HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 14/09/2563 ]
สธ.เตรียมรับมือโควิด-19ระลอกใหม่ตั้งสถานกักกันโรคทางเลือกจังหวัดรองรับ

  การเดินหน้าทางเศรษฐกิจมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น สธ.จึงได้เดินหน้าพัฒนาสถานกักกันโรค (Quarantine) แต่ละรูปแบบ ให้ตอบโจทย์ของประเทศ เพื่อการนำ ผู้เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาพัก โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันกำหนดมาตรฐานและการควบคุม เพื่อให้มั่นใจว่า คนในประเทศไทยจะไม่ติดโรคจากผู้เดินทาง เข้ามา และเร่งเดินหน้าจัดตั้งสถานกักกัน โรคทางเลือก (AlternativeState Quarantine: ASQ) ในทุกจังหวัด เพื่อรองรับการเข้าพักของผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ พร้อมทั้งเดินหน้าค้นหาผู้ป่วยในประเทศ เนื่องจากอาจมีผู้ที่มีเชื้อโดยไม่แสดงอาการหลงเหลืออยู่
          กรุงเทพธุรกิจ   โดยวานนี้ (14 กย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมด้วย นพ.วิทูรย์ อนันกุล ผู้อำนวยการ กองสาธารณสุขฉุกเฉิน และนพ.ธเนศ ดุสิตสุนทรกุล รักษาการผู้อำนวยการ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน รายงานสถานการณ์ความพร้อมรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19
          นพ.สุรโชค กล่าวว่า ในช่วงแรกที่เริ่มพบการระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยขาดแคลนทรัพยากรและอุปกรณ์ต่างๆ แต่ในปัจจุบันที่ควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างดี จึงต้องเร่งสำรองทรัพยากรต่างๆ ไว้ โดยขณะนี้ประเทศไทยมีโรงงานที่สามารถผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical mask) จำนวน 40 แห่ง รวมกำลังการผลิตเฉลี่ยวันละ 3.4 ล้านชิ้น ซึ่งประชาชนสามารถเข้าถึงได้และมีความเพียงพอต่อการใช้ภายในโรงพยาบาล (รพ.)
          อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการสำรองทรัพยากรและอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ มีการสำรองไว้ทั้งหมด 43 ล้านชิ้น เพียงพอสำหรับ 3 เดือน หน้ากากอนามัย ชนิดN95 มีสำรองทั่วประเทศ จำนวน 2.4 ล้านชิ้น อยู่ที่ส่วนกลาง 1.9 ล้านชิ้น และกระจายอยู่ใน รพ.ต่างๆรวม 5 แสนชิ้น ชุดป้องกันส่วนบุคคล PEE และ Cover all สำรอง ทั่วประเทศรวม 1.4 ล้านชิ้น อยู่ในส่วนกลาง  6 แสนชิ้น กระจายไปยัง รพ.ต่างๆ รวม 8 แสนชิ้น เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต้องใช้ทุกวัน
          สำหรับ ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) มีสำรองในประเทศไทย จำนวน 590,000 เม็ด  ซึ่งขณะนี้มีหลายประเทศที่สามารถยาชนิดนี้ ได้ คือ จีน ญี่ปุ่น ทั้งนี้อย.อนุญาตให้มีการ นำเข้าจาก 2 บริษัท ในประเทศอินเดียเพิ่มเติม และ ส่วนยาเรเดซิเวียร์(Remdesivir) 400 หลอด
          ส่วนการสำรองทรัพยากรต่างๆ ไว้ในจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมา เช่น ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงรายกาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง ได้แก่ N95 จำนวน 29,872 ชิ้น  หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 3,831,938 ชิ้น ชุดป้องกัน PPE จำนวน 28,704 ชิ้น และ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 15,645 ชิ้น
          ในส่วนของวัคซีนของประเทศไทยที่มีการเดินหน้าพัฒนาใน 8 หน่วยงานที่มีความก้าวหน้า ได้แก่ 1.บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด 2. โครงการพัฒนาวัคซีน ในรูปแบบ mRNA ของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิจัยและพัฒนาวัดขึ้น คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 3.บริษัท ไบโอเนท- เอเชีย จำกัด โดย อย.  ได้เข้าไปเจรจาเบื้องต้นในส่วนของเอกสารสำหรับการยื่นขออนุญาตทำการทดลอง ในมนุษย์ เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า
          นพ.วิทูรย์ อนันกุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน กล่าวว่าที่ผ่านมา สธ.ทำหน้าที่ควบคุมโรคได้ดีในระดับ ที่น่าพอใจ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงประเทศจำเป็นต้องเดินหน้าต่อ สธ. พร้อมจะ สนับสนุนในด้านการเดินหน้าเศรษฐกิจ คำถาม คือ การเปิดประเทศ ผลักดันให้เศรษฐกิจเดินหน้า ต้องทำหลายประเด็น โดยเฉพาะคนนำเข้าต่างประเทศ จากการท่องเที่ยว อยากให้ประชาชน มีความมั่นใจว่าถึงจุดหนึ่ง สธ. ได้เตรียมการ ในขณะนี้ มีการบริหารจัดการโรคและผู้ป่วยแบบ เรียลไทม์ วันต่อวัน พร้อมติดตามเรื่องของสต็อกทรัพยากรใน รพ. ต่างๆ ขอให้มั่นใจ
          ทั้งนี้การเดินหน้าทางเศรษฐกิจมีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น สธ.จึงได้เดินหน้าพัฒนาสถานกักกันโรค (Quarantine) แต่ละรูปแบบให้ตอบโจทย์ของประเทศ เพื่อการนำผู้เดินทางจากต่างประเทศ เข้ามาพัก โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ร่วมมือกันกำหนดมาตรฐานและการควบคุม เพื่อให้มั่นใจว่า คนในประเทศไทยจะไม่ติดโรคจากผู้เดินทางเข้ามา และ เร่งเดินหน้าจัดตั้งสถานกักกันโรคทางเลือก (AlternativeState Quarantine: ASQ) ในทุกจังหวัด เพื่อรองรับการเข้าพักของ ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ พร้อมทั้งเดินหน้าค้นหาผู้ป่วยในประเทศ เนื่องจากอาจมีผู้ที่มีเชื้อโดยไม่แสดงอาการหลงเหลืออยู่  ขอให้ประชาชนมีความมั่นใจและยังคงต้องรักษามาตรการป้องกันส่วนบุคคลไว้อย่างเคร่งครัด
          อย่างไรก็ตามในส่วนของการเดินหน้าของประเทศ ประเด็นหนึ่งที่ประชาชนต้องยอมรับร่วมกัน คืออาจจะจำเป็นมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ต้องอยู่บนฐานที่สามารถควบคุมได้ ในหลักการตอนนี้เรามีศักยภาพ ที่ดูแล 1-2 หมื่นคน ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งห้อง เตียง ทรัพยากร และบุคลากร
          นอกจากนี้ สธ. ได้เดินหน้าพัฒนา สถานกักกันของรัฐแต่ละรูปแบบเพื่อตอบโจทย์ของประเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้ร่วมมือกันในการกำหนดมาตรฐาน และควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มประชากรไทยจะไม่ติดโรค  ยังมีการติดตาม ค้นหา ในประเทศ เพราะเชื้อว่ามีกลุ่มที่มีเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ ตอนนี้อาจจะอยู่ในวงจำกัดและไม่แพร่เชื้อ แต่ยังค้นหาตลอดเวลา เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าจะสามารถเดินหน้าได้
          ด้านพ.ธเนศ ดุสิตสุนทรกุล รักษาการผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวเพิ่มเติมว่าประเทศไทยยังคงเข้มมาตรการผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยทุกคนต้องเข้าสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้จนครบ 14 วัน และทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 หากพบเชื้อจะได้รับการส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษาเพื่อป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อเข้าสู่ประเทศ
          ขณะนี้ ด้านความมั่นคง หน่วยงาน ด้านการปกครอง และหน่วยงานด้านสาธารณสุข ได้บูรณาการทำงานร่วมกันอย่างเข้มงวดในผู้ที่เดินทางเข้ามา โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่เดินทางเข้ามา อย่างผิดกฎหมาย ได้มอบหมายให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ อาสาสมัครสาธารณสุขประชากรต่างด้าว (อสต.) มีส่วนร่วม ในการดูแล โดยเฉพาะแรงงานที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมายที่มีโอกาสนำเชื้อเข้ามาในประเทศไทย


pageview  1205016    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved