HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
บ้านเมือง [ วันที่ 04/04/2555 ]
เตือน กินยาสมุนไพร-ยาแผนโบราณ ระวัง!! แถม สเตียรอยด์กรมวิทย์ฯ ช่วยได้แค่ใช้'ชุดตรวจเบื้องต้น'เฝ้าระวังก่อนบานปลาย

ปัจจุบันในตลาดของผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณ ผู้ประกอบการมักใช้เทคนิคในการจูงใจผู้บริโภคด้วยการชวนเชื่อและอวดอ้างสรรพคุณต่างๆ นานา ว่าสามารถรักษาได้สารพัดโรค ปลอดภัยไร้สารพิษเพราะเป็นสมุนไพรจากธรรมชาติ ผลิตด้วยกรรมวิธีที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน อีกทั้งยังได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้มีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เช่น เป็นยาสมุนไพรแคปซูล เป็นยาน้ำสมุนไพรบรรจุขวด เป็นยาผง เป็นยาลูกกลอน เป็นยากวน เป็นยาอัดเม็ด หรือแม้แต่การเติมสารสเตียรอยด์ลงในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางประเภท เป็นต้น
          จากการตรวจสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในโครงการเฝ้าระวังคุณภาพยาที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ระหว่างปี 2548-2552 ทั้งหมด 626 ตัวอย่าง ในปี 2548 พบว่า มีสารสเตียรอยด์ปลอมปนอยู่ที่ 30.5% ปี 2549 อยู่ที่ 41.8% ปี 2550 อยู่ที่ 40.8% ปี 2551 อยู่ที่ 18.7% และ ปี 2552 ลดลงอยู่ที่ 12.7%
          ปัจจุบันในตลาดของผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณ ผู้ประกอบการมักใช้เทคนิคในการจูงใจผู้บริโภคด้วยการชวนเชื่อและอวดอ้างสรรพคุณต่างๆ นานา ว่าสามารถรักษาได้สารพัดโรค ปลอดภัยไร้สารพิษเพราะเป็นสมุนไพรจากธรรมชาติ ผลิตด้วยกรรมวิธีที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน อีกทั้งยังได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้มีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เช่น เป็นยาสมุนไพรแคปซูล เป็นยาน้ำสมุนไพรบรรจุขวด เป็นยาผง เป็นยาลูกกลอน เป็นยากวน เป็นยาอัดเม็ด หรือแม้แต่การเติมสารสเตียรอยด์ลงในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางประเภท เป็นต้น
          จากการตรวจสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในโครงการเฝ้าระวังคุณภาพยาที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ระหว่างปี 2548-2552 ทั้งหมด 626 ตัวอย่าง ในปี 2548 พบว่า มีสารสเตียรอยด์ปลอมปนอยู่ที่ 30.5% ปี 2549 อยู่ที่ 41.8% ปี 2550 อยู่ที่ 40.8% ปี 2551 อยู่ที่ 18.7% และ ปี 2552 ลดลงอยู่ที่ 12.7%  น.พ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบคุณภาพยาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่ายาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณจำนวนมากที่วางขายอยู่ในท้องตลาดขณะนี้มีการปลอมปนของสารสเตียรอยด์ในปริมาณที่มาก การปลอมปนของสารสเตียรอยด์ในยาแผนยาสมุนไพรและยาแผนโบราณ ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งประเทศ แม้ปริมาณจะมีแนวโน้มลดลง แต่ตัวผลิตภัณฑ์นอกจากจะไม่ได้คุณภาพแล้ว สเตียรอยด์ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วย โดยเฉพาะผู้ที่กินอย่างต่อเนื่องยิ่งจะเกิดอันตรายมากขึ้น อีกทั้งช่องทางการจำหน่ายก็ยังเป็นปัญหา โดย
          ส่วนใหญ่จะไม่มีแหล่งการขายที่แน่นอน เป็นการซื้อขายต่อๆ กันมา รวมทั้งมีรถเร่ขาย และยังมีการโฆษณาทางสื่อต่างๆที่ยากต่อการควบคุม เช่น สื่อทางอินเตอร์เน็ตสื่อวิทยุ เคเบิลทีวีและสื่ออื่นๆอีกมากมาย
          "สเตียรอยด์" ถูกจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ไม่สามารถขายในร้านขายยาได้หากไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ และไม่มีแพทย์คนไหนสั่งสเตียรอยด์ให้คนไข้สุ่มสี่สุ่มห้า เนื่องจากมีอันตรายสูงซึ่งปัจจุบันมักพบการเติมสเตียรอยด์ลงในยาแผนโบราณ ประเภทยาลูกกลอน และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายทั่วไป หากประชาชนรับประทานยาแผนโบราณที่มีการปนเปื้อนของสารสเตียรอยด์ ผลที่ออกมานอกจากการรักษาจะไม่ดีขึ้นแล้ว ในระยะยาวก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายอย่างมากมาย เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหาร เนื่องจากสเตียรอยด์ไปทำให้ผนังกระเพาะอาหารและลำไส้บางลง หากได้รับไปนานๆ ผนังทางเดินอาหารก็จะบางตัวลง และเกิดแผลเลือดออกได้ กระดูกบาง การใช้สเตียรอยด์จะไปกระตุ้นเซลล์ในกระดูกชนิดหนึ่งร่วมกับกระตุ้นระบบฮอร์โมน ทำให้กระดูกถูกละลายบางลง ซึ่งในคนสูงอายุก็จะลงท้ายด้วยกระดูกพรุนและเกิดกระดูกหักได้ง่าย กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย บดบังอาการติดเชื้อต่างๆ เมื่อร่างกายติดเชื้อก็จะไม่มีอาการเจ็บไข้ให้เห็นทำให้ดูเหมือนสบายดี และเนื่องจากสเตียรอยด์กดภูมิคุ้มกันของร่างกายเอาไว้ ดังนั้นกว่าจะรู้สึกอีกที เชื้อโรคก็เจริญเติบโตเริงร่าไปทั่วร่างกายแล้ว ซึ่งทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้
          อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและปกป้องสุขภาพของผู้บริโภคจากพิษภัยของสารสเตียรอยด์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการพัฒนานวัตกรรม ชุดทดสอบสเตีย รอยด์ในยาแผนโบราณ ขึ้น โดยชุดทดสอบนี้มีศักยภาพในการตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อตรวจหาสารเดกซ์ซาเมธาโซน และเพร็ดนิโซโลน ซึ่งเป็นสารสเตรียรอยด์ที่นำมาปลอมปนในยาแผนโบราณประเภทต่างๆ เช่น ยาลูกกลอน ยาน้ำ ยากวน แคปซูล หรือแม้แต่ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เป็นต้น ลักษณะการตรวจจะเป็นแบบให้ผลในเชิงคุณภาพ มีความถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ เรียกว่าเป็นการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในภาคสนามโดยไม่จำเป็นต้องส่งตัวอย่างไปตรวจถึงห้องแล็บ สามารถใช้งานได้ง่าย ทราบผลเร็วและมีค่าใช้จ่ายในการตรวจที่ถูก เหมาะสำหรับเป็นเครื่องมือภาคสนาม ที่สามารถใช้ในการตรวจสอบเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของสารสเตียรอยด์ ที่อาจปลอมปนมาในยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณที่มีขายตามท้องตลาดให้แก่ประชาชนในทุกๆ ชุมชน ปัจจุบันได้ผลิตและจำหน่ายให้กับหน่วยงานที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เช่น สำนักงานสาธารณสุข อบต. เทศบาล โรงเรียน ประชาชนทั่วไป และอื่นๆมากกว่าหมื่นชุด
          ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ ได้มีการถ่ายทอดเทคนิควิธีการตรวจสอบ และองค์ความรู้ในการใช้ ชุดทดสอบสเตียรอยด์ เพื่อเป็นเครื่องมือเฝ้าระวังอันตรายจากสารสเตียรอยด์ ให้แก่ อสม. อย.น้อย และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขตามท้องถิ่นต่างๆ ให้สามารถนำชุดทดสอบไปปฏิบัติใช้ได้จริงในภาคสนาม ช่วยให้ทราบผลการตรวจในเบื้องต้น เพื่อที่จะได้หาทางป้องกันแก้ไขได้ทันเวลาโดยที่ประชาชนทั่วไปสามารถนำไปทำการทดสอบได้ด้วยตนเองเพียง ราคาชุดละ 65 บาท สามารถทดสอบได้ 1 ครั้ง สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถซื้อชุดทดสอบได้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 0-2951-0000 ต่อ 98463 หรือในส่วนภูมิภาคสามารถซื้อได้ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ
          อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อยาสมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ อย่างปลอดภัยนั้น ผู้บริโภคควรเลือกซื้อจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาต มีฉลากระบุชื่อยาเลขทะเบียนตำรับยา รุ่นที่ผลิต วันเดือนปี และสถานที่ผลิตที่ชัดเจน


pageview  1205110    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved