HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
โลกวันนี้ [ วันที่ 14/12/2555 ]
ภาวะตัวเหลืองในทารก

 พญ.จรินทรณ์ วงศ์ภากร
          ภาวะตัวเหลือง (Jaundice) พบได้บ่อยในทารกแรก

เกิด ถือเป็นภาวะปรกติซึ่งเกิดขึ้นกับทารกแรกเกิดเกือบทุก

คนโดยเฉพาะในสัปดาห์แรก ภาวะตัวเหลืองนี้เกิดจากสารที่

มีชื่อว่า  บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่มีสีเหลือง ในทารก

ปรกติจะมีสารเหลืองนี้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ทารกที่มี

ภาวะตัวเหลืองผิดปรกติจะมีสารเหลืองในปริมาณมากกว่า

ปรกติ  เกิดจากหลายสาเหตุ
          มี 2 แบบคร่าวๆคือ ชนิดปรกติ (physiologic

jaundice) และชนิดผิดปรกติ หรือมีพยาธิสภาพ (pathologic

jaundice) 1.Physiological (normal) jaundice ภาวะตัว

เหลืองในทารกแรกเกิดปรกติพบมากกว่าร้อยละ 50 โดยทั่ว

ไปทารกที่คลอดครบกำหนดไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
          2.Pathological Jaundices ภาวะตัวเหลืองที่ผิดปรกติ

เกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
          2.1 มีการสร้างบิลิรูบินเพิ่มขึ้นกว่าปรกติจากภาวะต่างๆ

2.2 มีการดูดซึมของบิลิรูบินจากลำไส้เพิ่มขึ้นจากภาวะต่างๆ

2.3 ตับสามารถกำจัดบิลิรูบินได้น้อยลงเนื่องจากภาวะต่างๆ

2.4 ภาวะติดเชื้อในครรภ์ 2.5 ภาวะทารกคลอดก่อนกำหนด
          2.5 ภาวะทารกคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ยังพบ

ภาวะตัวเหลืองในเด็กที่ได้รับนมแม่เพียงพอ ภาวะตัวเหลือง

จากนมแม่นี้พบในทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว

โดยพบว่ามีสารบิลิรูบินสูงขึ้น แต่จะค่อยๆลดระดับลงเองเมื่อ

ทารกอายุได้ 2 สัปดาห์ ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่นี้ยังไม่

ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่ไม่มีอะไรน่ากังวล เพราะจะมี

น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และตับยังทำงานเป็นปรกติ
          ทำให้เกิดผลเสียอย่างไร
          ในกรณีที่ระดับบิลิรูบินสูงผิดปรกติอย่างมาก อาจทำ

ให้เกิดภาวะบิลิรูบินจับกับเนื้อสมอง (Kernicterus) ซึ่งจะทำ

ให้เกิดการชัก และมีการทำลายเนื้อสมองอย่างถาวร นอก

จากนี้ยังพบว่า 25% มีโอกาสเกิดภาวะไอคิวต่ำ หรือความ

ฉลาดลดลงได้ รวมถึงอาจเกิดภาวะการได้ยินผิดปรกติอีกด้วย
          รักษาอย่างไร
          1.การส่องไฟ คือการรักษาที่ใช้แสงไฟฟ้า หลอดไฟ

ฟลูออเรสเซนต์ (fluorescent lights) แสงสีน้ำเงินชนิดพิเศษ

(Special Blue) ใช้รักษาทารกที่มีตัวเหลืองหรือมีระดับบิลิรู

บินสูง เนื่องจากแสงไฟสามารถทำให้สารเหลืองเปลี่ยน

คุณสมบัติ ทำให้ขับถ่ายสารนี้ได้ทางปัสสาวะและอุจจาระ
          2.การเปลี่ยนถ่ายเลือด เป็นการรักษาที่ได้ผลเร็วและ

มีประสิทธิผลสูงสุดในทารกที่มีค่าสารเหลืองสูงมากจนเสี่ยง

ต่อภาวะแทรกซ้อนทางสมอง หรือมีอาการผิดปรกติทางสมอง
          ป้องกันได้หรือไม่
          การให้นมทารกอย่างถูกต้องคือ ต้องให้เร็ว ให้ตั้งแต่

อยู่ในห้องคลอด โดยเฉพาะการดูดกระตุ้นหลังคลอดทันที

และต้องให้บ่อยทุก 2 ชั่วโมงในวันแรก ไม่ให้น้ำหรืออาหาร

อื่นเสริมเนื่องจากจะทำให้ทารกกินนมได้น้อยลง การได้รับ

นมแม่อย่างเพียงพอช่วยให้ขับถ่ายขี้เทาได้ดี ทำให้สาร

เหลืองถูกขับถ่ายออกมา และช่วยป้องกันภาวะตัวเหลืองใน

ทารกแรกเกิดได้ 


pageview  1205835    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved