HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
โลกวันนี้ [ วันที่ 21/09/2555 ]
คอลัมน์ สุขภาพจิต: รับมืออารมณ์วัยรุ่น

 นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย
          mhmanarom@gmail.com
          "สอนอะไรนิด สอนอะไรหน่อยไม่ได้เลย"
          "ว่าอะไรไปเอาแต่เถียงๆ เป็นลูกก็ต้องฟัง พ่อแม่"
          "เดี๋ยวก็ไม่เลี้ยงซะหรอก เป็นเด็กเป็นเล็กมาทำแบบนี้ไม่ถูก"
          นี่เป็นตัวอย่างการสนทนาของหลายครอบครัว ที่ลูกๆกำลังเข้าสู่วัยรุ่น ซึ่งหมอมักจะเจอบ่อยๆ เพราะ พ่อแม่ไม่ได้เรียนรู้ลักษณะของเด็กวัยรุ่นว่ามีพฤติกรรม หรืออารมณ์อย่างไร ยิ่งในครอบครัวที่ลูกเข้าสู่วัยรุ่นเร็ว พ่อแม่คุยกับลูกทีไรก็มักจะกลายเป็นการทะเลาะกันทุกที
          ในครอบครัวที่ลูกเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นถือเป็นเรื่องปรกติที่พ่อแม่พบว่าลูกวัยรุ่นจะเถียงมากขึ้นและรับฟังน้อยลง เนื่องจากเด็กในวัยนี้เริ่มเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ดังนั้น พ่อแม่จะยึดรูปแบบเดิมในการเลี้ยงลูกวัยรุ่นไม่ได้แล้ว ต้องปรับรูปแบบการเลี้ยงใหม่ให้เหมาะสมและเข้ากับ ยุคสมัย โดยให้ความเป็นเพื่อนกับลูกมากขึ้น และเป็นผู้คุมให้น้อยลง
          การเป็นเพื่อนกับลูกมากขึ้นแต่เป็นผู้คุมน้อยลงนี้ไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่จะต้องห่างเหินลูก แต่ต้องมีวิธีติดตามเฝ้าดูลูกอย่างต่อเนื่องโดยไม่เข้าไปแทรก แซงหรือจัดการเรื่องส่วนตัวของเขาหรือเรื่องที่เขาทำเองได้
          ข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่พ่อแม่ควรทำในการเลี้ยงลูกวัยรุ่นมีหลักการสำคัญดังนี้ ดังนี้
          1.พ่อแม่ต้องให้ความ สำคัญกับการสื่อสาร คือเปิดโอกาสให้ลูกพูด และรับฟังลูกก่อน หากมีอะไร ที่ไม่ตรงกันควรช่วยกันคิด ปรึกษาหารือกัน
          2.พ่อแม่ควรมองหาว่ามีกิจกรรมใดที่มีโอกาสทำร่วมกันกับลูกได้ เช่น ไปเยี่ยมญาติด้วยกัน ไปออกกำลังกายด้วยกัน บางบ้านอาจร้องคาราโอเกะ เพื่อให้มีกิจกรรมที่สร้าง สรรค์
          3.พ่อแม่ควรเปิดใจยอม รับในความเป็นตัวเองของลูกมากขึ้น เช่น เรื่องการแต่งกาย เรื่องการคบเพื่อน
          4.พ่อแม่ควรบังคับลูกให้น้อยที่สุด และพยายามรักษาความสัมพันธ์ให้ดี หากมีเรื่องขัดแย้งกันต้องพยายามไม่ให้เกิดเป็นเรื่องใหญ่ เพราะการเกิดเป็นเรื่องใหญ่ เพราะการทะเลาะกับลูกวัยรุ่นพ่อแม่จะไม่ค่อยชนะ ส่วนใหญ่จะแพ้ด้วยกันทั้งคู่
          พ่อแม่จะไม่สามารถชนะลูกได้ เพราะเขาจะมีเหตุผลมาอ้าง ถึงจะพยายามเอาชนะเขาให้ได้เขาก็จะตอบโต้ ประชด และจะกลายเป็นผลเสียกับตัวเขาเอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะเด็กวัยรุ่นเริ่มเป็นตัวของตัวเอง จะไม่เชื่อในสิ่งที่คนอื่นบอก แต่จะเชื่อด้วยตัวเอง ขณะที่พ่อแม่ก็จะรู้สึกเสียใจ และถึงเด็กแพ้ก็จะทำให้สูญเสียความสัมพันธ์ระยะยาว ครั้งต่อไปก็จะเกิดการต่อต้าน
          พ่อแม่ต้องเปิดใจให้กว้าง ทำใจให้หนักแน่น ไม่หวั่นไหวง่ายหรือโกรธ ควรยอมรับความ คิดเห็นของลูก ไม่เข้าไปห้ามหรือวิพากษ์วิจารณ์เร็วเกินไป และหากต้องการวิพากษ์วิจารณ์ และหากต้องการวิพากษ์วิจารณ์ ควรใช้คำพูดที่ถนอมน้ำใจ อย่าให้เด็กรู้สึกกลัวที่จะให้เรารู้อะไร พอรู้แล้วโดนห้าม โดนว่า โดนสอน ก็จะไม่อยากคุยกับพ่อแม่ เพราะกลัวโดนว่า ควรใช้ I-Message สื่อสารเพื่อลดแรงกระแทกและเสียดสี ประชดประชันกัน
          ขอย้ำว่าสิ่งที่พ่อแม่ไม่ควร ทำในการเลี้ยงลูกวัยรุ่นและควรหลีกเลี่ยงมี 2 ข้อคือ
          1.การใช้คำหยาบคาย หรือคำที่สะเทือนความสัมพันธ์ เช่น ทำอย่างนี้มึงไม่ต้องมาอยู่ในบ้านกู มีแกแล้วชีวิตเจ๊ง ซึ่งพ่อแม่มักคิดว่าพูดเช่นนี้แล้วลูกจะยอมทำ แต่จริงๆนอกจากวัยรุ่นจะไม่ยอมแล้ว ยังทำให้เขาเสียความรู้สึกว่าแม่พ่อไม่รัก กลายเป็นแผลทำให้เกิดความโกรธในใจ เมื่อมีเพื่อนมาชวนไปในทางเสียหาย เช่น ยาเสพไปในทางเสียหาย เช่น ยาเสพติด ก็จะคล้อยตาม
          2.การไล่ การทำร้ายร่าง กาย หรือตบหน้าลูก เพราะการใช้ความรุนแรงจะทำให้ความ สัมพันธ์ของพ่อแม่กับลูกเสียไป
          อย่างไรก็ตาม ในหลายครอบครัวอาจรู้สึกว่าการเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่ยาก พ่อแม่ต้องพึงระลึกไว้ว่าวัยรุ่นไม่ใช่วัยที่บอกหรือสอนไม่ได้ แต่การสอนต้องไม่ให้เขารู้สึกว่าเป็นการถูกดูถูก ไม่ไว้วางใจ หรือบังคับ พ่อ แม่ต้องสงบ เวลาเขาพูดอะไรต้องรับฟัง และอย่ารีบพูด รีบฟัง อะไรที่รับได้ก็พยายามยอม รับ นอกจากนี้พ่อแม่ควรต้องฝึกมีอุเบกขา หมายถึงทำใจให้มากขึ้น เมื่อพ่อแม่ทำใจได้ก็จะสงบ เมื่อสงบก็จะควบคุมอา รมณ์ได้ดีขึ้น
          พ่อแม่ต้องยอมรับว่าเราควบคุมลูกได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เราพยายามให้เวลา ให้ความรัก และได้แนะนำ ตักเตือนเป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว แต่ต้องมีความเชื่อในตัวลูกด้วย รู้ว่าเขาจะรักตัวเอง จะไม่ปล่อยให้ตัวเองเสียหายมาก พอมีอุเบกขาตรงนี้จะพบว่าเขากลับดีขึ้น ดีกว่าการที่เราพยายามเข้าไปดุ เข้าไปว่า
          เด็กวัยรุ่นก็มีข้อดีคือมีความคิดในระดับหนึ่ง จะเห็นว่าการศึกษาที่เปลี่ยนไปทำให้เขามีความคิดใกล้เคียงกับผู้ใหญ่เลยทีเดียว ขาดเพียงประสบการณ์เท่านั้น เราพบว่าถ้าพ่อแม่สงบและพูดจากับเขาอย่างมีเหตุมีผล นอกจากทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกยังอยู่แล้ว ยังพบว่าเด็กสา มารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้มากกว่าด้วย


pageview  1206114    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved