HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
โลกวันนี้ [ วันที่ 18/02/2555 ]
วุ้นตาเสื่อม

         อ.พญ.โสมนัส ถุงสุวรรณ          

si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl
          วุ้นตา (vitreous) เป็นส่วนประกอบของลูกตา มีลักษณะเป็นของเหลวคล้าย ไข่ขาวอยู่หน้าต่อจอตา และ ยึดติดกับผิวของจอตา เมื่อเข้าสู่วัยกลางคนวุ้นตาจะเสื่อม มีลักษณะเหลวเป็นน้ำ หดตัว และลอกจากจอตาเกิดเป็นตะกอนขุ่น
          อาการ
          ผู้ป่วยจะมองเห็นเป็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยาก ไย่ลอยไปมา โดยเฉพาะเวลากลอกตาหรือมองผนังสีขาวหรือท้องฟ้า ตะกอนเหล่า นี้จะคงอยู่ในวุ้นตาโดยไม่ก่อ ให้เกิดอันตรายใดๆ ในระยะแรกผู้ป่วยจะสังเกตเห็นตะกอนเหล่านี้ได้ง่าย แต่เมื่อ เวลาผ่านไปสมองจะเกิดการ เรียนรู้และละเลยภาพเหล่านั้นไปเอง ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นตะกอนเหล่านี้ลดลง
          นอกจากนี้เมื่อวุ้นตา เหลวและหดตัวจะส่งผลให้เกิดแรงดึงรั้งที่ผิวของจอตา ทำให้เกิดการกระตุ้นเห็นเป็น แสงคล้ายแสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป หรือแสงฟ้า แลบในตา ผู้ป่วยมักสังเกตเห็นแสงแฟลชชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืดหรือเวลากลาง คืน อาการนี้จะลดลงและหายไปเมื่อวุ้นตาร่อนตัวออก จากจอตาอย่างสมบูรณ์ แต่ในบางรายแรงดึงรั้งที่เกิดขึ้นอาจทำให้จอตาฉีกขาด หากทิ้งไว้จะทำให้เกิดภาวะจอตาหลุดลอก ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ นอกจากนั้นการมองเห็นจุดสีดำลอยไปมาอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะเลือดออกในวุ้นตา และม่านตาอักเสบ เป็นต้น
          ทราบได้อย่างไรว่าวุ้นตาเสื่อม
          ผู้ป่วยที่มีอาการมองเห็นจุดดำลอยไปมาหรือเห็นแสงแฟลชในตาควรได้รับการตรวจตา โดยจักษุแพทย์จะหยอดยาขยายรูม่านตาเพื่อตรวจจอตาและวุ้นตาอย่างละเอียด ภายหลังการขยายม่านตาผู้ป่วยจะมีอาการตาพร่ามัว สู้แสงไม่ได้ การมองเห็นจะกลับมาเป็นปรกติ เมื่อยาขยายม่านตาหมดฤทธิ์ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง
          การรักษา
          ภาวะวุ้นตาเสื่อมไม่จำเป็นต้องทำการรักษา ผู้ป่วยจะยังคงมองเห็นจุดดำลอยไปมา แต่ไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ส่วนแสงแฟลชจะค่อยๆลดลงและหายไปในที่สุด ในช่วงที่มีอาการควรงดการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการกระเทือน ผู้ป่วยสามารถใช้สายตาและทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปรกติ
          ในรายที่ตรวจพบรอยฉีกขาดที่จอตาแพทย์จะทำการรักษาด้วยแสงเลเซอร์เพื่อปิดรอยฉีกขาดนั้น ถ้าไม่มีรอยฉีกขาดแพทย์จะนัดตรวจตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะจอตาฉีกขาดในผู้ป่วยแต่ละราย แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงของอาการ เช่น ปริมาณของจุดดำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเห็นแสงแฟลชถี่ขึ้น ควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจอย่าง ละเอียดแม้จะยังไม่ถึงวันนัดก็ตาม เนื่องจากอาจเกิดรอยฉีกขาดที่จอตา ซึ่งต้องได้รับการรักษาด้วยแสงเลเซอร์โดยเร็ว

pageview  1205112    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved