหน่อย ก็มีเรี่ยวแรงตื่นตัวขึ้นมาได้ อาหารที่ให้รสเปรี้ยว เช่น มะนาว มะม่วง ส้ม มะดัน มะขาม ฯลฯ รสเปรี้ยวนี้จะช่วยเสริมกำลังให้กับตับและถุงน้ำดีของเราโดยตรง
          รสหวานไม่ว่าจะจากน้ำตาล น้ำผึ้ง แตงโม กล้วย อ้อย และผสไม้ที่มีรสหวานทั้งหลายจะส่งผลต่ออวัยวะในร่างกายคือ ม้ามและกระเพราะอาหาร เพราะฉะนั้นการทานอาหารที่มีรสหวาน ก็จะเอื้อประโยชน์ให้กับกระเพาะอาหารและม้ามนั่นเอง  ขณะที่รสขมจะส่งผลที่สำคัญที่สุดต่ออวัยวะสำคัญ นั่นก็คือหัวใจและลำไส้เล็ก นับว่า "หวานเป็นลม ขมเป็นยา"ที่ดีที่สุดจริงๆ
          ถ้าพูดถึงเรื่องรสเค็มทุกคนคงจะต้องนึกถึงเกลือเป็นอันดับแรก แต่ก็จะมีอาหารชนิดอื่นที่ให้ความเค็มในตัวของมันเอง เช่น สาหร่ายทะเลต่างๆ ปลาน้ำเค็มทั้งหลาย หรือแม้แต่พวกหอยต่างๆ ก็ด้วย ถึงแม้จะไม่ได้เค็มเท่ากับเกลือ แต่รสชาติที่แท้ในตัวจะให้รสเค็มจัดกว่ารสอื่น ซึ่งรสเค็มนั้นแน่นอนที่สุดจะส่งผลโดยตรงต่อไต และอวัยวะอื่นที่ต่อเนื่องกัน นั่นก็คือกระเพราะปัสสาวะ
          คนไทยเรานิยมทานอาหารรสเผ็ดกันมาก ซึ่งนอกเหนือจากพริกที่ว่าเผ็ด ก็ยังมีพวกขิง กระเทียม อวัยวะที่ได้รับผลโดยตรงจากการทานเผ็ดนั้นก็คือ ปอด และลำไส้ใหญ่ สังเกตว่าทันทีที่เราทานอาหารที่มีรสเผ็ดเข้าไปมากๆ จะรู้สึกปวดท้อง นั่นก็เพราะลำไส้ของเราทำงานหนัก ขณะที่ถ้าเราทานเผ็ดก็รู้สึกว่าร่างกายเราหายใจหายคอได้เต็มปอด รู้สึกโล่งในการหายใจ นั่นก็เพราะอาหารรสเผ็ดจะส่งผลโดยตรงกับปอด และลำไส้ใหญ่นั่นเอง
          อาหารจานใดก็ตาม หากปรุงให้มีรสชาติเปรี้ยว หวาน ขม เค็ม เผ็ดกลมกล่อมกำลังดี ไม่มีรสใดนำ ไม่มีรสใดขาด เรียกได้ว่าอาหารจานนั้นจะให้ผลดีต่อร่างกายสูงสุด ทั้งจากพลังงานในอาหารเองและรสชาติที่สมดุลกันด้วย


pageview  1205836    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved