HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
โลกวันนี้ [ วันที่ 04/02/2556 ]
พลังเยียวยาจาก'ดอกไม้'

          ปัจจุบันมียารักษาโรคใหม่ๆที่เหล่านักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยพยายามนำสารสกัดจากธรรมชาติมาใช้และลดการใช้สารเคมี ทั้งจากพืชสมุนไพร สารจากปะการัง พิษจากสัตว์ รวมถึง "ดอกไม้" ซึ่งมีการ ค้นพบพลังในการบำบัดโรค เช่น ภาวะ สมองเสื่อม ระงับปวด ต้านอักเสบ และต้านปัญหาซึมเศร้า วิตกกังวล
          เหตุใดเคมีในดอกไม้จึงมีพลัง อานุภาพสูง แม้แต่กับสมองซึ่งเป็นอวัยวะที่มีความสลับซับซ้อนที่สุดของมนุษย์ ยังไม่มีใครสามารถให้คำ ตอบได้แน่ชัด เชื่อว่าอาจเป็นผลจากกระบวนการวิวัฒนาการของดอก ไม้เพื่อป้องกันสัตว์นักล่า หรือเพื่อดึงดูดแมลงที่ช่วยผสมเกสรดอกไม้ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาค้นหาคุณสมบัติในการเยียวยาของดอกไม้หรือไม้ดอกกันเพิ่มขึ้นแล้ว
          ตัวอย่างดอกไม้ที่มีประโยชน์ ทางการแพทย์มีดังนี้
          ดอกหยาดหิมะ (Snowdrop) : พืชดอกเมืองหนาววงศ์ Amaryllidaceae มีหัวเล็กๆคล้ายหัวหอม มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ต้นสูงราว 6 นิ้ว ดอกมีสีขาวเล็กๆน่ารัก บานในช่วงปลายฤดูหนาว และ 1 ต้นจะมีเพียง 1 ดอกเท่านั้น ในอดีตเคยใช้เพื่อแก้อาการปวดศีรษะ ระงับปวด และเป็นยาต้านพิษ
          ปัจจุบันสาร galantamine ของต้นหยาดหิมะถูกนำไปเป็นส่วนผสมของยารักษาฟื้นฟูความจำของโรคสมองเสื่อมอ่อนๆถึงปาน กลาง โดยจะช่วยเพิ่มระดับเคมี acetylcholine ที่เป็นสารช่วยเซลล์ประสาทต่างๆสื่อสารได้ดีขึ้น ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์จะมีเคมี acetylcholine ลดลง การยับยั้งจึงเท่ากับหยุดหรือชะลอภาวะความจำเสื่อมได้
          โครคัส (Crocus)-หญ้าฝรั่น(Saffron) : ทั้ง 2 ชนิดเป็นดอก ไม้เมืองหนาวในวงศ์เดียวกันคือ Iridaceae ในอดีตถูกนำมาเป็นเครื่องเทศและยาแผนโบราณ ซึ่ง แพทย์โบราณพบว่า ละอองเกสร โครคัสทำให้คนหัวเราะ มีความสุข ใช้ดมแก้เมาคลื่น แก้ปวด ช่วยเพิ่มกำหนัด แก้เมาค้าง รักษาโรคดีซ่าน หัด หืด และโรคข้ออักเสบ
          ปัจจุบันกำลังมีการทดสอบหญ้าฝรั่นเพื่อใช้รักษาอาการปวดฟันและโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่ง นักวิจัยมหาวิทยาลัยซิดนีย์ของออสเตรเลียเปิดเผยว่า หญ้าฝรั่นจะส่งผลต่อไขมันที่สะสมอยู่ในตา ทำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการมองเห็นแข็ง แกร่งและยืดหยุ่นได้ดีขึ้น ขณะเดียว กันยังถูกนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ด้วย ซึ่งช่วยให้การทำหน้าที่ ด้านความจำดีขึ้น ส่วนนักวิจัยมหา วิทยาลัยโตเกียวพบว่าเป็นผลจากที่มีสาร Crocin ช่วยกระตุ้น นอก จากนี้สารดอกไม้ทั้ง 2 ชนิดนี้ยังรักษาโรคซึมเศร้าแบบอ่อนๆได้ด้วย
          ด้านมาโย คลินิก ในสหรัฐ พบว่า สาร colchicines จากไม้ดอกทั้ง 2 ชนิดช่วยต้านการอักเสบที่อาจช่วยป้องกันหรือรักษาโรคเกาต์ได้ ขณะที่นักวิจัยมหาวิทยาลัยแบรดฟอร์ดของอังกฤษค้นพบฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง
          ลาเวนเดอร์ (Lavender) : ไม้ดอกในท้องถิ่นเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโรมันเพื่อเป็นยาระงับประสาท ผ่อน คลาย และต้านอาการซึมเศร้า ปัจจุบันนักวิจัยมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ทบทวนการศึกษาต่างๆพบว่า น้ำมัน จากดอกและต้นสดๆของลาเวนเดอร์ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ลดกังวลและซึมเศร้า ทำให้อารมณ์ดีขึ้น อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาศีรษะล้าน และ ระงับปวดหลังการผ่าตัดได้ ขณะที่เยอรมนีศึกษาพบว่า ผลดีต่ออารมณ์ เกิดจากการส่งผลต่อเคมีสมองชื่อว่า gamma-aminobutyric acid (GABA)
          Mi l kwo r t ( Po ly g a l a vulgaris) : ไม้ดอกในวงศ์ Polygalaceae family กระจายในยุโรป เอเชีย และสหรัฐ ชื่อ polygala เป็นภาษาละตินหมายถึง "มีน้ำนมมาก" ซึ่งตามความเชื่อของคนในอดีตเชื่อว่า ถ้าให้วัวนมกินต้นของดอกไม้ชนิดนี้จะให้ผลผลิตน้ำนมมาก โดยถูกนำมาใช้ช่วงยุคกลาง (ค.ศ. 5-15) ในการช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ ลดความกังวล แก้นอนไม่หลับ และหลงลืม ปัจจุบันนักวิจัยเกาหลีใต้ศึกษาพบว่า ช่วยปกป้องเซลล์ สมองและเพิ่มความจำในอาสาสมัคร ทั้งหญิงและชายหลังได้สารจากไม้ดอกนี้ 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์
          ดอกแดฟโฟดิล (Daffodil) : ไม้ดอกท้องถิ่นยุโรป แอฟริกาเหนือ และทางตะวันตกของเอเชีย ในอดีต ถูกนำมาใช้เพื่อทำให้อาเจียน และใช้บดละเอียดเพื่อรักษาบาดแผลและไฟลวกไหม้ หัวอุดมด้วยสาร galantamine เหมือนโครคัสที่สามารถใช้รักษาโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งยังช่วยรักษาอาการซึมเศร้า แต่ที่พิเศษคือ สารจากดอกไม้นี้สามารถทะลุด่านปกป้องสมองได้ดี จึงถูกนำไปผสมยารักษาอาการซึมเศร้าเพื่อช่วยให้ยาไปถึงสมองได้ดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
          จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นจะเห็นได้ว่าดอกไม้ธรรมชาติมีคุณสมบัติในการเยียวยารักษาโรค แต่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เหล่านักวิทยาศาสตร์นักวิจัยต้องค้นคว้าต่อไปเพื่อนำทรัพยากรมีค่านี้มาใช้ประโยชน์


pageview  1205881    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved