HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
ประชาชาติธุรกิจ [ วันที่ 02/08/2564 ]
เดินหน้าผลิต ฟาวิพิราเวียร์ แนะ อภ.จับมือเจ้าของสิทธิบัตร

 

          ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างหนักของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับ "วัคซีน" ซึ่งเป็นความหวังสุดท้ายของประเทศ ที่จะยับยั้งการระบาดรอบนี้ให้บรรเทาลงได้ก็ประสบกับภาวะ "ขาดแคลน" หรือไม่มีวัคซีนจะฉีดให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างทันท่วงที ส่งผลให้ตัวเลขคนป่วยพุ่งสูงขึ้นจากหลักร้อยต้น ๆ กระโดดเป็นหลักหมื่นและมีผู้เสียชีวิต ในหลักร้อยทุกวันติดต่อกันมาหลายสัปดาห์
          การรับมือผู้ติดเชื้อโควิด-19 จึงต้องพึ่งพายาหลักอย่าง "ยาฟาวิพิราเวียร์ หรือ Favipiravir" ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่พัฒนาโดย บริษัทฟูจิฟิล์ม โตยามะ เคมิคอล (FujiFilm Toyama Chemical Co.Ltd.) อนุมัติให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2557 แม้สิทธิบัตรของโครงสร้างสารออกฤทธิ์หลักของตัวยา ซึ่งไม่เคย ยื่นขอสิทธิบัตรในประเทศไทยจะหมดอายุไปนานแล้ว แต่ก็มีความพยายามที่จะมายื่นขอสิทธิบัตรที่เรียกกันว่า "สิทธิบัตรที่ไม่มีวันหมดอายุ หรือ Evergreen Patent" ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ของผู้ถือสิทธิที่จะขยายความคุ้มครองของผลิตภัณฑ์เดิมออกไปอีก ด้วยการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ (ในที่นี้คือยา) เพียงเล็กน้อยแล้วมายื่นขอรับสิทธิบัตรใหม่
          จนกลายเป็นการต่อสู้กันภายใต้กฎหมายการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับบริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตรใหม่ ท่ามกลางความต้องการใช้ยา Favipiravir เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศที่เพิ่มสูงนับเท่าทวีคูณ
          ยื่นจดทะเบียนยาเม็ด
          กลุ่มงานด้านศูนย์ข้อมูลสิทธิบัตร สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เคยให้ข้อมูลสถานะสิทธิบัตรยา Favipiravir ไว้ว่า บริษัทผู้ผลิตได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในประเทศไทยมา 3 คำขอ คือ คำขอในเรื่อง Formulation เป็นยาเม็ดแบนและผงกรานูเลตด์ ที่ประกอบด้วยยา Favipiravir ซึ่งเป็นคำขอที่มีปัญหาว่า หากผู้ผลิต ขอเคลมสูตรยานี้ในอนาคต จะทำให้องค์การเภสัชกรรมไม่สามารถ ผลิตยาเม็ดที่มีสูตรแบบนี้ออกจำหน่ายได้ในประเทศไทย โดยสูตรยาที่ขอเคลมมาคือยาฟาวิพิราเวียร์ผสมกับไฮดรอกซีโพรพิล เซลลูโลสและสารช่วยยึดเกาะ ผสมในรูปของยาเม็ดแบน ซึ่งขอถือสิทธิค่อนข้างจะกว้างมาก ส่วนอีก 2 คำขอนั้น เป็นการขอจดสิทธิบัตรในรูปของเกลือเมกลูมีนสำหรับยาฉีดและขอจดสิทธิบัตรในรูปแบบของเกลือโซเดียมสำหรับยาฉีด ซึ่งในบางประเทศก็มองว่า "ไม่มีขั้นการผลิตที่สูงขึ้นเพียงพอที่จะนำมาขอจดสิทธิบัตร" ได้
          โดยคำขอสิทธิบัตรใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาทางกฎหมายอยู่ในขณะนี้ก็คือ คำขอแรกหรือการขอรับสิทธิบัตรยา Favipiravir รูปแบบของ "ยาเม็ด" นั่นเอง โดยบริษัทผู้ขอได้ยื่นขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจสอบการประดิษฐ์ไปเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 ปรากฏกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ใช้เวลาตรวจสอบการประดิษฐ์ตามคำขอนี้อย่างยาวนานเกือบ 4 ปี มาจนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 จึงได้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ขอในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า คำขอสิทธิบัตรยา Favipiravir รูปแบบเม็ดนั้น "ไม่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น" แต่ผู้ขอยังได้รับกรอบระยะเวลาในการชี้แจงอีกกว่า 200 วัน หรือสิ้นสุดวันที่ 30 สิงหาคม 2564 โดยหากผู้ยื่นขอสิทธิบัตรไม่ชี้แจงเข้ามาภายในระยะเวลาที่กำหนดจึงจะถือว่า ผู้ขอ "ละทิ้ง" คำขอตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร
          GPO เดินหน้าผลิต Favipiravir
          ด้วยสถานการณ์ที่บีบรัดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังดำเนินไปอย่างรุนแรง ความต้องการใช้ยาที่เพิ่มสูงขึ้น โดยจะสังเกตจากเดือนกรกฎาคมที่ไทยสั่งซื้อยา Favipiravir นำเข้า จากต่างประเทศถึง 16 ล้านเม็ด ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อองค์การเภสัชกรรมให้รีบเร่งดำเนินการผลิตยา Favipiravir จากโรงงานภายในประเทศทันที โดยไม่สามารถรอกระบวนการทางกฎหมายว่าด้วยการยื่นขอจดสิทธิบัตรใหม่ให้สิ้นสุดลงได้
          ล่าสุดดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม (GPO) กล่าวว่า ได้ดำเนินการวิจัย-พัฒนาเพื่อที่จะผลิตยา Favipiravir มาโดยตลอด สถานะขณะนี้ก็คือ ทางองค์การอาหารและยา (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาตัวนี้เรียบร้อยแล้วและองค์การเภสัชกรรมจะเริ่มผลิตและกระจายยา Favipiravir ให้ผู้ป่วยได้ใช้ในต้นเดือนสิงหาคมนี้โดยในระยะแรกสามารถผลิตได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 2 ล้านเม็ด จากโรงงานขององค์การที่ถนนพระราม 6 และจะขยายกำลังการผลิตไปยังโรงงานผลิตยาที่คลอง 10 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
          "การผลิตยา Favipiravir ได้เองจะทำให้ราคายาถูกลงกว่าการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ส่งผลให้รัฐประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาลงไปได้มาก" จากข้อมูลที่ว่า การผลิตยาได้เองจะทำให้ต้นทุนราคายาถูกลงถึงครึ่งหนึ่งจากปัจจุบันที่จำหน่ายกันอยู่ที่ประมาณเม็ดละ 120-150 บาท
          และที่สำคัญก็คือ ไทยสามารถจ่ายยา Favipiravir กับ ผู้ป่วยได้อย่างกว้างขวาง ไม่ต้องจำกัดจำเขี่ยเหมือนที่ผ่านมา จากปัจจุบันที่ประเทศไทยมีความต้องการใช้ยา Favipiravir ถึงประมาณวันละ 300,000 เม็ด หรือเดือนละประมาณ 9-10 ล้านเม็ด เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19
          พันธมิตรร่วมผลิตยา Favipiravir
          อย่างไรก็ตาม ด้วยผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรยา Favipiravir ในรูปแบบยาเม็ดต่อไปอีก ทำให้ผู้ยื่นขอคำจดสิทธิบัตรใหม่ตัดสินใจที่จะยื่น "อุทธรณ์" คำสั่งปฏิเสธคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรผลิตยา Favipiravir แบบเม็ดอีกครั้ง โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการภายใต้ พ.ร.บ.สิทธิบัตร เพื่อพิจารณาคำอุทธรณ์ดังกล่าวก่อนที่จะเสนอเข้าสู่คณะกรรมการสิทธิบัตรชุดใหญ่ โดยมีกรอบระยะเวลาพิจารณาภายในเวลา 60 วัน
          และหากคณะอนุกรรมการพิจารณาปฏิเสธคำขอจดสิทธิบัตรยาด้วยการยืนเหตุผลที่ว่า "ไม่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น" อีกครั้ง ผู้ยื่นอุทธรณ์ก็ยังสามารถนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ศาลทรัพย์สินทางปัญญา ได้อีก ส่งผลให้ "กระบวนการทางกฎหมายยังไม่สิ้นสุดลง"
          ดังนั้นการผลิต ยา Favipiravir ขององค์การเภสัชกรรมจึงถือเป็นการผลิตยาโดยที่ "กระบวนการทางกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญายังไม่สิ้นสุดลง"
          แต่ก็ยังมีทางออกอีกทางหนึ่งจากข้อเสนอที่ว่า องค์การเภสัชกรรม ควรเปิดเจรจากับ บริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตร ในลักษณะของการเป็น "พันธมิตร" ร่วมกันในการผลิตยา Favipiravir เพื่อใช้ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งแน่นอนว่า การเป็นพันธมิตรนั้นจะไม่ได้มาฟรี ๆ แต่มีราคาที่จะต้อง "จ่าย" แน่ ๆ
          นอกจากนี้การเป็น "พันธมิตร" ร่วมกันนั้น เท่ากับองค์การเภสัชกรรม ยอมรับโดยพฤตินัยว่า ยา Favipiravir ยังได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรอยู่ แม้ว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังไม่รับจดสิทธิบัตรตามคำขอใหม่นี้ก็ตาม
          ด้านหนึ่งมีความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องผลิตยาต้านไวรัส Favipiravir อย่างเร่งด่วนเพื่อรักษาคนป่วยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น อีกด้านหนึ่งก็มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้อง หากบริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตรใหม่ชนะคดีในภายหลัง
          ท่ามกลางการแพร่ระบาดอย่างหนักของไวรัสโควิด-19 ประกอบกับ "วัคซีน" ซึ่งเป็นความหวังสุดท้ายของประเทศ ที่จะยับยั้งการระบาดรอบนี้ให้บรรเทาลงได้ก็ประสบกับภาวะ "ขาดแคลน" หรือไม่มีวัคซีนจะฉีดให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศอย่างทันท่วงที ส่งผลให้ตัวเลขคนป่วยพุ่งสูงขึ้นจากหลักร้อยต้น ๆ กระโดดเป็นหลักหมื่นและมีผู้เสียชีวิต ในหลักร้อยทุกวันติดต่อกันมาหลายสัปดาห์
          การรับมือผู้ติดเชื้อโควิด-19 จึงต้องพึ่งพายาหลักอย่าง "ยาฟาวิพิราเวียร์ หรือ Favipiravir" ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่พัฒนาโดย บริษัทฟูจิฟิล์ม โตยามะ เคมิคอล (FujiFilm Toyama Chemical Co.Ltd.) อนุมัติให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2557 แม้สิทธิบัตรของโครงสร้างสารออกฤทธิ์หลักของตัวยา ซึ่งไม่เคย ยื่นขอสิทธิบัตรในประเทศไทยจะหมดอายุไปนานแล้ว แต่ก็มีความพยายามที่จะมายื่นขอสิทธิบัตรที่เรียกกันว่า "สิทธิบัตรที่ไม่มีวันหมดอายุ หรือ Evergreen Patent" ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ของผู้ถือสิทธิที่จะขยายความคุ้มครองของผลิตภัณฑ์เดิมออกไปอีก ด้วยการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ (ในที่นี้คือยา) เพียงเล็กน้อยแล้วมายื่นขอรับสิทธิบัตรใหม่
          จนกลายเป็นการต่อสู้กันภายใต้กฎหมายการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับบริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตรใหม่ ท่ามกลางความต้องการใช้ยา Favipiravir เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศที่เพิ่มสูงนับเท่าทวีคูณ
          ยื่นจดทะเบียนยาเม็ด
          กลุ่มงานด้านศูนย์ข้อมูลสิทธิบัตร สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เคยให้ข้อมูลสถานะสิทธิบัตรยา Favipiravir ไว้ว่า บริษัทผู้ผลิตได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรในประเทศไทยมา 3 คำขอ คือ คำขอในเรื่อง Formulation เป็นยาเม็ดแบนและผงกรานูเลตด์ ที่ประกอบด้วยยา Favipiravir ซึ่งเป็นคำขอที่มีปัญหาว่า หากผู้ผลิต ขอเคลมสูตรยานี้ในอนาคต จะทำให้องค์การเภสัชกรรมไม่สามารถ ผลิตยาเม็ดที่มีสูตรแบบนี้ออกจำหน่ายได้ในประเทศไทย โดยสูตรยาที่ขอเคลมมาคือยาฟาวิพิราเวียร์ผสมกับไฮดรอกซีโพรพิล เซลลูโลสและสารช่วยยึดเกาะ ผสมในรูปของยาเม็ดแบน ซึ่งขอถือสิทธิค่อนข้างจะกว้างมาก ส่วนอีก 2 คำขอนั้น เป็นการขอจดสิทธิบัตรในรูปของเกลือเมกลูมีนสำหรับยาฉีดและขอจดสิทธิบัตรในรูปแบบของเกลือโซเดียมสำหรับยาฉีด ซึ่งในบางประเทศก็มองว่า "ไม่มีขั้นการผลิตที่สูงขึ้นเพียงพอที่จะนำมาขอจดสิทธิบัตร" ได้
          โดยคำขอสิทธิบัตรใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาทางกฎหมายอยู่ในขณะนี้ก็คือ คำขอแรกหรือการขอรับสิทธิบัตรยา Favipiravir รูปแบบของ "ยาเม็ด" นั่นเอง โดยบริษัทผู้ขอได้ยื่นขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจสอบการประดิษฐ์ไปเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 ปรากฏกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ใช้เวลาตรวจสอบการประดิษฐ์ตามคำขอนี้อย่างยาวนานเกือบ 4 ปี มาจนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 จึงได้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ขอในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า คำขอสิทธิบัตรยา Favipiravir รูปแบบเม็ดนั้น "ไม่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น" แต่ผู้ขอยังได้รับกรอบระยะเวลาในการชี้แจงอีกกว่า 200 วัน หรือสิ้นสุดวันที่ 30 สิงหาคม 2564 โดยหากผู้ยื่นขอสิทธิบัตรไม่ชี้แจงเข้ามาภายในระยะเวลาที่กำหนดจึงจะถือว่า ผู้ขอ "ละทิ้ง" คำขอตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร
          GPO เดินหน้าผลิต Favipiravir
          ด้วยสถานการณ์ที่บีบรัดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังดำเนินไปอย่างรุนแรง ความต้องการใช้ยาที่เพิ่มสูงขึ้น โดยจะสังเกตจากเดือนกรกฎาคมที่ไทยสั่งซื้อยา Favipiravir นำเข้า จากต่างประเทศถึง 16 ล้านเม็ด ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อองค์การเภสัชกรรมให้รีบเร่งดำเนินการผลิตยา Favipiravir จากโรงงานภายในประเทศทันที โดยไม่สามารถรอกระบวนการทางกฎหมายว่าด้วยการยื่นขอจดสิทธิบัตรใหม่ให้สิ้นสุดลงได้
          ล่าสุดดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ องค์การเภสัชกรรม (GPO) กล่าวว่า ได้ดำเนินการวิจัย-พัฒนาเพื่อที่จะผลิตยา Favipiravir มาโดยตลอด สถานะขณะนี้ก็คือ ทางองค์การอาหารและยา (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาตัวนี้เรียบร้อยแล้วและองค์การเภสัชกรรมจะเริ่มผลิตและกระจายยา Favipiravir ให้ผู้ป่วยได้ใช้ในต้นเดือนสิงหาคมนี้โดยในระยะแรกสามารถผลิตได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 2 ล้านเม็ด จากโรงงานขององค์การที่ถนนพระราม 6 และจะขยายกำลังการผลิตไปยังโรงงานผลิตยาที่คลอง 10 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
          "การผลิตยา Favipiravir ได้เองจะทำให้ราคายาถูกลงกว่าการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ส่งผลให้รัฐประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาลงไปได้มาก" จากข้อมูลที่ว่า การผลิตยาได้เองจะทำให้ต้นทุนราคายาถูกลงถึงครึ่งหนึ่งจากปัจจุบันที่จำหน่ายกันอยู่ที่ประมาณเม็ดละ 120-150 บาท
          และที่สำคัญก็คือ ไทยสามารถจ่ายยา Favipiravir กับ ผู้ป่วยได้อย่างกว้างขวาง ไม่ต้องจำกัดจำเขี่ยเหมือนที่ผ่านมา จากปัจจุบันที่ประเทศไทยมีความต้องการใช้ยา Favipiravir ถึงประมาณวันละ 300,000 เม็ด หรือเดือนละประมาณ 9-10 ล้านเม็ด เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19
          พันธมิตรร่วมผลิตยา Favipiravir
          อย่างไรก็ตาม ด้วยผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการขยายการคุ้มครองสิทธิบัตรยา Favipiravir ในรูปแบบยาเม็ดต่อไปอีก ทำให้ผู้ยื่นขอคำจดสิทธิบัตรใหม่ตัดสินใจที่จะยื่น "อุทธรณ์" คำสั่งปฏิเสธคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรผลิตยา Favipiravir แบบเม็ดอีกครั้ง โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการภายใต้ พ.ร.บ.สิทธิบัตร เพื่อพิจารณาคำอุทธรณ์ดังกล่าวก่อนที่จะเสนอเข้าสู่คณะกรรมการสิทธิบัตรชุดใหญ่ โดยมีกรอบระยะเวลาพิจารณาภายในเวลา 60 วัน
          และหากคณะอนุกรรมการพิจารณาปฏิเสธคำขอจดสิทธิบัตรยาด้วยการยืนเหตุผลที่ว่า "ไม่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น" อีกครั้ง ผู้ยื่นอุทธรณ์ก็ยังสามารถนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ศาลทรัพย์สินทางปัญญา ได้อีก ส่งผลให้ "กระบวนการทางกฎหมายยังไม่สิ้นสุดลง"
          ดังนั้นการผลิต ยา Favipiravir ขององค์การเภสัชกรรมจึงถือเป็นการผลิตยาโดยที่ "กระบวนการทางกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญายังไม่สิ้นสุดลง"
          แต่ก็ยังมีทางออกอีกทางหนึ่งจากข้อเสนอที่ว่า องค์การเภสัชกรรม ควรเปิดเจรจากับ บริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตร ในลักษณะของการเป็น "พันธมิตร" ร่วมกันในการผลิตยา Favipiravir เพื่อใช้ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งแน่นอนว่า การเป็นพันธมิตรนั้นจะไม่ได้มาฟรี ๆ แต่มีราคาที่จะต้อง "จ่าย" แน่ ๆ
          นอกจากนี้การเป็น "พันธมิตร" ร่วมกันนั้น เท่ากับองค์การเภสัชกรรม ยอมรับโดยพฤตินัยว่า ยา Favipiravir ยังได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรอยู่ แม้ว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญา ยังไม่รับจดสิทธิบัตรตามคำขอใหม่นี้ก็ตาม
          ด้านหนึ่งมีความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องผลิตยาต้านไวรัส Favipiravir อย่างเร่งด่วนเพื่อรักษาคนป่วยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น อีกด้านหนึ่งก็มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้อง หากบริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตรใหม่ชนะคดีในภายหลัง

 


pageview  1205090    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved